วันพุธที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ปัญญาโลกีย์กับปัญญาโลกุตตระ

อนุปุพวิหาร ๙

แก้ความเห็นผิด

วิปัสสนาญาณ ๙

วิปัสสนูกิเลส

วิสุทธิ ๗

ประวัติ นางอุบลวรรณา






วันอังคารที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2555

พุทธกิจ 5 ประการ ของพระพุทธเจ้า







ประวัติ โสกะสามเณร







ประวัติ พระลูกศิษย์ของ พระอานนท์ บรรลุอรหันต์



ประวัติ นางกุณฑลเกสี



ประวัตินาง ปฐาจารา




ประวัติพระโสเรยยะ เถระเจ้า








ประวัติพระสาคะตะ เถระเจ้า

ประวัติพระอนุรุทธะ เถระเจ้า

ประวัติพระสุภัททะ เถระเจ้า

ธรรมโอวาท แทรกกฎแห่งกรรม




กฎแห่งเวรกรรม ๑







นารีผล-มิติซ้อนมิติ-โลกซ้อนโลก

























ประัวัติ บั้งไฟพญานาค

ปัญญาตัดภพตัดชาติมิได้

วันจันทร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ธรรมโอวาท1 ลป.สาวกโลกอุดร




นิทานธรรม พระอินทร์กับหนอน

สวรรค์ภูมิ นรกภูมิ - หลวงปู่สาวกโลกอุดร

สัมมา อรหัง สอนเรื่อง กายนิพพาน

วันอังคารที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2555

อาณุภาพปรมาณูธาตุ-หลวงปู่สาวกโลกอุดร

ปรมณูธาตุ- หลวงปู่สาวกโลกอุดร




ปรมาณูเป็นหน่วยที่เล็กที่สุด ที่สอนกันในพระพุทธศาสนา ในพระพุทธศาสนาอธิบายด้วยการแยกจากเม็ดข้าวเปลือกให้เล็กลงๆ ไปเรื่อยๆ จนถึงปรมาณู ซึ่งปรมาณูในทางพระพุทธศาสนามีองค์ประกอบ ๒ อย่างคือ วิชชุรูป ที่หมุนรอบ มูลรูปด้วยกำลังแห่งอวิชชา




๓๖ ปรมาณู เป็น ๑ อณู
๓๖ อณูเหล่านั้น เป็น ๑ ตัชชารี
๓๖ ตัชชารีเหล่านั้น เป็น ๑ รถเรณู
๓๖ รถเรณูเหล่านั้น เป็น ๑ ลิกขา
๗ ลิกขา เป็น ๑ อูกา
๗ อูกาเหล่านั้น เรียกว่า ธัญญามาส


คาถาจาปลินิคัณฑุ (อภิธานนัปปทีปิกา) คาถาที่ ๑๙๔ และคาถาที่ ๑๙๕ ในภูมิกัณฑ์ว่า

ฉตฺตึส ปรมาณูน เมโก ณุจ ฉตึ เต ตชฺชรี ตาปี ฉตฺตึส รถเรณูจฺ ฉตึส เต ลิกฺขา ตา สตฺต อูกา ตา ธญฺญมาโสติ สตฺเต ข้อความบางตอนจากอรรถกถาวิภังคปกรณ์มีกล่าวถึงเรื่องนี้ดังนี้

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 377

ในเถรวาทแห่งอันเตวาสิกของท่าน กล่าวว่า การเปิดเผยโดยการ

ออกด้วยสติ ชื่อว่า การรื้อถอนออก เพราะความเป็นผู้ต้องอาบัติ. สำหรับใน

ที่นี้ ภิกษุเห็นปานนี้ ชื่อว่า ย่อมเห็นโทษทั้งหลายมีประมาณน้อย โดยความ

เป็นโทษ โดยความเป็นภัย. เพื่อแสดงซึ่งโทษมีประมาณน้อย โดยความเป็น

โทษ โดยความเป็นภัยนั้น ท่านกล่าวมาตรา (ประมาณ) ดังนี้.


บรรดาชื่อเหล่านั้น ชื่อว่า ปรมาณู เป็นส่วนแห่งอากาศ

(อนุภาคที่เล็กที่สุดซึ่งเห็นด้วยตาเนื้อไม่ได้ เห็นได้ด้วยทิพยจักษุ) ไม่มาสู่คลอง

แห่งตาเนื้อ ย่อมมาสู่คลองแห่งทิพยจักษุเท่านั้น. ชื่อว่า อณู คือรัศมีแห่ง

พระอาทิตย์ที่ส่องเข้าไปตามช่องฝา ช่องลูกดาล เป็นวงกลม ๆ ด้วยดี ปรากฏ

หมุนไปอยู่. ชื่อว่า ตัชชารี (สิ่งที่เกิดจากอณูนั้น) เพราะเจาะที่ทางโค ทาง

มนุษย์ และทางล้อแล้วปรากฏพุ่งไปเกาะที่ข้างทั้งสอง. ชื่อว่า รถเรณู (ละออง

รถ) ย่อมติดอยู่ที่รถนั้น ๆ นั่นแหละ. ชื่อว่า ลิกขา (ไข่เหา) เป็นต้น

ปรากฏชัดแล้วทั้งนั้น.

ก็ในคำเหล่านั้น พึงทราบประมาณดังนี้

๓๖ ปรมาณู ประมาณ ๑ อณู

๓๖ อณู " ๑ ตัชชารี (สิ่งที่เกิดจากอณูนั้น)

๓๖ ตัชชารี " ๑ รถเรณู (ละอองรถ)

๓๖ รถเรณู " ๑ ลิกขา (ไข่เหา)

๗ ลิกขา " ๑ โอกา (ตัวเหา)

๗ โอกา " ๑ ธัญญมาส (เมล็ดข้าวเปลือก)

๗ ธัญญมาส " ๑ อังคุละ (นิ้ว)

๑๒ อังคุละ " ๑ วิทัตถิ (คืบ)

๑๒ วิทัตถิ " ๑ รัตนะ (ศอก)

๗ รตนะ " ๑ ยัฏฐิ (หลักเสา)

๒๐ ยัฏฐิ " ๑ อุสภะ (ชื่อโคจ่าฝูง)

๘๐ อุสภะ " ๑ คาวุต

๔ คาวุต " ๑ โยชน์

๑๐,๐๖๘ โยชน์ " ๑ ภูเขาสิเนรุราช.

วันพุธที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ประวัติ พระใส พระสุก พระเสริม








หลวงพ่อพระใส วัดโพธิ์ชัย จ.หนองคาย เป็นพระพุทธรูปสำคัญคู่เมือง ประดิษฐานอยู่ที่วัดโพธิ์ชัย ซึ่งมีฐานะเป็นวัดอารามหลวง


ตั้งอยู่ที่ถนนโพธิ์ชัย ในเขตเทศบาลเมือง ห่างจากตัวเมืองหนองคายไปประมาณ 2 กิโลเมตร ตามทาง หลวงหมายเลข 212 ทางไป อ.โพนพิสัย วัดจะอยู่ทางซ้ายมือ เป็นพระพุทธรูปขัดสมาธิราบ ปางมารวิชัย หล่อด้วยทองสีสุก หน้าตักกว้าง 2 คืบ 8 นิ้ว ส่วนสูงจากพระชงฆ์เบื้อล่างถึงยอดพระเกศ ๔ คืบ ๑ นิ้วของช่างไม้

ประวัติการสร้าง

สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงสันนิษฐานไว้ในหนังสือประวัติพระพุทธรูปสำคัญ ซึ่งพิมพ์แจกในงานทอดกฐินพระราชทาน พ.ศ. 2468 ว่า หลวงพ่อพระใส เป็นพระพุทธรูปหล่อในสมัยล้านช้าง และตามตำนานที่เล่าสืบต่อกันมาว่า พระธิดา 3 องค์ แห่งกษัตริย์ล้านช้างเป็นผู้สร้าง บางท่านก็ว่าเป็นพระราชธิดาของพระไชยเชษฐาธิราช ได้หล่อพระพุทธรูปขึ้น 3 องค์ และขนานนาม พระพุทธรูปตามนามของตนเองไว้ด้วยว่า พระเสริมประจำพี่ใหญ่ พระสุกประจำคนกลาง พระใสประจำน้องสุดท้องมีขนาดลดหลั่นกันตามลำดับ

การประดิษฐาน

เดิมทีนั้นหลวงพ่อพระใสได้ประดิษฐาน ณ เมืองเวียงจันทน์ พ.ศ. ๒๓๒๑ สมัยกรุงธนบุรีได้อัญเชิญไปไว้ที่เมืองเวียงคำ และถูกเชิญมาประดิษฐานไว้ที่วัดโพนชัย เมืองเวียงจันทน์อีก ต่อมาในรัชกาลที่ ๓ เจ้าอนุวงศ์ เมืองเวียงจันทน์เป็นกบฎ สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิ์พลเสพย์ เป็นจอมทัพยกพลมาปราบ จึงได้อัญเชิญพระสุก พระเสริม และพระใส ลงมาด้วย โดยอัญเชิญมาจากภูเขาควายขึ้นประดิษฐานบนแพไม้ไผ่ ซึ่งผูกติดกันอย่างมั่นคงล่องมาตามลำน้ำงึม เมื่อล่องมาถึงตรงบ้านเวินแท่นในขณะนั้น เกิดอัศจรรย์แท่นของพระสุกได้เกิดแหกแพจมลงไปในน้ำ โดยเหตุที่มีพายุพัดแรงจัด และบริเวณนั้นได้นามว่า "เวินแท่น"

การล่องแพก็ยังล่องมาตามลำดับจนถึงน้ำโขง (ปากน้ำงึม) เฉียงกับบ้านหนองกุ้ง อ.โพนพิสัย จ.หนองคาย ได้เกิดพายุใหญ่ เสียงฟ้าคำรามคะนองร้องลั่น ในที่สุดพระสุกได้แหกแพจมลงไปในน้ำ ซึ่งอาการวิปริตต่างๆ ก็ได้หายไปเป็นอัศจรรย์ยิ่ง บริเวณนั้นจึงได้ชื่อว่า "เวินสุก" และพระสุกก็จมอยู่ในน้ำตรงนั้นมาจนถึงปัจจุบันนี้

ก็ยังเหลือแต่พระเสริม พระใส ที่ได้นำขึ้นมาถึงเมืองหนองคาย พระเสริมนั้นได้ถูกอัญเชิญประดิษฐานไว้ ณ วัดโพธิ์ชัย ส่วนพระใส ได้อัญเชิญประดิษฐานไว้ ณ วัดหอก่อง (ปัจจุบันคือวัดประดิษฐ์ธรรมคุณ)

ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๔ สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดเกล้าฯ ให้ขุนวรธานีและเจ้าเหม็น (ข้าหลวง) อัญเชิญพระเสริม จากวัดโพธิ์ชัย หนองคายไปกรุงเทพฯและอัญเชิญพระใสจากวัดหอก่องขึ้นประดิษฐานบนเกวียนจะอัญเชิญลงไปกรุงเทพฯ ด้วย แต่พอมาถึงวัดโพธื์ชัย หลวงพ่อพระใสได้แสดงปาฏิหาริย์จนเกวียนหักจึงอัญเชิญลงไปไม่ได้ ได้แต่พระเสริมลงกรุงเทพฯ ประดิษฐาน ณ วัดปทุมวนาราม ส่วนหลวงพ่อพระใสได้อัญเชิญประดิษฐาน ณ วัดโพธิ์ชัย อ.เมืองหนองคาย จนถึงปัจจุบัน ความอัศจรรย์ของหลวงพ่อพระใสจนได้สมญาว่า "หลวงพ่อเกวียนหัก"

ประวัติ หลวงพ่อพระใส(พระคู่บ้านคู่เมืองหนองคาย)

นี่เป็นเพียงประวัติเท่านั้น หากท่านมีโอกาส ก็มานมัสการหลวงพ่อพระใสได้ที่วัดโพธิ์ชัยพระอารามหลวง

ประวัติหลวงพ่อพระใส

หลวงพ่อพระใส เป็นพระพุทธรูปขัดสมาธิราบปางมารวิชัย หล่อด้วยทองสีสุก มีพระรูปลักษณะงดงามมาก ขนาดหน้าตักกว้าง ๒ คืบ ๘ นิ้ว ส่วนสูงจาก พระชงฆ์เบื้อง ล่างถึงยอดพระเกศ ๔ คืบ ๑ นิ้ว ปัจจุบันนี้ประดิษฐานอยู่ภายในพระอุโบสถวัดโพธิ์ชัยอำเภอเมืองหนองคาย

การหล่อ ประวัติเกี่ยวกับการหล่อ ตามความสันนิษฐานเข้าใจว่าหล่อในสมัยเชียงแสนช่วงหลังๆ จะหล่อที่ไหน เมื่อไรนั้นไม่ปรากฏแน่ชัด แต่เชื่อแน่ว่าไม่ใช่หล่อที่เมือง เชียงแสนดังที่บางท่านเข้าใจ ทั้งนี้เพราะมีคำที่รับรองกันได้โดยมากว่าเป็นพระพุทธรูปลานช้าง ซึ่งสมัยนั้น(สมัยเชียงแสน) ประเทศลานช้างยังเป็นประเทศที่รุ่งเรืองอยู่ และพระพุทธศาสนาก็กำลังเจริญรุ่งเรือง พระเจ้าแผ่นดินก็ทรงฝักใฝ่พระทัยในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะการหล่อพระพุทธรูปยิ่งสนพระทัยเป็นพิเศษ

อนึ่ง พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ลงความเห็นไว้ในหนังสือตำนานพุทธเจดีย์สยาม หน้า ๑๐๒ ว่า “ พระพุทธรูปลานช้างที่งามยิ่งกว่าองค์อื่นคือ “พระเสริม” อยู่ในพระวิหารวัดประทุมวัน” นี้แสดงให้เห็นว่า พระใสต้องเป็นพระพุทธรูปที่หล่อในประเทศลานช้างแน่เพราะพระพุทธรูป ๓ องค์คือ พระสุก พระเสริม พระใส หล่อในคราวเดียวกันและเคียงคู่กันมาเสมอเท่าที่กล่าวมานี้ ก็เพื่อจะให้เป็นเหตุสนับสนุนทางที่จะเล่าทางหนึ่งว่า หลวงพ่อพระใสหล่อที่ประเทศลานช้าง โดย มีธิดา ๓ พระองค์แห่งกษัตริย์ลานช้างเป็นเจ้าศรัทธา ทั้งหมดเป็นพี่น้องร่วมพระวงศ์เดียวกัน (บางท่านว่าเป็นธิดาของพระไชยเชฏฐาธิราช) มีพระนามตามลำดับว่า สุก เสริม ใส มีพระทัยร่วมกันเป็นเอกฉันท์ในอันที่จะหล่อพระพุทธรูปประจำองค์ จึงได้พร้อมกันขอพรจากพระบิดาพระบิดาประทานพรให้ จึงให้ช่างหล่อพระพุทธรูปขึ้น ๓ องค์ ขนาดลดกันตามลำดับ ครั้นแล้วจึงขนานนามพระพุทธรูปเหล่านั้นโดยขอฝากพระนามของตนเองไว้ด้วยว่า พระสุก (ประจำผู้พี่ใหญ่) พระเสริม(ประจำคนกลาง) พระใส (ประจำคนเล็ก)

ในการทำพิธีหล่อนั้นทั้งทางบ้านและทางวัดได้ช่วยกันเป็นการใหญ่โต มีคนทำการสูบเตาหลอมทองอยู่ไม่ขาดระยะ นับเป็นเป็นเวลา ๗ วันแล้วทองก็ยังไม่ละลาย ถึงวันที่ ๘ เวลาเพล (๑๑.๐๐น) เหลือพระภิกษุแก่ กับเณรน้อยรูปหนึ่งทำการสูบเตาอยู่ ในขณะนั้นได้ปรากฎมีชีปะขาวตนหนึ่งมายังที่นั้นและขอทำการสูบเตาช่วยซึ่งพระภิกษุและสามเณรน้อยนั้นก็มิได้ขัดข้อง เมื่อชีปะขาวทำการสูบเตาแทนแล้ว พระภิกษุและสามเณรก็ได้ขึ้นไปฉันเพลบนศาลาตามปกติธรรมดาทุกวัน เมื่อพระกำลังฉันเพลอยู่ญาติโยมที่มาส่ง เพลย่อมลงมาทำการสูบแทนเสมอ แต่วันนั้นญาติโยมแลเห็นคนสูบเตามากกว่าปกติท่อเตาก็มีมาก แต่ละคนเป็นชีปะขาวเหมือนกันหมด ด้วยความอัศจรรย์ใจยิ่งจึงได้ถามพระ ภิกษุ แต่พระภิกษุแลไปก็เห็นเพียงชีปะขาวรูปเดียวเท่านั้น พอฉันเพลเสร็จ คนทั้งหมดก็พากันลงมาดู ครั้นถึงก็เกิดความอัศจรรย์ใจยิ่ง เพราะเหตุที่ได้เห็นทองทั้งหมดถูกเทลงในเบ้าทั้ง ๓ เบ้าโดยเรียบร้อยแล้ว และไม่ปรากฏเห็นชีปะขาวนั้นเลยสักคนเดียว

ที่ประดิษฐานพระสุก พระเสริม พระใส คราวแรกประดิษฐานอยู่ ณ เมืองเวียงจันทร์ นานเท่าไรไม่ปรากฏ ครั้นพ.ศ ๒๓๒๑ เมื่อรัชกาลพระเจ้ากรุงธนบุรี ได้เกิดสงคราม ขึ้นระหว่างกรุงธนบุรีกับกรุงศรีสัตนาคนหุต(เวียงจันทร์) ครั้นนั้นพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกเสด็จดำรงพระยศเป็นสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก ได้เป็นจอมพลยกทัพมาตีเวียงจันทร์ เมืองเวียงจันทร์จึงเกิดยุคเข็ญขึ้น พระเจ้าธรรมเทวงศ์จึงได้อันเชิญไปไว้ที่เมืองเชียงคำ ครั้นต่อมาด้วยเหตุใดไม่ทราบได้ พระใสจึงถูกอัญเชิญมาประดิษฐานไว้ที่วัด โพนชัย เมือง เวียงจันทร์อีก

ต่อมารัชการที่ ๓ แห่งจักรีวงศ์ปรากฏว่าที่เมืองเวียงจันทร์ (เจ้าอนุฯ ) เกิดเป็นขบถ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า เจ้าอยู่หัว ได้โปรดให้ทำลายเมืองเวียงจันทน์เสีย พระบวรราชเจ้ามหาศักดิ์พลเสพย์ได้เป็นจอมทัพยกพลมาปราบ เมื่อเมืองเวียงจันทน์ สงบดีแล้ว จึงได้อัญเชิญพระสุก พระเสริม พระใส มาประดิษฐาน ณ ที่วัดโพธิ์ชัยเมืองหนองคาย

ในตอนที่อัญเชิญพระใสจากเวียงจันทน์ มาประดิษฐานที่วัดโพธิ์ชัยเมืองหนองคายนี้ คราวอัญเชิญมาไม่ได้อัญเชิญมาจากเมืองเวียงจันทน์โดยตรงแต่ได้อัญเชิญมา จากถูเขาควายซึ่งชางเมืองได้อัญเชิญไปซ่อนไว้แต่ครั้งเวียงจันทน์เกิดสงคราม การอัญเชิญมาได้อัญเชิญขึ้นประดิษฐานบนแพไม้ไผ่ซึ่งอัญเชิญมาทั้ง ๓ องค์ ล่องมาตามลำแม่น้ำโขงเมื่อถึงตรงบ้านเวินแท่นที่นั้นได้เกิดอัศจรรย์คือ แท่นของพระสุกได้แหกแพจมลงในน้ำโดยเหตุที่มีพายุแรงจัดพัดแพจนเอนเอียงแพไม่สามารถรับน้ำหนักของพระแท่นไว้ได้ อาศัยเหตุที่แท่นของพระสุกได้จมลง ณ ที่ตรงนั้นจึงได้ชื่อว่า “เวินแท่น” มาจนบัดนี้

ครั้นเสียแท่นพระสุกแล้วก็ยังอัญเชิญล่องมาตามลำน้ำโขง (น้ำงึ่ม) เฉียงกับบ้านหนองกุ้ง อ.โพนพิสัย จ.หนองคาย เล็กน้อย พอถึงที่นั้นได้บังเกิดพายุใหญ่เสียงฟ้าคะนองร้องลั่น จนในที่สุดพระสุกได้แหกแพจมลงในน้ำ พอพระสุกจมลงในน้ำแล้วอาการวิปริตต่างๆ ก็สงบเงียบอาศัยเหตุนี้ ที่นั้นจึงได้นามว่า “เวินสุก” (จนบัดนี้พระสุกยังจมอยู่ในน้ำโขงตรงนั้นตราบเท่าทุกวันนี้ ) เมื่อเป็นเช่นนี้ยังคงเหลืออยู่แต่พระเสริมกับพระใส ที่ได้นำเข้ามาถึงเมืองหนองคาย พระเสริมได้อัญเชิญประดิษฐานไว้ ณ วัดโพธิ์ชัยส่วนพระใสได้ประดิษฐานไว้ ณ วัดประดิษฐ์ธรรมคุณ (วัดหอก่อง) ต่อมาในรัชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จฯ พระจอมกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดเกล้าฯ ให้ขุนวรธานีและข้าหลวงอัญเชิญ พระเสริม จากวัดโพธิ์ชัยลงไปกรุงเทพฯ ขุนวรธานีเมื่อมาถึงหนองคาย ได้ทราบว่าพระใสเป็นคู่กับพระเสริมจึงได้อัญเชิญจากวัดหอก่องขึ้นสู่เกวียน นัยว่า จะอัญเชิญไป กรุงเทพฯ กับพระเสริม แต่พอมาถึง ณ วัดโพธิ์ชัย พระใสได้แสดงปาฏิหาริย์ไม่สามารถขับเกวียนซึ่งประดิษฐานหลวงพ่อพระใสให้เคลื่อนที่ไปได้ แม้ใช้เครื่องฉุดก็ไม่สามารถเช่นเดียวกัน ได้ทำการอ้อนวอนด้วยประการต่างๆ ก็ไม่เป็นผล จนในที่สุดเกวียนไดหักลง คราวนี้ได้หาเกวียนใหม่มาเป็นที่ประดิษฐาน แต่ก็อัศจรรย์อีกเพราะเกวียนไม่สามา รถจะเคลื่อนที่ได้ เมื่อเป็นเช่นนั้นจึงปรึกษากันว่าจะอัญเชิญหลวงพ่อพระใสประดิษฐานไว้ที่วัดโพธิ์ชัยแล้วก็ทำการอธิษฐานเป็นผลดังใจนึกพอเข้าหามไม่กี่คนเท่านั้นองค์หลวงพ่อพระใส ก็ถูกยกขึ้นประดิษฐานไว้ในอุโบสถวัดโพธ์ชัยได้โดยง่ายให้พวกเราได้เคารพสักการะเป็นการกุศล ส่วนพระเสริมนั้นได้อัญเชิญลงไปกรุงเทพฯ ประดิษฐานอยู่วัดปทุมวนารามจนถึงทุกวันนี้

ส่วนพระสุกซึ่งจมน้ำอยู่ที่เวินสุกนั้นได้ทราบว่า เมื่อหลายสิบปีก่อนทางฝ่ายบ้านเมืองที่จังหวัดหนองคาย ได้ทำการปรารภจะอันเชิญขึ้นจากน้ำ เพื่อจะได้นำมาประดิษฐานไว้คู่เคียงกับพระใส แต่ก็ไม่เป็นผลสำเร็จเพราะมีเหตุขัดข้องบางประการที่ได้ทราบมา คือ อาศัยความที่ พระสุกได้จมอยู่ในน้ำเป็นเวลาช้านานทำให้ดินทับทมไม่สะดวกในการที่จะอันเชิญได้โดยง่าย อีกอย่างหนึ่งเป็นเพราะชาวบ้านแถวนั้นไม่ยินยอมให้นำขึ้นเพราะเกรงกลัวต่อภยันตรายอันจะพึงมีมา ทั้งนี้ เนื่องด้วยประชาชนในถิ่นนั้น (รวมทั้งถิ่นอีสานส่วนมากด้วย) ถือว่า การกระทำเช่นนี้ย่อมให้เจ้าภูมิท้องถิ่น เกิดความไม่พอใจแล้วอาจบันดาลให้มีเหตุเภทภัยนานาประการ

หลวงพ่อพระเสริม

พระเสริม เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ศิลปะล้านช้าง หน้าตักกว้าง 2 ศอก 1 นิ้ว สร้างขึ้นพร้อมกับพระสุก พระใส พระเสริม วัดปทุมวนาราม เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย พระเสริมเป็นพระพุทธรูปประจำพระธิดาองค์พี่ "พระเสริม"ถือเป็นพระพุทธรูป 3 พี่น้องแห่งกรุงศรีสัตนา คนหุต

ถือเป็นพระพุทธรูป 3 พี่น้องแห่งกรุงศรีสัตนา คนหุต หล่อขึ้นจากทองสีสุก (โลหะสำริดที่มีทองคำเป็นส่วนผสมหลัก) เมื่อราวปี พ.ศ.2109 โดยพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช กษัตริย์ล้านช้าง พร้อมด้วยพระธิดา 3 พระองค์ ทรงพระนามว่า พระธิดาเสริม พระธิดาสุก และพระธิดาใส โปรดให้ช่างลาวล้านช้างหล่อพระพุทธรูปประจำพระองค์ เพื่อความเป็นสิริมงคลมีขนาดลดหลั่นกันตามลำดับ

ในพิธีการหล่อพระพุทธรูปทั้ง 3 องค์ พระภิกษุและฆราวาสช่วยกันสูบเตาหลอมทองอยู่ตลอดถึง 7 วัน แต่ทองยังไม่ละลาย พอถึงวันที่ 8 มีเพียงพระภิกษุสูงอายุรูปหนึ่งกับสามเณรรูปหนึ่งสูบเตาอยู่ ปรากฏมีชีปะขาวคนหนึ่งมาอาสาสูบเตาแทนพระและเณร

แต่วันนั้น ญาติโยมต่างเห็นบรรดาชีปะขาวสูบเตาอยู่เป็นจำนวนมาก เมื่อพระภิกษุและสามเณรฉันเพลเสร็จแล้วก็จะไปสูบเตาต่อ ปรากฏว่าได้มีผู้เททองลงเบ้าทั้ง 3 จนเรียบร้อยแล้ว แต่ไม่เห็นชีปะขาวอยู่แม้แต่คนเดียว การหล่อพระพุทธรูปทั้ง 3 องค์ สำเร็จลงด้วยดีอย่างน่าอัศจรรย์

พระธิดาเสริม สุก และใส ต่างถวายนามของตนเป็นนามของพระพุทธรูป ได้แก่ พระเสริมเป็นพระพุทธรูปประจำพระธิดาองค์พี่ พระสุกเป็นพระพุทธรูปประจำพระธิดาองค์กลาง และพระใสเป็นพระพุทธรูปประจำพระธิดาองค์สุดท้อง

สมเด็จกรมพระยาดำรง ราชานุภาพ ทรงลงความเห็นเกี่ยวกับพระพุทธรูปทั้ง 3 องค์นี้ว่า พระเสริม พระสุก พระใส เป็นพระพุทธรูปลาวล้านช้างที่งดงามยิ่งกว่าพระพุทธรูปองค์อื่นๆ และทรงสันนิษฐานเรื่องการสร้างเป็น 2 ประการ คือ อาจจะเป็นพระพุทธรูปที่สร้างจากเมืองหนึ่งเมืองใดทางตะวันออกของอาณาจักร ล้านช้างและต่อมาตกอยู่ในเขตล้านช้าง หรืออาจสร้างขึ้นในเขตล้านช้างโดยฝีมือช่างลาวพุงขาวในยุคนั้น

ในรัช สมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ครั้งเจ้าอนุวงศ์ เจ้าผู้ครองอาณาจักรล้านช้างก่อกบฏ พระองค์ทรงโปรดให้สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพเป็นแม่ทัพยกทัพไปปราบ และได้ตั้งค่ายทหารที่เมืองพานพร้าว

ทหารไทยเข้าตีเมืองเวียงจันทน์ จนเจ้าอนุวงศ์หนีไปจากเวียงจันทน์ ในครั้งนั้นได้อัญเชิญพระพุทธรูปที่มีชื่อเสียงโด่งดังมาจากเมืองเวียงจันทน์ หลายองค์ ได้แก่ พระแซกคำ พระฉันสมอ พระเสริม พระสุก พระใส พระแก่นจันทน์ พระเงินหล่อ พระเงินบุ พระสรงน้ำ มาเก็บรักษาไว้ที่เมืองพานพร้าว และได้มีการสร้างพระเจดีย์เพื่อประดิษฐานจารึกพระนาม พระเจดีย์ปราบเวียง ต่อมาเจ้าอนุวงศ์ได้ร่วมกับพวกญวนเข้ายึดเมืองเวียงจันทน์คืนและตีค่ายพานพ ร้าว ทหารฝ่ายเจ้าอนุวงศ์ได้รื้อพระเจดีย์ปราบเวียง และนำพระพุทธรูปที่บรรจุอยู่ทั้งหมดกลับเวียงจันทน์

ในที่สุด ทหารไทยเข้ายึดค่ายพานพร้าวคืนและตีเมืองเวียงจันทน์ ทำลายเมืองเวียงจันทน์ กำแพงเมือง ป้อมเมือง และหอคำ จนกลายเป็นทะเลเพลิง เหลือไว้แต่วัดสีสะเกด รวมทั้งสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ประจำเมืองบางแห่ง และได้มีการนำพระพุทธรูปจำนวนหนึ่งข้ามกลับมาฝั่งไทย

ส่วนการ อัญเชิญพระเสริม พระสุก พระใส จากเมืองเวียงจันทน์ มีเรื่องเล่าเป็นตำนานต่อกันมาว่าพบพระพุทธรูปในถ้ำแห่งหนึ่งบนภูเขาควาย เนื่องจากชาวเมืองได้นำไปซ่อนไว้เพื่อหนีภัยสงคราม จึงนำขึ้นประดิษฐานบนแพไม้ไผ่อัญเชิญมาทางลำน้ำงึมออกลำน้ำโขง

เมื่อ ถึงบริเวณปากน้ำงึมเฉียงกับบ้านหนองกุ้งเมืองหนองคาย (ปัจจุบันอยู่ในเขตอำเภอโพนพิสัย) เกิดพายุฝนตกหนักแพที่ประดิษฐานพระสุกแตก ส่งผลให้พระสุกจมหายไปในกระแสน้ำ ส่วนพระเสริมและพระใสได้อัญเชิญมาถึงเมืองหนองคายอย่างปลอดภัย

พระเสริมนั้นประดิษฐานอยู่ที่วัดโพธิ์ชัย ส่วนพระใสประดิษฐานอยู่ที่วัดหอก่อง (วัดประดิษฐ์ธรรมคุณ)

ต่อมา ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว พระอุปราชแห่งกรุงรัตนโกสินทร์สมัยนั้น พระองค์ทรงมีพระราชประสงค์ที่จะอัญเชิญพระเสริมมาประดิษฐานยังพระบวรราชวัง

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดเกล้าฯ ให้ขุนวรธานีและข้าหลวง (เหม็น) ไปอัญเชิญพระเสริมและพระใสมายังพระนคร

เมื่อ ครั้งอัญเชิญพระเสริมและพระใสมายังพระนครนั้น กล่าวกันว่าพระใสแสดงปาฏิหาริย์ เกวียนที่ประดิษฐานพระใสหักลงตรงหน้าวัดโพธิ์ชัย ซ่อมก็หักอีก วัวลากเกวียนไม่ยอมเดิน ทั้งเชิญและบวงสรวงก็ไม่เป็นผล สุดท้ายทหารจึงอัญเชิญพระใสประดิษฐานที่วัดโพธิ์ชัยแทน

ส่วนพระเสริม อัญเชิญไปกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อครั้งที่มีการแห่พระเสริมจากหนองคาย เข้าเขตพระนครในยุคนั้น ชาวลาวล้านช้างที่ถูกต้อนมาอยู่ในกรุงรัตนโกสินทร์ต่างได้ทำริ้วขบวนแห่ต้อนรับ จัดทำพานบายศรีและเครื่องบูชาเพื่อบูชาพระเสริม

ต่อมา เมื่อพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จสวรรคตในปี พ.ศ.2408 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดให้อัญเชิญพระเสริมจากพระบวรราชวัง ไปประดิษฐานยังพระวิหารวัดปทุมวนาราม ตราบจนถึงทุกวันนี้

วันศุกร์ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2555

กฏแห่งเวรกรรม โดย หลวงปู่สาวกโลกอุดร









ขอบคุณที่มา:LD2541

โสกะสามเณร โดย สาวกโลกอุดร









ขอบคุณที่มา:LD2541

ประวัติหลวงปู่สาวกโลกอุดร








ประวัติ หลวงปู่สาวกโลกอุดร ธมฺมปาโล 

หลวงปู่ เกิดเมื่อวันเสาร์ขึ้น ๓ ค่ำ เดือน ๓ ปีเถาะ พ.ศ. ๒๔๘๒ ที่บ้านสงเปลือยหมุ่ ๗ ต.หลุบ อ.เมือง จ.กาฬสินธุ์ บิดาชื่อ สมบูรณ์ มารดาชื่อ ที นามสกุล ดลอารมณ์ อุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดชัยสุนทร อ.เมือง จ.กาฬสินธุ์ โดยพระครูโสภณสุตกิจ เจ้าคณะอำเภอเมืองเป็นอุปัชฌาย์ พระทองอินทร์ โกวิโท เป็นกรรมวาจาจารย์ พระระมัดศักดิ์ สิริธโร เป็นอนุสาวราจารย์ 
บวชได้ ๒ วันก็ไปเข้าวิปัสสนากับอาจารย์มหาพิมพ์หรือพระครูคลคณารักษ์ ที่วัดบ้านหนองริวหนัง ต.โคกเครือ อ.หนองกุงศรี จ.กาฬสินธุ์ ออกจากวัดหนองริวหนังก็ออกเดินธุดงค์ไปทางภาคเหนือ เดินธุดงค์เรื่อยไปจนถึง จ.จันทบุรี ได้ไปปฏิบัติธรรมอยู่ที่ป่าลึกสำนักสงฆ์เขาช่องลม ต.สองพี่น้อง อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี ออกจากเขาช่องลมแล้วก็ไปจำพรรษาอยู่ที่วัดอ่างหิน อยู่ในตัวเมืองจันทบุรี แล้วออกเดินธุดงค์ไปจำพรรษา อยู่ที่สำนักสงฆ์ที่บ้านนาเบี้ย ต.นาทอ อ.ด่านซ้าย จ.เลย เป็นเวลา ๕ ปี (พ.ศ. ๒๕๒๙ – ๒๕๓๔ ) ณ.ที่นี้ เมื่อคืนวันที่ ๒๖ เดือน พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๓๑ ตรงกับแรม ๓ ค่ำ เดือน ๑๒ ปีมะโรง หลวงปู่ได้บรรลุธรรมในขณะที่มีอายุได้ ๔๙ ปี 

หลังจากนั้นได้จาริกเผยแผ่ธรรมไปตามสถานที่ต่าง ๆ ตามแต่จะมีผู้อาราธนานิมนต์ เช่น ในงานเข้าปริวาสกรรม และงานปฏิบัติธรรมตามที่ต่าง ๆ 

ต่อมาพ.ศ. ๒๕๓๕ ได้กลับมาโปรดโยมที่วัดชัยสุนทร อ.เมือง จ.กาฬสินธุ์ พ.ศ. ๒๕๓๖ จำพรรษาที่วัดบ่อสร้างพระอินทร์ อ.นาแก จ.นครพนม โดยการอาราธนานิมนต์พระมหาเชื้อ 

พ.ศ. ๒๕๓๗ จำพรรษาที่วัดป่าศรีรัตนพุทธาราม ต.โคกหินแฮ่ อ.เรณูนคร จ.นครพนม ซึ่งที่นี้ เมื่อวันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ – ๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๗ หลวงปู่ได้เป็นประธานจัดงานปริวาสกรรมเป็นครั้งแรก และครั้งที่ส่องที่วัดป่าอุทุมพร บ้านนามท่า อ.เรณูนคร จ.นครพนม ในวันที่ ๒๕ พฤษภาคม - ๓ มิถุนายน ในปีเดียวกัน และครั้งที่สามที่ บ้านโคกม่วง อ.โนนสัง จ.หนองบัวลำภู โดยมีหลวงพ่อสุด พุทธญาโณ เจ้าอาวาสวัดเขาทองนพคุณ อาราธนานิมนต์ 

พ.ศ. ๒๕๓๘ – ๒๕๔๐ จำพรรษาที่วัดเขาทองนพคุณ (ภูเก้า) บ้านตาดไฮ ต.โคกม่วง อ.โนนสัง จ.หนองบัวลำภู ในระหว่างนี้หลวงปู่ได้เป็นประธานจัดงานปริวาสกรรม ดังนี้ 

- เดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๘ ที่วัดประตูทรงธรรม อ.วาปีปทุม จ.มหาสารคาม 

- วันที่ ๑๙ – ๒๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๓๘ ที่สะโทยธรรมสถาน ต.วังสรรพรส อ.ขลุง จ.จันทบุรี 

- วันที่ ๑๖ พฤษภาคม ปีนี้หลวงปู่ได้แสดงธรรมที่อภิธรรมมูลนิธิวัดโพธิ์ ท่าเตียน (วัดพระเชตุพน) กรุงเทพมหานคร และในปี พ.ศ. ๒๕๓๙ 

ก่อนวันเข้าพรรษาหลวงปู่ได้ประกาศตนเป็น “พระอรหันต์” ท่ามกลางคณะสงฆ์อำเภอโนนสัง เมื่อวันที่ ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๓๙ และเรียกองค์ท่านเองว่า “พระครูเทพโลกอุดรตัวจริง” 

- วันที่ ๙ – ๑๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๐ ที่ป่าช้าบ้านหนองจิก ต.หนองบัว อ.ศรีขรภูมิ จ.สุรินทร์ 

- พ.ศ. ๒๕๔๑ –๒๕๔๒ จำพรรษา ที่พักสงฆ์วัดเทพโลกอุดร บ้านซับกระทิงใต้ ต.หนองย่างเสือ อ.มวกเหล็ก จ.สระบุรี ในระหว่างนี้หลวงปู่ได้เป็นประธานจัดงานปริวาสกรรม ดังนี้ 

- วันที่ ๓๐ มกราคม – ๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๑ ที่ป่าช้าบ้านนาน้อย ต.เหล่าพัฒนา อ.นาหว้า จ.นครพนม วันที่ ๒๕ มีนาคม – ๓ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๓ ที่ป่าช้าบ้านนาน้อย ต.เหล่าพัฒนา อ.นาหว้า จ.นครพนม 

- พ.ศ. ๒๕๔๓ จำพรรษาที่วัดป่าโพธิ์ชัย บ้านหนองเปง ต.ฝั่งแดง อ.ธาตุพนม จ.นครพนม 

- พ.ศ. ๒๕๔๔ จำพรรษาที่สำนักสงฆ์บ้านหนองเรือ ม. ๑๐ ต.ท่าตะเกียบ อ.ท่าตะเกียบ จ.ฉะเชิงเทรา ที่นี้หลวงปู่ได้ดับขันธปรินิพพาน เมื่อเดือน ๒๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๔ สิริรวมอายุ ๖๒ ปี