วันเสาร์ที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2555

พระเจ้าตากสินมหาราช























หลวงปู่ได้เทศน์เรื่องนี้ไว้ตั้งแต่ สสร. ปี40


































กระแสเรียกร้องให้มีการบัญญัติพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยได้เกิดขึ้นอีกครั้งเมื่อต้นปีพุทธศักราช 2550 ชาวพุทธ ๗ องค์หลัก กล่าวคือ มหามกุฏราชวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยองค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลกยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทย, คณะสงฆ์อณัมนิกาย, คณะสงฆ์จีนนิกาย,และ พุทธสมาคมแห่งประเทศไทย ได้เริ่มต้นเรียกร้อง ต่อมา กลุ่มชาวพุทธได้ขยายเพิ่มเป็นไม่น้อยกว่า 300 องค์กรทั่วประเทศและได้ผนึกกำลังกันเรียกร้องขึ้นมา
โดยก่อนหน้านั้น เมื่อพ.ศ. 2546 สมัยรัฐบาลของพันตำรวจโท ดร.ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี นักวิชาการชาวไทยพุทธได้เขียนตำราเรียนวิชาพระพุทธศาสนาในหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการและกล่าวไว้ว่า ‘พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ’ แต่ถูกนายวินัย สะมะอุน ชาวมุสลิม ท้วงติงว่ากล่าวเช่นนั้นไม่ได้ เพราะไม่มีในรัฐธรรมนูญและอาจขัดกับกฎหมายรัฐธรรมนูญด้วย ทำให้กรมวิชาการต้องสั่งให้ตัดประโยคดังกล่าวออกไปจากหนังสือซึ่งเป็นหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ ทุกเล่ม ซึ่งหมายความว่าถ้าจะบอกว่าพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติของไทย ก็จะกล่าวได้แต่เฉพาะในกรณีที่ไม่เป็นทางการเท่านั้น
ในการเรียกร้องครั้งนี้ มีแกนนำพระสงฆ์หลายรูปที่ออกมาสนับสนุน อาทิ พระพรหมมังคลาจารย์ ปัญญานันทภิกขุ, พระพรหมคุณาภรณ์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) , พระธรรมกิตติเมธี, พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร) , พระเทพวิสุทธิกวี (เกษม) , พระศรีญาณโสภณ (สุวิทย์) , พระมหาโช ทัศนีโย ฯลฯ นักวิชาการและชาวพุทธที่เขียนบทความ หรือให้สัมภาษณ์สนับสนุนได้แก่ ศ.เสฐียรพงษ์ วรรณปก ซึ่งเขียนบทความหลายชิ้นลงหนังสือพิมพ์ข่าวสดและมติชนเพื่อสนับสนุน, ดร.ปฐมพงษ์ โพธิ์ประสิทธินันท์ ซึ่งเปิดเวปไซต์ส่วนตัวชี้แจงเหตุผล, นายวรเดช อมรวรพิพัฒน์ กรรมาธิการฯ ประจำรัฐสภา, นายบรรหาร ศิลปอาชา, พลเอก ธงชัย เกื้อสกุล, พลตรี ทองขาว พ่วงรอดพันธุ์, เปลว สีเงิน คอลัมนิสต์ชื่อดัง, นายพิเชียร อำนาจวรประเสริฐ, นายสมเกียรติ ศรลัมพ์ เป็นต้น
เรื่องนี้ได้ยุติลงที่รัฐธรรมนูญ ปี พ.ศ. 2550 ไม่ได้ระบุให้พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ แต่ระบุว่า "รัฐต้องให้ความอุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนาซึ่งเป็นศาสนา ที่ประชาชนชาวไทยส่วนใหญ่นับถือมาช้านาน" ตามมาตรา 79[1]




สาเหตุให้พระศาสนาเสื่อมสูญ

สาเหตุที่ทำให้พระศาสนาเสื่อมสูญไปได้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงทราบล่วงหน้าด้วยพระปรีชาญาณ ได้ตรัสตอบพระมหากัสสป เมื่อได้กราบทูลถาม ขณะทรงประทับอยู่ ณ พระเชตวันวิหาร แขวงเมืองพาราณสี ดังมีรายละเอียด ดังนี้คือ :

พระมหากัสสป กราบทูลถามขึ้นว่า : "เมื่อพระศาสนาแพร่หลายมากขึ้น พุทธบัญญัติก็มากขึ้นโดยลำดับ เหตุใดภิกษุในศาสนาที่แตกฉานในทางธรรมกลับลดน้อยลง"

พระบรมศาสดาก็ได้ทรงแสดงมูลเหตุให้ฟังและได้ทรงเน้นว่า : "การที่มีผู้นำเอาคำสั่งสอนนอกศาสนามาอ้างอิงว่าเป็นคำสั่งสอนของพระองค์ เป็นมูลเหตุสำคัญอย่างหนึ่ง ที่จะทำให้คุณค่าของศาสนาน้อยลง"

พระมหากัสสป ได้กราบทูลถามปัญหาต่อไปว่า : "พระศาสนาจะสูญสิ้นไปจากโลก ด้วยเหตุใดบ้าง"

พระบรมศาสดาตรัสตอบว่า : สิ่งต่างๆในโลกนี้ จะทำลายศาสนาให้สูญสิ้นไปหาได้ไม่ แต่พุทธบริษัท ๔ เท่านั้น ที่จะทำให้ศาสนาสูญสิ้นไป ด้วยเหตุ ๕ ประการ คือ :

๑.พุทธบริษัท ไม่เคารพในพระศาสดาของตน
๒.พุทธบริษัท ไม่ตระหนักในธรรม
๓.พุทธบริษัท ไม่คารวะต่อสงฆ์
๔.พุทธบริษัท ไม่ตั้งใจศึกษาธรรม
๕.พุทธบริษัท ไม่สนใจในการทำสมาธิ



พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔
อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
ปริกุปปสูตร
[๑๒๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๕ จำพวกนี้ เป็นผู้ต้องไปอบาย
ต้องไปนรก เดือดร้อน แก้ไขไม่ได้
๕ จำพวกเป็นไฉน คือ
บุคคลผู้ฆ่ามารดา ๑
ผู้ฆ่าบิดา ๑
ผู้ฆ่าพระอรหันต์ ๑
ผู้มีจิตประทุษร้ายทำโลหิตของพระตถาคตให้ห้อ ๑
ผู้ทำลายสงฆ์ให้แตกกัน ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๕ จำพวกนี้แล เป็นผู้ต้องไปอบาย
ต้องไปนรก เดือดร้อน แก้ไขไม่ได้ ฯ
จบสูตรที่ ๙










เปิดรายชื่อ สสร.ที่คัดค้านและสนับสนุนบรรจุศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติ
ประกาศแจ้งอนุโมทนาชื่นชมและแจ้งพิจารณารายนามดังต่อไปนี้ โดยทั่วกันทั่วราชอาณาจักรไทยและชาวพุทธทั่วโลก ทราบ

ประกาศให้พิจารณา ๖๖ รายชื่อไม่เห็นด้วย (คนไม่เอาพระพุทธศาสนา)

1.นางกรรณิการ์ บันเทิงจิตร
2.นายกล้านรงค์ จันทิก
3.นายกิตติ ตีรเศรษฐ
4.นายเกริกเกียรติ พิพัฒน์เสรีธรรม
5.นายเกียรติชัย พงษ์พาณิชย์
6.นายคมสัน โพธิ์คง
7.นายจุตินันท์ ภิรมย์ภักดี
8.นายเจริญศักดิ์ โรจนฤทธิ์พิเชษฐ์
9.นายเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง
10.นายชาติชาย เจียมศรีพงษ์
11.นายชาลี กางอิ่ม
12.นายชูชัย ศุภวงศ์
13.นายโชคชัย อักษรนันท์
14.นางดวงสุดา เตโชติรส
15.นายธนพิชญ์ มูลพฤกษ์
16.พล.ต.ท.ธรรมนิตย์ ปิตะนีละบุตร
17.นายธวัช บวรนิชยกูร
18.นายธิติพันธุ์ เชื้อบุญชัย
19.นายนครินทร์ เมฆไตรรัตน์
20.นายนิตย์ วังวิวัฒน์
21.นายปกรณ์ ปรียากร
22.นายประดิษฐ์ เหลืองอร่าม
23.นายประพันธ์ นัยโกวิท
24.นายประวิทย์ อัครชิโนเรศ
25.นายประสงค์ พิทูรกิจจา
26.นาง พรรณราย แสงวิเชียร
27.น.ส.พวงเพชร สารคุณ
28.นายพิสิฐ ลี้อาธรรม
29.พล.ร.อ.พีรศักดิ์ วัชรมูล
30.นายไพบูลย์ วราหะไพฑูรย์
31.นายไพโรจน์ พรหมสาส์น
32.นายมานิจ สุขสมจิตร
33.นายรัฐ ชูกลิ่น
34.นางรุจิรา เตชางกูร
35.นายโอรส วงษ์สิทธิ์
36.นายวัชรา หงส์ประภัศร
37.นายวิชัย รูปขำดี
38.นายวิชา มหาคุณ
39.นายวิทยา บริบูรณ์ทรัพย์
40.นายวิทยา งานทวี
41.นายวุฒิชาติ กัลยาณมิตร
42.นายวุฒิสาร ตันไชย
43.นายศรีราชา เจริญพานิช ***
44.นายศักดิ์ชัย อุ่นจิตติกุล
45.นายศักดิ์นรินทร์ เขื่อนอ้น
46.นางสดศรี สัตยธรรม ***
47.นายสนั่น อินทรประเสริฐ
48.นายสมเกียรติ รอดเจริญ
49.นายสมคิด เลิศไพฑูรย์
50.นายมีชัย ฤชุพันธุ์
51.นายสมยศ สมวิวัฒน์ชัย
52.นายสวิง ตันอุด
53.นายสามขวัญ พนมขวัญ
54. นายสุนทร จันทร์รังสี
55.นายสุรพล พงษ์ทัดศิริกุล
56.นายเสริมเกียรติ วรดิษฐ์
57.นายเสรี นิมะยุ
58.นายหลักชัย กิตติพล
59.นายอนุศาสน์ สุวรรณมงคล
60.นายอภิชาติ ดำดี
61.นายอรัญ ธรรมโน
62.น.ส.อลิสา พันธุศักดิ์
63.นายอัครวิทย์ สุมาวงศ์
64.นางอังคณา นีละไพจิตร
65.(สำรอง01)
66.(สำรอง03)


ประกาศอนุโมทนา ๑๙ เสียงสนับสนุน

1.นาย ช.ชัยนาท ศรีเสมาเมือง
2.นายชาติชาย แสงสุข
3.นายชำนาญ ภูมิลัย
4.นายไชยยศ เหมะรัชตะ
5. นายธีรวัฒน์ ร่มไทรทอง
6. นายนุรักษ์ มาประณีต
7.นางพิเชียร อำนาจวรประเสริฐ
8.นายมนตรี เพชรขุ้ม
9.นางมนูญศรี โชติเทวัญ
10.นายวิชัย เรืองเริงกุลฤทธิ์
11.นายวิทยา คชเขื่อน
12.นายวีนัส ม่านมุงศิลป์
13.นายศิวะ แสงมณี
14.นายเศวต ทินกูล
15.นายสวัสดิ์ โชติพานิช
16.นายสว่าง ภู่พัฒน์วิบูลย์
17. นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย
18.นายอรรครัตน์ รัตนจันทร์
19.น.ส.อาภา อรรถบูรณ์วงศ์


งดออกเสียง

1.นายกนก โตสุรัตน์
2.นายการุณ ใสงาม ***
3.นายปริญญา ศิริสารการ
4.พล.ต.อ.มีชัย นุกูลกิจ

ไม่ลงคะแนนเสียง

1.นายกฤษฎา ให้วัฒนานุกูล

หมายเหตุ — ผลการลงคะแนนเสียงของสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ ในการแปรญัตติมาตรา 2 เรื่องการบรรจุศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติ โดย 66 คน ไม่เห็นด้วย ขณะที่มีเพียง 19 เสียงที่เห็นควรบัญญัติให้พุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ
น่าอนาจใจเมืองพุทธโดยแท้ นี่คือจุดร้าวก้าวเข้าสู่จุดเสื่อมอย่างแท้จริง เสียงสนับสนุนจากคนพุทธแค่ครึ่งก็ยังไม่ได้ มันขายขี้หน้านัก.



ที่มา: PANTIP.COM




ถาม ที่ผ่านมารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยเคยบัญญัติให้พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติจริงหรือไม่

ตอบ ไม่จริง รัฐธรรมนูญที่ผ่านไม่เคยมีการบัญญัติให้พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ ผู้ร่างที่ผ่านมาให้เหตุผลว่า ไม่ต้องการให้ศาสนาเข้ามาเกี่ยวข้องกับการเมืองการปกครอง และ ป้องกันการแตกแยกของคนในชาติในมิติของศาสนา

ถาม หากบรรจุพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติแล้ว จะทำให้ประเทศชาติแตกแยกมากยิ่งขึ้น และ อาจจะทำให้ปัญหาในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้รุนแรงมากยิ่งขึ้น

ตอบ เป็นเรื่องที่หลายฝ่ายคาดเดากันไปเองล่วงหน้า ที่ผ่านมาประเทศไทยก็ไม่เคยมีความแตกแยกกันทางด้านศาสนาอย่างรุนแรง และถึงแม้ที่ผ่านมาจะไม่มีการบรรจุศาสนาประจำชาติ ปัญหาในสามจังหวัดก็ยังคงรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากสาเหตุของปัญหาไม่ใช่ความแตกแยกทางศาสนา แต่เป็นเรื่องความอยุติธรรมในพื้นที่ ความต้องการแยกดินแดน และ ความแตกต่างทางด้านชาติพันธ์ วัฒนธรรม ระหว่างไทยกับมลายู ศาสนาเพียงถูกดึงไปใช้เป็นเครื่องมือในภายหลังเท่านั้น ดังนั้นหากมีการบัญญัติศาสนาประจำชาติ เหตุการณ์จะรุนแรงขึ้นหรือทุเลาลง มันขึ้นอยู่กับหลายๆ ปัจจัย เช่น หากบรรจุแล้วเกิดแนวคิดศาสนานิยมแล้วไปออกกฎหมายรังแกศาสนาอื่น อันนี้ก็จะทำให้เกิดปัญหารุนแรง หรือ หากบรรจุแล้วมีการออกกฎหมายลูก หรือ มีการให้ความสำคัญในการนำพระธรรมคำสอนไปประยุกต์ใช้การบริหารราชการแผ่นดินหรือแก้ปัญหาของชาติ ก็จะสามารถทำให้บ้านเมืองเกิดความสงบสุขได้ ขึ้นอยู่กับ ใครจะเอาข้อความดังกล่าวไปใช้ประโยชน์อย่างไร เหมือนดาบสองคม

ถาม ศาสนาเป็นของสูง รัฐธรรมนูญเป็นของต่ำดังนั้น เราไม่ควรเอาศาสนาไปใส่ไว้ในรัฐธรรมนูญ เพราะ รัฐธรรมนูญเปลี่ยนได้ โดนฉีกบ่อย

ตอบ สถาบันชาติเป็นของสูง สถาบันพระมหากษัตริย์เป็นของสูง รัฐธรรมนูญก็ตั้งอยู่บนพานทองสองชั้น นั่นก็แสดงว่าเป็นของสูง ดังนั้นแนวคิดดังกล่าวเป็นเรื่องที่ไม่มีเหตุผลและไม่สมควรเอามาเป็นข้อกล่าวแย้งในเรื่องการไม่บรรจุศาสนาประจำชาติ

ถาม หากบัญญัติพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติไว้ในรัฐธรรมนูญแล้ว จะทำให้ประชาชนชาวไทยสามารถธำรงค์รักษาพระพุทธศาสนาไว้ตราบนานเท่านาน และ จะทำให้พระศาสนาเจริญรุ่งเรื่องสถาพร

ตอบ ไม่จริง การบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ เป็นเพียงการประกาศข้อเท็จจริง ในเอกลักษณ์ของชาติเท่านั้น เช่น ประเทศไทยปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข การเขียนในรัฐธรรมนูญเป็นเพียงการเขียนเพื่อเทิดทูนและให้ความเคารพในพระพุทธศาสนาเท่านั้น ไม่มีผล หรือ ส่งผลให้เกิดการทำนุบำรุงพระศาสนาในทางปฏิบัติแต่อย่างใด การทำนุบำรุงหรือส่งเสริมกิจการพระศาสนานั้นอยู่ในมือของพุทธบริษัทสี่เท่านั้น การออกกฎหมายลูก หรือ การตราพระราชบัญญัติต่างๆที่เกี่ยวข้องจะมีผลส่งเสริมพระพุทธศาสนามากกว่าการเขียนบัญญัติศาสนาประจำชาติ

ถาม เหตุใดเราจึงไม่แยก รัฐ และ ศาสนา ออกจากกันอย่างสิ้นเชิงเหมือนประเทศอเมริกา

ตอบ อเมริกา เป็นประเทศที่ไม่มีรากทางวัฒนธรรมประกอบขึ้นมาจากชนหลายชาติ หลายภาษา และ หลายศาสนา แตกต่างจากประเทศไทย ที่คนส่วนใหญ่ผูกพันนับถือพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย พระมหากษัตริย์ทุกๆพระองค์ก็ผูกพันอยู่กับพุทธศาสนามากว่าเจ็ดร้อยปี รัฐธรรมนูญของไทยนั้นใช้รูปแบบคล้ายคลึงกับของประเทศอังกฤษนั้นคือใช้สถาบันพระมหากษัตริย์เป็นตัวเชื่อมสถาบันศาสนา โดยการบังคับกำหนดการเลือกนับถือศาสนาให้กับสถาบันพระมหากษัตริย์ ดังนั้นรัฐธรรมนูญของไทยจึงได้กำหนดให้พระมหากษัตริย์ทรงเป็นพุทธมามกะมาตลอด เหมือนกับที่ประเทศอังกฤษกำหนดให้สมเด็จพระราชินีต้องนับถือคริสต์นิกายแองกิกลัน

ถาม หากกำหนดให้พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติแล้ว จะทำให้ศาสนาอื่นไม่ได้รับความคุ้มครองอย่างเท่าเทียมกัน

ตอบ ไม่จริง รัฐธรรมนูญมาตรา 78 ได้เขียนไว้ ว่ารัฐจะต้องให้ความคุ้มครองศาสนาอื่นๆ และ พระพุทธศาสนา อย่างเท่าเทียมกัน

ถาม หากบรรจุพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติแล้ว จะทำให้ภัยที่คุกคามพระพุทธศาสนาหมดไปจริงหรือไม่

ตอบ ไม่จริง ภัยที่จะทำให้พระศาสนาเสื่อมนั้น มีทั้งจากภายนอกและภายใน พระพุทธเจ้าทรงให้ความสำคัญกับภัยภายในมากกว่าภัยภายนอก ภัยภายในคือการที่พระภิกษุไม่ประพฤติตนอยู่ในพระธรรมวินัย บิดเบือนพระธรรมวินัย พุทธบริษัทไม่ให้ความสำคัญกับพระธรรมคำสั่งสอน ไม่นำพระธรรมคำสั่งสอนไปปฏิบัติ ไม่ทำนุบำรุงพระศาสนา การบัญญัติในรัฐธรรมนูญ เป็นเรื่องของการเทิดทูนพระพุทธศาสนาเป็นลายลักษณ์อักษรในกฎหมายสูงสุดของประเทศ ไม่ได้มีผลทำให้ภัยที่คุกคามพระพุทธศาสนาลดน้อยถอยลง แต่ เป็นหน้าที่ของพุทธบริษัทต่างหากที่จะต้องช่วยกันป้องภัยของพระพุทธศาสนาไม่ใช่การหวังพึ่งข้อความในรัฐธรรมนูญโดยไม่ทำอะไร

ถาม ที่เขาบอกว่า พระพุทธศาสนาจะรุ่งเรืองหรือประจำชาติอยู่ที่การปฏิบัติตนพุทธบริษัทสี่ ไม่ใช่อยู่ที่การบัญญัติศาสนาประจำชาติในรัฐธรรมนูญ

ตอบ ถูกต้อง พระพุทธศาสนาจะรุ่งเรืองหรือเสื่อมลง อยู่ที่การปฏิบัติตนของพุทธบริษัท เช่น พระสงฆ์ประพฤติตนอยู่ในพระธรรมวินัย อุบาสก อุบาสิกา น้อมเอาพระธรรมคำสั่งสอนไปใช้ และ ฆราวาสชนชั้นปกครองให้ความเอาใจใส่ เทิดทูน คุ้มครองพระอริยสงฆ์และพระพุทธศาสนา การตราพระราชบัญญัติ หรือ การเขียนบัญญัติข้อความที่เทิดทูนพระพุทธศาสนาลงในรัฐธรรมนูญ เป็นเพียงวิธีการหนึ่งของการเทิดทูนพระพุทธศาสนาในมิติของกฎหมายเท่านั้น

ประเทศเวียดนามใต้เป็นตัวอย่างหนึ่งของการที่ชนชั้นปกครองไม่ใช่พุทธศาสนิกชน แต่ประชาชนส่วนใหญ่นับถือพุทธ เมื่อชนชั้นปกครองไม่ศรัทธาในศาสนาพุทธก็มีการออกกฎหมายทำลายพระพุทธศาสนา ประเทศเกาหลีใต้ก็เช่นกัน เมื่อมีประธานาธิบดีนับถือศาสนาอื่น ก็ละเลยไม่ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา จนทำให้ประชากรจากเดิมที่เคยนับถือพุทธอยู่ถึง 80 % ลดลงเหลือ 40 % ในปัจจุบัน เหตุการณ์การณ์แบบนี้เคยเกิดขึ้นมาแล้วเมื่อครั้งที่พระพุทธศาสนาเริ่มเสื่อมไปจากอินเดียเช่นกัน

ถาม ประเทศไทยในเวลานี้เหมาะสมหรือไม่สำหรับการ บัญญัติให้พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติในรัฐธรรมนูญ

ตอบ หากดูแง่มุมต่างๆ ในรัฐธรรมนูญ เรามีข้อบังคับให้สถาบันพระมหากษัตริย์เป็นพุทธมามกะ เรามีข้อความที่ระบุให้มีการคุ้มครองพระพุทธศาสนาในมาตรา 78 บางท่านอาจจะคิดว่าไม่เพียงพอ และ ต้องการเทิดทูนพระพุทธศาสนามากกว่าที่เป็นอยู่ การบัญญัติให้พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติก็สามารถทำได้ เพราะเป็นข้อเท็จจริงอยู่แล้วว่าพุทธศาสนาเป็นศาสนาของคนส่วนใหญ่ ในขณะที่บางคนอาจจะมองว่า บัญญัติต่างๆที่มี่อยู่เดิมนั้นเพียงพออยู่แล้วที่จะทำนุบำรุงพระศาสนา ไม่จำเป็นต้องไปเขียนข้อความเพิ่มเติมให้ซ้ำซ้อนและไม่จำเป็น

อันนี้ก็แล้วแต่คนจะมอง เพราะ มุมมองและความรู้สึกของแต่ละคนไม่เหมือนกัน แต่ต้องมาดูข้อเท็จจริงกันว่า บัญญัติแล้วแย่จริงแบบที่เขาว่าหรือเปล่า หรือ ไม่บัญญัติแล้วจะแย่เหมือนที่เขาว่าหรือเปล่า ต้องพิจารณากันเอง

ถาม ที่ผ่านมารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยเคยบัญญัติให้พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติจริงหรือไม่

ตอบ ไม่จริง รัฐธรรมนูญที่ผ่านไม่เคยมีการบัญญัติให้พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ ผู้ร่างที่ผ่านมาให้เหตุผลว่า ไม่ต้องการให้ศาสนาเข้ามาเกี่ยวข้องกับการเมืองการปกครอง และ ป้องกันการแตกแยกของคนในชาติในมิติของศาสนา

ถาม หากบรรจุพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติแล้ว จะทำให้ประเทศชาติแตกแยกมากยิ่งขึ้น และ อาจจะทำให้ปัญหาในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้รุนแรงมากยิ่งขึ้น

ตอบ เป็นเรื่องที่หลายฝ่ายคาดเดากันไปเองล่วงหน้า ที่ผ่านมาประเทศไทยก็ไม่เคยมีความแตกแยกกันทางด้านศาสนาอย่างรุนแรง และถึงแม้ที่ผ่านมาจะไม่มีการบรรจุศาสนาประจำชาติ ปัญหาในสามจังหวัดก็ยังคงรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากสาเหตุของปัญหาไม่ใช่ความแตกแยกทางศาสนา แต่เป็นเรื่องความอยุติธรรมในพื้นที่ ความต้องการแยกดินแดน และ ความแตกต่างทางด้านชาติพันธ์ วัฒนธรรม ระหว่างไทยกับมลายู ศาสนาเพียงถูกดึงไปใช้เป็นเครื่องมือในภายหลังเท่านั้น ดังนั้นหากมีการบัญญัติศาสนาประจำชาติ เหตุการณ์จะรุนแรงขึ้นหรือทุเลาลง มันขึ้นอยู่กับหลายๆ ปัจจัย เช่น หากบรรจุแล้วเกิดแนวคิดศาสนานิยมแล้วไปออกกฎหมายรังแกศาสนาอื่น อันนี้ก็จะทำให้เกิดปัญหารุนแรง หรือ หากบรรจุแล้วมีการออกกฎหมายลูก หรือ มีการให้ความสำคัญในการนำพระธรรมคำสอนไปประยุกต์ใช้การบริหารราชการแผ่นดินหรือแก้ปัญหาของชาติ ก็จะสามารถทำให้บ้านเมืองเกิดความสงบสุขได้ ขึ้นอยู่กับ ใครจะเอาข้อความดังกล่าวไปใช้ประโยชน์อย่างไร เหมือนดาบสองคม

ถาม ศาสนาเป็นของสูง รัฐธรรมนูญเป็นของต่ำดังนั้น เราไม่ควรเอาศาสนาไปใส่ไว้ในรัฐธรรมนูญ เพราะ รัฐธรรมนูญเปลี่ยนได้ โดนฉีกบ่อย

ตอบ สถาบันชาติเป็นของสูง สถาบันพระมหากษัตริย์เป็นของสูง รัฐธรรมนูญก็ตั้งอยู่บนพานทองสองชั้น นั่นก็แสดงว่าเป็นของสูง ดังนั้นแนวคิดดังกล่าวเป็นเรื่องที่ไม่มีเหตุผลและไม่สมควรเอามาเป็นข้อกล่าวแย้งในเรื่องการไม่บรรจุศาสนาประจำชาติ

ถาม หากบัญญัติพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติไว้ในรัฐธรรมนูญแล้ว จะทำให้ประชาชนชาวไทยสามารถธำรงค์รักษาพระพุทธศาสนาไว้ตราบนานเท่านาน และ จะทำให้พระศาสนาเจริญรุ่งเรื่องสถาพร

ตอบ ไม่จริง การบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ เป็นเพียงการประกาศข้อเท็จจริง ในเอกลักษณ์ของชาติเท่านั้น เช่น ประเทศไทยปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข การเขียนในรัฐธรรมนูญเป็นเพียงการเขียนเพื่อเทิดทูนและให้ความเคารพในพระพุทธศาสนาเท่านั้น ไม่มีผล หรือ ส่งผลให้เกิดการทำนุบำรุงพระศาสนาในทางปฏิบัติแต่อย่างใด การทำนุบำรุงหรือส่งเสริมกิจการพระศาสนานั้นอยู่ในมือของพุทธบริษัทสี่เท่านั้น การออกกฎหมายลูก หรือ การตราพระราชบัญญัติต่างๆที่เกี่ยวข้องจะมีผลส่งเสริมพระพุทธศาสนามากกว่าการเขียนบัญญัติศาสนาประจำชาติ

ถาม เหตุใดเราจึงไม่แยก รัฐ และ ศาสนา ออกจากกันอย่างสิ้นเชิงเหมือนประเทศอเมริกา

ตอบ อเมริกา เป็นประเทศที่ไม่มีรากทางวัฒนธรรมประกอบขึ้นมาจากชนหลายชาติ หลายภาษา และ หลายศาสนา แตกต่างจากประเทศไทย ที่คนส่วนใหญ่ผูกพันนับถือพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย พระมหากษัตริย์ทุกๆพระองค์ก็ผูกพันอยู่กับพุทธศาสนามากว่าเจ็ดร้อยปี รัฐธรรมนูญของไทยนั้นใช้รูปแบบคล้ายคลึงกับของประเทศอังกฤษนั้นคือใช้สถาบันพระมหากษัตริย์เป็นตัวเชื่อมสถาบันศาสนา โดยการบังคับกำหนดการเลือกนับถือศาสนาให้กับสถาบันพระมหากษัตริย์ ดังนั้นรัฐธรรมนูญของไทยจึงได้กำหนดให้พระมหากษัตริย์ทรงเป็นพุทธมามกะมาตลอด เหมือนกับที่ประเทศอังกฤษกำหนดให้สมเด็จพระราชินีต้องนับถือคริสต์นิกายแองกิกลัน

ถาม หากกำหนดให้พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติแล้ว จะทำให้ศาสนาอื่นไม่ได้รับความคุ้มครองอย่างเท่าเทียมกัน

ตอบ ไม่จริง รัฐธรรมนูญมาตรา 78 ได้เขียนไว้ ว่ารัฐจะต้องให้ความคุ้มครองศาสนาอื่นๆ และ พระพุทธศาสนา อย่างเท่าเทียมกัน

ถาม หากบรรจุพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติแล้ว จะทำให้ภัยที่คุกคามพระพุทธศาสนาหมดไปจริงหรือไม่

ตอบ ไม่จริง ภัยที่จะทำให้พระศาสนาเสื่อมนั้น มีทั้งจากภายนอกและภายใน พระพุทธเจ้าทรงให้ความสำคัญกับภัยภายในมากกว่าภัยภายนอก ภัยภายในคือการที่พระภิกษุไม่ประพฤติตนอยู่ในพระธรรมวินัย บิดเบือนพระธรรมวินัย พุทธบริษัทไม่ให้ความสำคัญกับพระธรรมคำสั่งสอน ไม่นำพระธรรมคำสั่งสอนไปปฏิบัติ ไม่ทำนุบำรุงพระศาสนา การบัญญัติในรัฐธรรมนูญ เป็นเรื่องของการเทิดทูนพระพุทธศาสนาเป็นลายลักษณ์อักษรในกฎหมายสูงสุดของประเทศ ไม่ได้มีผลทำให้ภัยที่คุกคามพระพุทธศาสนาลดน้อยถอยลง แต่ เป็นหน้าที่ของพุทธบริษัทต่างหากที่จะต้องช่วยกันป้องภัยของพระพุทธศาสนาไม่ใช่การหวังพึ่งข้อความในรัฐธรรมนูญโดยไม่ทำอะไร

ถาม ที่เขาบอกว่า พระพุทธศาสนาจะรุ่งเรืองหรือประจำชาติอยู่ที่การปฏิบัติตนพุทธบริษัทสี่ ไม่ใช่อยู่ที่การบัญญัติศาสนาประจำชาติในรัฐธรรมนูญ

ตอบ ถูกต้อง พระพุทธศาสนาจะรุ่งเรืองหรือเสื่อมลง อยู่ที่การปฏิบัติตนของพุทธบริษัท เช่น พระสงฆ์ประพฤติตนอยู่ในพระธรรมวินัย อุบาสก อุบาสิกา น้อมเอาพระธรรมคำสั่งสอนไปใช้ และ ฆราวาสชนชั้นปกครองให้ความเอาใจใส่ เทิดทูน คุ้มครองพระอริยสงฆ์และพระพุทธศาสนา การตราพระราชบัญญัติ หรือ การเขียนบัญญัติข้อความที่เทิดทูนพระพุทธศาสนาลงในรัฐธรรมนูญ เป็นเพียงวิธีการหนึ่งของการเทิดทูนพระพุทธศาสนาในมิติของกฎหมายเท่านั้น

ประเทศเวียดนามใต้เป็นตัวอย่างหนึ่งของการที่ชนชั้นปกครองไม่ใช่พุทธศาสนิกชน แต่ประชาชนส่วนใหญ่นับถือพุทธ เมื่อชนชั้นปกครองไม่ศรัทธาในศาสนาพุทธก็มีการออกกฎหมายทำลายพระพุทธศาสนา ประเทศเกาหลีใต้ก็เช่นกัน เมื่อมีประธานาธิบดีนับถือศาสนาอื่น ก็ละเลยไม่ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา จนทำให้ประชากรจากเดิมที่เคยนับถือพุทธอยู่ถึง 80 % ลดลงเหลือ 40 % ในปัจจุบัน เหตุการณ์การณ์แบบนี้เคยเกิดขึ้นมาแล้วเมื่อครั้งที่พระพุทธศาสนาเริ่มเสื่อมไปจากอินเดียเช่นกัน

ถาม ประเทศไทยในเวลานี้เหมาะสมหรือไม่สำหรับการ บัญญัติให้พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติในรัฐธรรมนูญ

ตอบ หากดูแง่มุมต่างๆ ในรัฐธรรมนูญ เรามีข้อบังคับให้สถาบันพระมหากษัตริย์เป็นพุทธมามกะ เรามีข้อความที่ระบุให้มีการคุ้มครองพระพุทธศาสนาในมาตรา 78 บางท่านอาจจะคิดว่าไม่เพียงพอ และ ต้องการเทิดทูนพระพุทธศาสนามากกว่าที่เป็นอยู่ การบัญญัติให้พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติก็สามารถทำได้ เพราะเป็นข้อเท็จจริงอยู่แล้วว่าพุทธศาสนาเป็นศาสนาของคนส่วนใหญ่ ในขณะที่บางคนอาจจะมองว่า บัญญัติต่างๆที่มี่อยู่เดิมนั้นเพียงพออยู่แล้วที่จะทำนุบำรุงพระศาสนา ไม่จำเป็นต้องไปเขียนข้อความเพิ่มเติมให้ซ้ำซ้อนและไม่จำเป็น

อันนี้ก็แล้วแต่คนจะมอง เพราะ มุมมองและความรู้สึกของแต่ละคนไม่เหมือนกัน แต่ต้องมาดูข้อเท็จจริงกันว่า บัญญัติแล้วแย่จริงแบบที่เขาว่าหรือเปล่า หรือ ไม่บัญญัติแล้วจะแย่เหมือนที่เขาว่าหรือเปล่า ต้องพิจารณากันเอง

ที่มา:ลานธรรม




เมื่อคณะสงฆ์ธรรมยุตอ้าง นานาสังวาส
มาปฏิบัติอย่างเคร่งครัด ตามพระธรรมวินัย ใน ๖๐ ปีที่แล้ว

พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.๒๔๘๔ ประกาศใช้เมื่อวันที่ ๑๔ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๘๔ และจะครบกำหนด ๘ ปี ในวันที่ ๑๔ ตุลาคม ๒๔๙๒ ซึ่งคณะสงฆ์มหานิกาย และ ธรรมยุติกนิกาย จะต้องมายุบรวมเป็น อันหนึ่ง อันเดียวกัน ตามความในมาตรา ๖๐ ของ พ.ร.บ. คณะสงฆ์ พ.ศ.๒๔๘๔

แต่ก่อนจะถึงวาระสำคัญดังกล่าวนั้น พระมหาเถรานุเถระฝ่ายธรรมยุติกนิกาย ได้เซ็นชื่อ ร่วมกัน ยื่นหนังสือ กราบทูลแด่สมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า สกลมหาสังฆ ปริณายก โดยชูธงแห่งสิทธิ เสรีภาพ ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย เพื่อต้านอำนาจรัฐมิให้ดำเนินการรวม นิกายสงฆ์ ให้เป็นอันหนึ่ง อันเดียวกัน ตลอดจนได้อ้างหลัก "นานาสังวาส" ตามพระธรรมวินัย ขึ้นมาเป็น ประเด็นสำคัญ ในการต่อสู้

สำหรับเนื้อหาเฉพาะ "นานาสังวาส" ที่พระมหาเถรานุเถระฝ่ายธรรมยุติกนิกาย ยกใช้มาอ้าง เพื่อคัดค้าน การรวมสงฆ์ ให้เป็นนิกายเดียวกัน เมื่อ ๖๐ ปีที่แล้ว มีดังต่อไปนี้


--------------------------------------------------------------------------------

(สำเนา หนังสือร้องเรียนฯ)

วันที่ ๕ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๔๙๐
เรื่อง พ.ร.บ. คณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๔๘๔
ขอประทานกราบทูล สกลมหาสังฆปริณายก ทรงทราบ

จำเดิมแต่ได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พุทธศักราช ๒๔๘๔ มาจนบัดนี้ เป็นเวลา ย่างเข้า ๗ ปีแล้ว เกล้ากระหม่อมทั้งหลาย ผู้เป็นพระภิกษุในคณะธรรมยุติกนิกาย ซึ่งมีหน้าที่ เกี่ยวกับการคณะสงฆ์ ได้สังเกต การปฏิบัติ ตาม พ.ร.บ.นี้ ปรากฏว่ามีผลเสียหาย แก่การ พระศาสนา เป็นอย่างมาก กล่าวคือ เสียหลักการปกครอง ตามพระธรรมวินัย เสียเวลา เสียแรง ทั้งเพิ่มความสิ้นเปลืองโดยเปล่าประโยชน์ และเมื่อกล่าวด้วยความเห็น ก็ไม่เป็น ที่พึงประสงค์ ของคณะธรรมยุติกนิกาย ที่จะรับปฏิบัติตามพ.ร.บ. ฉบับนี้ เพราะ พ.ร.บ. ฉบับนี้ มีข้อผิดพลาดบกพร่อง หลายประการ มีอาทิ คือ

๑. ขัดแย้งกับพระวินัย ผู้ที่บวชในพระพุทธศาสนาโดยตรง มุ่งอุทิศพระสัมมาสัมพุทธะ ครั้นบวชแล้ว จะทรงภาวะ ภิกษุอยู่ได้ ก็ด้วยเคารพปฏิบัติตามพระวินัย พระวินัยจึงเป็นที่เกิด และ เป็นชีวิตของ ความเป็น ภิกษุ พระสงฆ์ดำรง ยั่งยืน มาได้ถึง ๒๕๐๐ ปีเศษ และการปกครอง สังฆมณฑล ซึ่งเป็นไปด้วยดี ก็เพราะ ผู้บวชยึดพระวินัยเป็นหลักปฏิบัติ โดยเฉพาะ ประเทศไทย เมื่อพระพุทธศาสนาแผ่มาถึง ชาวไทยก็ได้มี ศรัทธาปสาทะ ต้อนรับ นับถือ และอุปถัมภ์ สังฆมณฑล ให้เป็นไปด้วยดีตามพระวินัย

ในชั้นเดิม การปกครองคณะสงฆ์เป็นไปแต่ลำพังพุทธจักร ด้วยอาศัยพระวินัยเป็นหลัก ดังกล่าว และอนุวัตร ศาสนประเพณี ที่เป็นไปตามพระพุทธจรรยาหรือวินัยนิยม แต่ต่อมา มีผู้บวช ที่เป็นอลัชชี ปราศจากหิริ โอตตัปปะ ประพฤติ ล่วงพระวินัย ทำให้พระศาสนา เศร้าหมอง เพื่อรักษาไว้ซึ่งพระวินัย ทางฝ่ายอาณาจักร จึงเข้าสนับสนุน จนถึงตั้งกรมธรรมการ และตรากฎหมายพระสงฆ์ขึ้นช่วย การปกครองสังฆมณฑล จึงเป็นมา ด้วยดี เมื่อกล่าว โดยสรุป ก็คือ ยึดพระวินัยและศาสนประเพณีเป็นหลัก และมีกฎหมายบ้านเมือง เป็นเครื่อง สนับสนุน การออกกฎหมาย บ้านเมือง ด้วยไม่คำนึงถึงพระวินัยนั้น ไม่เป็นทางที่จะให้ บรรพชิต เป็นพระที่ดีได้

ผู้ออกกฎหมายให้พระปฏิบัติขัดแย้งกับพระวินัย ย่อมได้ชื่อว่าบั่นทอนพระพุทธศาสนา ไม่งาม ในทาง ประวัติศาสตร์ ทำความยุ่งยาก ให้แก่คณะสงฆ์ เพราะเมื่อออกกฎหมายแล้ว ถ้าไม่ปฏิบัติ ตามกฎหมาย ก็เป็นขัดกฎหมาย ถ้าปฏิบัติ ตามกฎหมาย ก็เป็นการฝ่าฝืน พระวินัย เป็นการทำลายตนเอง ทำลาย พุทธศาสนา เมื่อเป็นเช่นนี้ ก็จำต้องเลือกปฏิบัติ ในทางที่ ไม่ขัดกับพระวินัย เพราะฉะนั้น การออกกฎหมาย บ้านเมือง ท่านจึงให้เป็นไป ในรูป สนับสนุนพระวินัย ไม่ใช่เป็น การตัดรอนพระวินัย

ตามพระวินัย มีบทบัญญัติไว้โดยความว่า เมื่อภิกษุยังเป็นนานาสังวาสก์กันอยู่ ห้ามไม่ให้ ทำสังฆกรรม ร่วมกัน ถ้าขืนทำ ผู้ทำก็มีโทษ คือต้องอาบัติตามพระพุทธบัญญัติ ถ้านับภิกษุ ที่เป็นนานาสังวาสก์ เข้าเป็น องค์สงฆ์ด้วย กรรมที่ทำนั้นก็เสีย ถ้าร่วมกันทำอุปสมบทกรรม ผู้อุปสมบทก็ไม่เป็นอุปสัมบัน และในทาง ตรงกันข้าม เมื่อภิกษุ เป็นสมานสังวาสก์กัน ห้ามไม่ให้ ทำสังฆกรรมแยกในสีมาเดียวกัน ถ้าขืนแยกทำ ผู้ละเมิด ก็มีโทษต้องอาบัติ กรรมนั้น ก็เสีย ใช้ไม่ได้เช่นเดียวกัน (วินัยปิฎกเล่ม ๔ หน้า ๒๑๔ และหน้า ๒๖๕ และเล่ม ๕ หน้า ๒๕๙) พระวินัยมีบัญญัติ อย่างนี้

แต่ พ.ร.บ. คณะสงฆ์ มีบทบัญญัติและวัตถุประสงค์เพื่อรวมนิกายทั้งสอง ซึ่งเป็น นานาสังวาสก์ กัน ให้เป็น นิกายเดียว เรียกว่า คณะสงฆ์ไทย ไม่ให้มีธรรมยุติกนิกาย และ มหานิกาย ทั้งได้ให้ปฏิบัติตามวัตถุประสงค์ นั้น ในการบางอย่างมาแล้วด้วย วัตถุประสงค์ และการทำเช่นนั้น เป็นการทำให้พระต้องฝ่าฝืนพระวินัย แม้จะยกหลัก มหาปเทศ ทั้ง ๔ (หลักใหญ่ สำหรับพิจารณาเทียบเคียง วินัยปิฎกเล่ม ๕ หน้า ๑๓๑) มาพิจารณา อนุโลมเข้า ในข้อที่ว่าควร ก็อนุโลมเข้าไม่ได้

การที่ประเทศไทยต้องมีนิกายสงฆ์ ๒ นิกายนั้น ก็เพราะมีเหตุผลและความจำเป็น ในทางศาสนา แม้ใน ประเทศอื่น ก็มี มากกว่านิกายหนึ่ง และในศาสนาอื่น ก็เช่นเดียวกัน การที่มีหลายนิกาย ไม่ใช่เป็นเหตุ ที่ทำให้ การพระศาสนาเสื่อม หรือ ก่อความไม่สงบเรียบร้อย แก่บ้านเมือง แต่ตรงกันข้าม เพราะเมื่อมี นิกายเดียว ได้ปรากฏ ผลเสื่อม มาแล้ว โดยเฉพาะ ในประเทศไทยปรากฏว่าการมี ๒ นิกาย กลับเป็นการฟื้นฟู พระศาสนา เพราะได้ช่วยกัน ตรวจสอบ ในทางศึกษา ในทางปฏิบัติ ให้เป็นไปในทางเจริญ ดังที่คณะ ธรรมยุต ได้ค้นคว้า หาความถูกต้อง ตามพระธรรมวินัย เผยแผ่ให้แพร่หลาย เป็นการฟื้นฟูการศาสนา ทั้งในด้าน ปริยัติ ทั้งในด้านปฏิบัติ ตลอดจนถึงแต่งตำหรับตำรา แบบแผน ฝ่ายมหานิกายก็ได้เข้าร่วมมือ จัดทำ ดังที่เห็นได้ในการศึกษาพระปริยัติธรรม ซึ่งเจริญแพร่หลายทั่วไป อยู่ในบัดนี้

เพราะฉะนั้น การที่จะบังคับให้รวมกันจึงเป็นทางให้เกิดความผิดพลาดเสื่อมทรามแก่การพระศาสนา และ เป็นการ ฝืนธรรมดา และฝืนประวัติศาสตร์ศาสนา ที่เป็นไปไม่ได้มาแล้ว

...........ฯลฯ........

ในฐานะที่ฝ่าพระบาททรงดำรงตำแหน่งสกลมหาสังฆปริณายก ขอให้ทรงพระกรุณา โปรดหาทาง ปลดเปลื้อง ความอากูล เสื่อมเสียเนื่องจาก พ.ร.บ. นี้ เพื่อเกล้ากระหม่อม ทั้งหลาย จะได้รับความชอบธรรม ในการประพฤติ พรหมจรรย์ และการปกครองควบคุมกันอยู่ โดยลัทธินิยมตามพระธรรมวินัย สมกับที่มุ่ง มาบวชอุทิศ พระสัมมา สัมพุทธะ เพื่อความ เป็นอยู่ ด้วยความสงบสุข และความวัฒนาถาวร แห่งบวร พุทธศาสนาสืบไป

ควรมิควรแล้วแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์
พระศาสนโศภน
พระธรรมปาโมกข์
พระเทพกวี
พระราชกวี
พระปริยัติเวที
พระรัชชมงคลมุนี
พระศรีวิสุทธิวงศ์
พระนิรันตรญาณมุนี
พระอมรเวที
พระโศภนคณาภรณ์ * สมเด็จพระมหาวีรวงศ์
พระธรรมโกศาจารย์
พระเทพโมลี
พระอมราภิรักขิต
พระราชเมธี
พระญาณรักขิต
พระอริยคุณาธาร
พระอมรมุนี
พระจินดากรมุนี
พระสุมงคลมุนี
พระศรีวิสุทธิญาณ **

สำเนานี้ถูกต้องแล้ว
พระมหาวิชมัย

* ปัจจุบันคือ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก วัดบวรนิเวศวิหาร
** นายสุชีพ ปุญญานุภาพ
คัดจากบางส่วนของหนังสือร้องเรียนเกี่ยวกับพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พุทธศักราช ๒๔๘๔ จากหนังสือ การปกครอง คณะสงฆ์ไทย โดย แสวง อุดมศรี




เชื้อสายพระราชวงศ์กรุงธนบุรี

พระราชวงศานุวงศ์กรุงธนบุรีมหาราช
1. พระราชบิดาสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ตามที่กล่าวไว้ในหนังสืออภินิหารบรรพบุรุษว่าเป็นขุนพัฒน์ นามเดิมไหยฮอง ตั้งภูมิลำเนาอยู่ในพระนครศรีอยุธยา แต่ยังไม่พบหลักฐานที่อื่นสนับสนุน
2. สมเด็จพระราชชนนี พระนามเดิมว่า เอี้ยง ดำรงพระราชอิสริยยศเป็นกรมหลวงพิทักษ์เทพามาตย์ สวรรคตวันอังคารเดือน 8 ขึ้น 6 ค่ำ พ.ศ. 2317 ดูจดหมายเหตุฉบับลงวันอังคาร เดือน 6 แรม 2 ค่ำ ปีมะแม จ.ศ. 1137 (พ.ศ. 2318) และหมายรับสั่ง ลงวันศุกร์เดือนอ้าย ขึ้น 12 ค่ำ จ.ศ. 1138 ( พ.ศ. 2319 )
3. สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี พระนามเดิมว่าสิน มีพระบรมนามาภิไธยเมื่อปราบดาภิเษกแล้ว ตามที่ปรากฏในศุภอักษรเสนาบดีกรุงธนบุรี ซึ่งกำกับพระราชสารไปยังกรุงศรีสัตนาคนหุต ออกพระนามว่าพระศรีสรรเพ็ชญ์ สมเด็จบรมธรรมิกราชาธิราชรามาธิบดีที่สำหรับออกพระนามในศุภอักษรชองพระเจ้า ประเทศราชว่าสมเด็จพระเอกาทศรศรฐ ส่วนที่ออกพระนาม ในพระราชพงศาวดาร ฉบับทรงชำระในรัชกาลที่ 1 ว่า สมเด็จพระบรมหน่อพุทธางกูรเจ้าสมภพเมื่อ ปีขาล พ.ศ. 2277 มีเชื้อชาติสืบจากจีน รับราชการจนได้เป็นที่พระเจ้าตากก่อนพระชนมายุ 31 ปี แล้วเลื่อนเป็นพระยากำแพงเพ็ชรเจ้าเมืองชั้นโท เพราะ ความชอบในการสงครามที่ต่อสู้พม่าเมื่อก่อนเสียกรุงศรีอยุธยา ถึงต้นปีกุน พ.ศ. 2310 กรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่า ทรงพยายามกู้คืน จากเงื้อมมือพม่าเสร็จในปลายปีนั้น รุ่งขึ้นนปีชวดพ.ศ. 2311 ณ วันอังคารเดือนอ้าย แรม 4ค่ำ ได้ปราบดาภิเษกถึงวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325 ถูกสำเร็จโทษเปลี่ยนพระราชวงศ์ใหม่ ต่อมา พ.ศ. 2327 ถวายพระเพลิงพระบรมศพที่วันอินทาราม บางยี่เรือ ธนบุรี
4. สมเด็จพระน้านาง พระนามเดิมว่า อั๋น ดำรงพระราชอิสริยยศเป็น กรมหลวงเทวินทรสุดา อยู่มาถึงรัชกาลที่ 1 กรุงรัตนโกสินทร์ ถูกลดพระยศลงเป็นเพียง หม่อมอั๋น
5.สมเด็จพระราชินี (หอกลาง) พระนามเดิมว่า สอน ดำรงพระราชอิสริยยศเป็น กรมหลวงบาทบริจา อยู่มาถึงรัชกาลที่ 1 กรุงรัตนโกสินทร์ ถูกลดพระยศลงเป็นเพียง หม่อมสอน

6.พระราชโอรสธิดา 29 องค์ คือ
(1) สมเด็จพระมหาอุปราชเจ้าฟ้ากรมขุนอินทรพิทักษ์ พระนามเดิมว่า จุ้ย ที่ 1 ในสมเด็จพระราชินี ดำรงพระราชตำแหน่งรัชทายาท ( มีปรากฏในประชุมพงศาวดารภาคที่ 39 หน้า 138 ) ถูกสำเร็จโทษ วันเสาร์ เดือน 6 แรม 8 ค่ำ พ.ศ. 2325 ต้นสกุล สินสุข และสกุล อินทรโยธิน
(2) สมเด็จฯ เจ้าฟ้าชายน้อยที่ 2 ในสมเด็จพระราชินี ถูกสำเร็จโทษ พ.ศ. 2325
(3) พระองค์เจ้าชายอัมพวัน ในเจ้าจอมมารดาทิม ( ม.ร.ว. ราชตระกูลกรุงเก่า ธิดาท้าวทรงกันดาล ทองมอญ ) พระญาติแห่งสกุลศรีเพ็ญ
(4) สมเด็จฯ เจ้าฟ้าชายทัศพงษ์ที่ 1 ในกรมบริจาภักดีศรีสุดารักษ์ (เจ้าหญิง ฉิม หรือเรียกในราชสำนักนครศรีธรรมราชว่า ทูลกระหม่อมฟ้าหญิงใหญ่ ราชธิดาของพระเจ้านครศรีธรรมราช ) ในรัชกาลที่ 2 เป็นพระพงษ์อำมรินทร์ ( หรือเรียกอีกนามหนึ่งว่า พระพงษ์นรินทร์ ) ต้นสกุลพงษ์สิน
(5) สมเด็จฯเจ้าฟ้าหญิงโกมล
(6) สมเด็จฯ เจ้าฟ้าหญิงบุบผา
(7) สมเด็จฯ เจ้าฟ้าชายสิงหรา
(8) สมเด็จฯ เจ้าฟ้าชายศิลา ในรัชกาลที่ 3 เป็นพระยาประชาชีพ ต้นสกุล ศิลานนท์
(9) พระองค์เจ้าชายอรนิกา บรรพบุรุษแห่งสกุลรัตนภาณุที่ 1 ในเจ้าจอมมารดาอำพัน (ธิดาเจ้าอุปราชจันทร์ นครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นต้นสกุลจันโรจวงศ์ ) ถูกสำเร็จโทษเมื่อจะเริ่มรัชกาลที่ 2 วันพุธ เดือน 10 ขึ้น 5 ค่ำ พ.ศ. 2352 พร้อมกับสมเด็จ ฯ เจ้าฟ้ากรมขุนกษัตรานุชิต
(10) พระองค์เจ้าหญิงสุมาลี
(11) พระองค์เจ้าชายธำรง
(12) พระองค์เจ้าชายละมั่ง ในรัชกาลที่ 3 เป็นพระยาสมบัติบาล
(13) สมเด็จฯเจ้าฟ้าชายเล็ก (แผ่นดินไหว)
(14) สมเด็จฯ เจ้าฟ้าชายทัศไภย เป็นโอรสองค์ที่ 2 ในกรมบริจาภักดีศรีสุดารักษ์ (เจ้าหญิงฉิม) ถึงรัชกาลที่ 2 เป็นพระอินทอำไพ (หรือเรียกอีกนามหนึ่งว่าพระอินทรอภัย) ถูกสำเร็จโทษใน พ.ศ. 2358 เป็นพระบิดาเจ้าจอมมารดาน้อย ต้นสกุล นพวงศ์ และสุประดิษฐ์ ณ อยุธยา
(15) พระองค์เจ้าหญิงจามจุรี
(16) พระองค์เจ้าหญิงสังวาล
(17) พระองค์เจ้าหญิงสำลีวรรณ ต้นสกุล อิศรเสนา ณ อยุธยา เป็นที่ 2 ในเจ้าจอมมารดาอำพัน (ธิดาเจ้าอุปราชจันทร์ แห่งนครศรีธรรมราช) ถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พระองค์เจ้าหญิงสำลีวรรณเป็นพระราชชายากรมพระราชวังบวร รัชกาลที่ 2 แล้วถูกสำเร็จโทษ วันพุธ เดือน 10 ขึ้น 5 ค่ำ พ.ศ. 2352 พร้อมกับสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมขุนกษัตรานุชิต
(18) สมเด็จฯ เจ้าฟ้านเรนทรราชกุมารที่ 3 ในกรมบริจาภักดีศรีสุดารักษ์ (เจ้าหญิงฉิม) ถึงรัชกาลที่ 2 เป็นพระนเรนทรราชา ดำรงพระชนม์มาถึงรัชกาลที่ 3 เป็นต้นสกุลรุ่งไพโรจน์
(19) พระองค์เจ้าชายคันธวงศ์
(20) พระองค์เจ้าชายเมฆิน
(21) พระองค์เจ้าชายอิสินธร
(22) พระองค์เจ้าหญิงประไพพักตร์ ในเจ้าจอมมารดาเงิน
(23) สมเด็จฯ เจ้าฟ้าชายสุพันธุวงศ์ ในเจ้าจอมมารดาฉิมใหญ่ ( พระราชธิดาในสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า ) ถึงรัชกาลที่ 1 กรุงรัตนโกสินทร์ เปลี่ยนพระนามว่าสมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้าอภัยธิเบศร์ แล้วได้ทรงกรมเป็นกรมขุนกษัตรานุชิต ทรงสถาปนาวัดอภัยธารามสามเสน เมื่อจะเริ่มรัชกาลที่ 2 วันพุธ เดือน 10 ขึ้น 5 ค่ำ พ.ศ. 2352 ถูกสำเร็จโทษพร้อมกับเจ้าชายที่เป็นโอรสเล็กๆ อีก 6 องค์
(24) พระองค์เจ้าชายบัว
(25) สมเด็จฯเจ้าฟ้าปัญจปาปีที่ 4 ในกรมบริจาภักดีศรีสุดารักษ์ (เจ้าหญิงฉิม) ถึงรัชกาลที่ 1 เป็นพระชายาเจ้าฟ้ากรมขุนอิศรานุรักษ์ ราชภาคิไนยของสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า
(26) เจ้าชายน้อย ( ในฐานะเป็นราชบุตรบุญธรรมแห่งพระมหาอุปราชแห่งนครศรีธรรมราช) ในเจ้าจอมมารดาเจ้าหญิงปราง ( ทูลกระหม่อมฟ้าหญิงเล็กของนครศรีธรรมราช) กนิษฐภคินีของกรมบริจาภักดีศรีสุดารักษ์ (เจ้าหญิงฉิม) ถึงรัชกาลที่ 2 เป็นเจ้าพระยานครศรีธรรมราช มีสกุลที่สืบมา คือ ณ นคร โกมารกุล จาตุรงคกุล
(27) พระองค์เจ้าชาย
(28) พระองค์เจ้าชายหนูแดง
(29) พระองค์เจ้าหญิงสุดชาตรี


7. พระเจ้าหลานเธอ 4 องค์ คือ
(1) พระเจ้านราสุริวงศ์ เจ้าผู้ครองนครศรีธรรมราช ทิวงคต พ.ศ. 2319 (มีปรากฏในพระราชพงศาวดารและหมายรับสั่ง)
(2 ) กรมขุนอนุรักษ์สงคราม พระนามเดิมว่า บุญมี เป็นเจ้ารามลักษณ์ก่อน ต่อมามีความชอบในการสงครามจึงได้ทรงกรม ถูกสำเร็จโทษ พ.ศ. 2325
(3) กรมขุนรามภูเบศร์ พระนามเดิมว่า บุญจันทร์ เป็นเจ้าบุญจันทร์ ก่อน ต่อมามีความชอบในการสงครามจึงได้ทรงกรม ถูกสำเร็จโทษ พ.ศ. 2325
(4) กรมขุนสุรินทรสงคราม (มีปรากฏในบัญชีมหาดไทย ดูประชุมพงศาวดารภาคที่ 65 หน้า 114 )

8. พระราชวงศานุวงศ์ที่ไม่ทราบระดับราชสัมพันธ์ 4 องค์ คือ
(1) ในกรมขุนอินทรพิทักษ์ สิ้นพระชนม์ก่อน พ.ศ. 2320 (มีปรากฏในหมายรับสั่ง)
(2) หม่อมเจ้าแสง สิ้นชีพตักษัยก่อน พ.ศ. 2321 (มีปรากฏในหมายรับสั่ง)
(3) หม่อมเจ้าปทุมไพจิตร (มีปรากฏในจดหมายเหตุทรงตั้งพระเจ้านครศรีธรรมราช)
(4) หม่อมเจ้านราภิเบศ (มีปรากฏในพระราชพงศาวดาร ฉบับ ชำระเรียบเรียงในรัชกาลที่ 1 คือประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 65

9. จำนวนสมาชิกเชื้อสายพระราชวงศ์กรุงธนบุรี ตั้งแต่ ชั้น 1 ถึงชั้น 8 ตามรายพระนาม และนามเท่าที่ปรากฏ(เพียงพ.ศ. 2522) มีรวม 1200 เศษ


10. สกุลสายตรง คือ
(1) สินสุข วงศ์สมเด็จพระมหาอุปราช
(2) อินทรโยธิน วงศ์สมเด็จพระมหาอุปราช
(3) พงษ์สิน วงศ์สมเด็จเจ้าฟ้าชายทัศพงศ์
(4) ศิลานนท์ วงศ์สมเด็จเจ้าฟ้าชายศิลา
(5) รุ่งไพโรจน์ วงศ์สมเด็จเจ้าฟ้าชายนเรนทรราชกุมาร
(6) ณ นคร วงศ์ เจ้าพระยานคร (เจ้าชายน้อย)
(7)โกมารกุล ณ นคร วงศ์ เจ้าพระยานคร (เจ้าชายน้อย)
(8) จาตุรงคกุล วงศ์ เจ้าพระยานคร (เจ้าชายน้อย)

11. ผู้ที่อยู่ในสกุลสายตรง ที่มีศักดิ์สูงมีจำนวนดังนี้ คือ
(1) สมเด็จพระเจ้าแผ่นดิน 1
(2) สมเด็จพระมหาอุปราช 1
(3) สมเด็จเจ้าฟ้า 11
(4) พระองค์เจ้า 16
(5) หม่อมเจ้า 17
(6) เจ้าพระยา 8
(7) พระยา 23
(8) คุณเท้า 2
(9) เจ้าจอม 37
(10) หม่อมห้าม 16
(11) คุณหญิง 14

12. สกุลที่สืบตรงทางสายหญิง คือ
(1) อิศรเสนา ณ อยุธยา
(2) ธรรมสโรช
(3) นพวงศ์ ณ อยุธยา
(4) สุประดิฐ ณ อยุธยา
(5) ศรีธวัช ณ อยุธยา
(6) วัฒนวงศ์ ณ อยุธยา
(7) รัตนโกศ
(8) ภาณุมาศ ณ อยุธยา
(9) กาญจนวิชัย ณ อยุธยา

13. สกุลเกี่ยวพันทางสายหญิง คือ
(1) อิศรากูร ณ อยุธยา
(2) ปาลกวงศ์ ณ อยุธยา
(3) เสนีวงศ์ ณ อยุธยา
(4) กุญชร ณ อยุธยา
(5) ชุมสาย ณ อยุธยา
(6) ลดาวัลย์ ณ อยุธยา
(7) สุริยกุล ณ อยุธยา
(8) แสงชูโต
(9) รัตนภาณุ
(10) วิภาตะศิลปิน
(11) ศรีเพ็ญ
(12) ศรียาภัย
(13) เทพหัสดิน ฯ อยุธยา
(14) บุนนาค
(15) บุรานนท์
(16) สุวงศ์
(17) ลักษณสุต
(18) สุขกสิกร
(19) บุรณศิริ
(20) แดงสว่าง
(21) กมลาศน์ ณ อยุธยา
(22) แสงต่าย
(23) มิตรกุล
(24) จุลดิลก
(25) สายะศิลป์
(26) พนมวัน ณ อยุธยา

14. ผู้อยู่ในสกุลอันสืบทางสายหญฺง ที่มีศักดิ์สูง คือ
(1) พระองค์เจ้า 15
(2) หม่อมเจ้า 23
(3) พระยา 3
(4) เจ้าจอม 3
(5) หม่อมห้าม 2

บัญชี ลำดับวงศ์ขุนหลวงตากนี้ ว่าเดิมพระยาราชสัมภารากร (เลื่อน ) ผู้เป็นเป็นสมาชิกในสกุลคนหนึ่ง ได้เรียบเรียบขึ้นไว้ แล้วลอกคัดกันต่อๆไป ในเชื้อสายของสกุล ได้สำเนามายังหอพระสมุดสำหรับพระนคร เมื่อปีมะเส็ง พ.ศ. 2460 ในบัญชีเชื้อวงศ์ขุนหลวงตาก ซึ่งหอพระสมุดฯได้มาว่า พระยาประชาชีพศิลา ในรัชกาลที่ 3 กับพระยาสมบัติบาล (ละมั่ง ) ในรัชกาลที่3 เป็นลูกเธอขุนหลวงตากอีก 2 คน จอมมารดาเดียวกัน ในบัญชีนั้นว่าธิดาพระยาประชาชีพศิลา (ชื่อทับ) เป็นหม่อมห้ามกรมพระ รามอิศเรศ มีหม่อมเจ้าหลายองค์ คือหม่อมเจ้าหญิงเป้า และมีธิดาอีกคนหนึ่ง (ชื่อพลับ) เป็นหม่อมห้ามของกรมหมื่นกระษัตริย์ศรีศักดิ์เดช มีหม่อมเจ้าหลายองค์ยังอยู่แต่ชั้นหลาน คือ พระยาวงศ์พงศ์พิพัฒน์ เป็นต้น ชี้แจงว่าพระยาประชาชีพศิลา หาได้เป็นลูกเธอของขุนหลวงตากไม่ เป็นแต่เป็นข้าในกรมเจ้าฟ้าเหม็น ครั้นพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานข้าไทยของเจ้าฟ้า เหม็นและ พระยาประชาชีพศิลา กับพี่น้องจึงได้มาเป็นข้าหลวงเดิมในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ถึงรัชกาลที่ 3 จึงได้เป็นขุนนาง

สาย สัมพันธ์ ราชสกุลพระเจ้าตาก กับราชวงศ์จักรี สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก และสมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท ทั้ง ๓ พระองค์ทรงเป็นวีรบุรุษไทย ทรงเป็นนักรบที่เคียงบ่าเคียงไหล่กอบกู้ อิสรภาพจากพม่ามาด้วยกัน สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชเสด็จพระราชสมภพปีขาล พ.ศ. ๒๒๗๗ ทรงแก่พระชันษากว่าพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก และสมเด็จกรมพระราชวังบวรฯ ๒ ปีและ ๙ ปีตามลำดับ เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชปราบดาภิเษกเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติแล้ว พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกขณะดำรงพระยศเป็นสมเด็จเจ้าพระยามหา กษัตริย์ศึก ได้ถวายพระราชธิดา คือสมเด็จเจ้าฟ้าหญิงฉิมใหญ่ ให้เป็นพระราชชายาในสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ซึ่งทรงประสูติพระราชโอรสคือสมเด็จเจ้าฟ้าชายสุพันธุวงศ์ และในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ได้ทรงสถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนกระษัตรานุชิต (เจ้าฟ้าเหม็น) เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติแล้ว เจ้าพระยาอภัยภูธร (น้อย) สมุหนายก ขณะเป็นที่พระยาอนุชิตราชา จางวางพระตำรวจ ได้รับหนังสือ (บัตรสนเท่ห์) ทิ้งที่ใต้ต้นแวงในลานชาลาพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท กล่าวกันว่ากาคาบมาทิ้งไว้ เนื้อความในหนังสือกล่าวโทษฟ้องว่าพระโอรสและพระธิดาของสมเด็จพระเจ้า ตากสินมหาราช คือ เจ้าฟ้ากรมขุนกระษัตรานุชิต พระองค์เจ้าหนูดำ และจอมมารดาสำลีวรรณ คบคิดกับข้าราชการหลายคนจะก่อการกบฏแย่งชิงเอาราชสมบัติ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้พระเจ้าลูกยาเธอพระองค์ใหญ่ คือพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสอบสวนได้ความเป็นสัตย์ รวมทั้งมีการพาดพิงซัดทอดข้าราชการหลายคน เช่น เจ้าพระยาพลเทพ (บุนนาค บ้านแม่ลา) พระยาเพชรปราณี (กล่อม) พระยาพระราม (ทอง) พระอินทเดช (กระต่าย) เป็นต้น รวม ๑๐ คน กับข้าในกรมเจ้าฟ้ากรมขุนกระษัตรานุชิตอีก ๓๐ คน รวม ๔๐ คน พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงโปรดให้ถอดยศเจ้าฟ้ากรมขุนกระษัตรานุ ชิต เป็นหม่อมเหม็นแล้วสำเร็จโทษด้วยท่อนจันทน์ที่วัดปทุมคงคา ส่วนพระองค์เจ้าหนูดำ พระองค์เจ้าหญิงสำลีวรรณและข้าราชการที่สมรู้ร่วมคิดนั้นทรงโปรดให้ลงโทษ ด้วยการตัดศีรษะเสียทั้งสิ้น ส่วนโอรสของเจ้าฟ้ากรมขุนกระษัตรานุชิตหรือหม่อมเหม็นจำนวน ๖ องค์นั้นทรงโปรดให้ใส่เรือไปถ่วงน้ำเสียทั้งหมดที่ปากน้ำเจ้าพระยา จอมมารดาสำลีวรรณ พระองค์เจ้าหญิงสำลีวรรณ หรือจอมมารดาสำลีวรรณ ท่านเป็นพระชายาในสมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์ พระอนุชาธิราชแห่งองค์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ส่วนสมเด็จเจ้าฟ้าฉิมใหญ่นั้นสิ้นพระชนม์ในช่วงรัชสมัยสมเด็จพระเจ้า ตากสินมหาราช สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชเสด็จครองสิริราชสมบัติอยู่ ๑๕ ปี ทรงมีพระโอรสและพระธิดาทั้งสิ้น ๒๙ พระองค์ ช่วงปลายรัชสมัยของพระองค์บ้านเมืองเป็นจลาจล สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกได้เข้าทำการสงบระงับเหตุจลาจล และสำเร็จโทษสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระปฐมกษัตริย์แห่งพระราชวงศ์จักรี ครั้งนี้สมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนอินทรพิทักษ์ที่พระมหาอุปราช และสมเด็จเจ้าฟ้าชายน้อย พระราชโอรสพระองค์แรกและพระองค์ที่สองแห่งสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชยอมพลี พระชนมชีพให้สำเร็จโทษตามพระราชบิดา ด้วยไม่ยอมเป็นข้าของแผ่นดินใหม่ สมเด็จพระอัครมเหสี กรมหลวงบาทบริจา (สอน) ถูดลดพระยศเป็น "หม่อมสอน" รวมทั้งพระโอรสและพระธิดาชั้นพระองค์เจ้าถูกลดพระยศ แต่ก็ยังเป็นที่เคารพรักของราษฎรและผูกพันกับเจ้านายในพระราชวงศ์จักรีและ ผูกสายสัมพันธ์ทางการสมรสกับเจ้านายผู้ทรงเป็นต้นราชสกุลหลายพระองค์ และมีสายสืบราชสกุลมาจนทุกวันนี้ พระองค์เจ้าหญิงสำลีวรรณเป็นพระธิดาพระองค์ที่ ๘ ของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาอำพัน ธิดาคนเดียวของอุปราชจันทร์เมืองนครศรีธรรมราช เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงตีเมืองนครศรีธรรมราชได้ทรงโปรดให้เจ้า เมืองนครศรีธรรมราช (หนู) และอุปราชจันทร์เข้ามารับราชการในกรุงธนบุรี จนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ท่านได้รับราชการในกรมคชบาลเป็นที่พระยาราชวังเมือง แล้วได้เป็นเจ้าเมืองถลาง และได้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นเจ้าพระยาสุรินทราชา และภายหลังเจ้าพระยามหาเสนา (ปลี) สมุหพระกลาโหม ถึงแก่อสัญกรรม ทรงมีพระราชประสงค์จะให้เจ้าพระยาสุรินทราชาเข้ามาเป็นสมุหพระกลาโหมแทน แต่เจ้าพระยาสุรินทราชาขอรับราชการเป็นเจ้าเมืองถลางต่อไปด้วยอายุมากแล้ว ท่านเป็นต้นสกุล "จันทโรจนวงศ์" พระองค์เจ้าสำลีวรรณทรงเสกสมรสกับสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์ พระมหาอุปราชในรัชกาลที่ ๒ แต่ครั้งยังดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงเสนานุรักษ์ พระองค์เจ้าสำลีวรรณประสูติพระราชโอรสและพระราชธิดา ๖ พระองค์ ประกอบด้วย ๑. พระองค์ชายใหญ่ สิ้นพระชนม์แต่ทรงพระเยาว์ ๒. พระองค์เจ้าหญิงประชุมวงศ์ ๓. พระองค์เจ้าหญิงนัดดา ๔. พระองค์เจ้าหญิงขนิษฐา ๕. พระองค์เจ้าชายพงศ์อิศเรศ ๖. พระองค์เจ้าหญิงนฤนล กรมหมื่นกษัตริย์ศรีศักดิเดช พระองค์เจ้าชายพงศ์อิศเรศ เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ ๘ ในสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์ ประสูติเมื่อเดือนพฤศจิกายน ปีวอก พ.ศ. ๒๓๔๓ ทรงเป็นพระราชโอรสที่สมเด็จพระราชบิดาโปรดปรานยิ่งนักด้วยทรงเป็น "หลานปู่" ของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก และทรงเป็น "หลานตา" ของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงเป็นเจ้านายฝ่ายหน้าพระองค์เดียวที่เป็นพระราชนัดดาของสมเด็จพระเจ้าอยู่ หัวทั้งสองพระองค์ข้างต้น ถึงปีจอ พ.ศ. ๒๔๐๕ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาให้สถาปนาพระองค์เจ้าพงศ์อิศ เรศเป็นพระเจ้าราชวงศ์เธอ กรมหมื่นกษัตริย์ศรีศักดิเดช ซึ่งทรงเป็นต้นราชสกุลอิศรเสนา ณ อยุธยา ชายาของพระเจ้าราชวงศ์เธอ กรมหมื่นกษัตริย์ศรีศักดิ์เดช คือ คุณหญิงพลับ ธิดาสมเด็จเจ้าฟ้าชายศิลา พระราชโอรสพระองค์ที่ ๘ ของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช คุณหญิงพลับประสูติพระโอรส ๓ พระองค์ คือ หม่อมเจ้ากระจ่างอิศรเสนา หม่อมเจ้าจันตรี อิศรเสนา และหม่อมเจ้าเสาวรส อิศรเสนา หม่อมเจ้าเสาวรสเป็นบิดาของเจ้าพระยาวรพงษ์พิพัฒน์ (หม่อมราชวงศ์เย็น อิศรเสนา) เสนาบดีกระทรวงวังในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระเจ้าราชวงศ์เธอกรมหมื่นกษัตริย์ศรีศักดิเดชสิ้นพระชนม์เมื่อเดือน ๘ ปีจอ พ.ศ. ๒๔๑๗ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ ขณะพระชันษาได้ ๗๕ ปี สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงปัญจวาปี พระธิดาในสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชอีกพระองต์หนึ่งที่ทรงมีสายสัมพันธ์ทาง การสมรสกับเจ้านายฝ่ายหน้าในพระราชวงศ์จักรีคือ สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงปัญจปาปี พระธิดาพระองค์ที่ ๑๑ ได้ทรงเสกสมรสกับสมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนอิศรานุรักษ์ พระโอรสในสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์ ซึ่งเป็นพระน้องนางในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก และเจ้าขรัวเงิน สมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนอิศรานุรักษ์ทรงรับราชการกำกับกรมมหาดไทยในรัชสมัยพระ บาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงเป็นต้นราชสกุลอิศรางกูร ณ อยุธยา สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงปัญจปาปีประสูติพระโอรสพระธิดา ๕ พระองค์ประกอบด้วย หม่อมเจ้าใหญ่ หม่อมเจ้ากลาง หม่อมเจ้าหญิงศรีฟ้า หม่อมเจ้าสุนทรา และหม่อมเจ้าหญิงรสสุคนธ์ พระพงษ์นรินทร์-พระอินทร์อภัย พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงมีความเคารพรักในสมเด็จพระเจ้า ตากสินมหาราช เมื่อเหตุการณ์บ้านเมืองสงบเรียบร้อยแล้วทรงโปรดให้ขุดพระศพของสมเด็จพระ เจ้าตากสินมหาราชขึ้นมาถวายพระเพลิงที่วัดบางยี่เรือ พระองค์พร้อมสมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาททรงฉลองพระองค์พระภูษาขาว อันเป็นการถวายความเคารพและถวายพระเกียรติแด่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช อย่างยิ่ง ในส่วนของพระโอรสและพระธิดาแห่งองค์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ก็ทรงให้ความเมตตาชุบเลี้ยงและให้รับราชการในตำแหน่งต่างๆ ทรงโปรดให้สมเด็จเจ้าฟ้าทัศพงศ์ และสมเด็จเจ้าฟ้าชายทัศไภยเป็นที่ "พระพงษ์นรินทร์" และ "พระอินทร์อภัย" ที่หม่อมราชนิกุลรับราชการในราชสำนักเนื่องด้วยพระโอรสทั้งสองมีความรู้ทาง การแพทย์ และมีตำแหน่งเข้าเฝ้าต่อจากเสนาบดี และด้วยหน้าที่ทางการแพทย์ที่มีความสนิทคุ้นเคยและเข้านอกออกในได้ ทำให้พระอินทร์อภัยมีสัมพันธ์สวาทกับเจ้าจอมในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า นภาลัย ความทราบถึงพระกรรณทรงโปรดให้ไตร่สวนได้ความเป็นสัตย์ จึงโปรดให้ประหารชีวิตเสียทั้งพระอินทร์อภัยและเจ้าจอม เหตุเกิดเดือน ๑๐ ปีวอก พ.ศ. ๒๓๕๕ เจ้าจอมมารดาน้อย ธิดาคนที่สองของพระอินทร์อภัยคือ คุณหญิงน้อย หรือเจ้าจอมมารดาน้อย ได้เป็นหม่อมของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะดำรงพระยศเป็นสมเด็จเจ้าฟ้ามงกุฎ ประสูติพระราชโอรส ๒ พระองค์ คือ พระองค์เจ้านพวงศ์ กรมหมื่นมเหศวรศิววิลาส องค์ต้นราชสกุลนพวงศ์ ณ อยุธยา และพระองค์เจ้าสุประดิษฐ์ กรมหมื่นวิษณุนาถนิภาธร องค์ต้นราชสกุลสุประดิษฐ์ ณ อยุธยา ปีวอก พ.ศ. ๒๓๖๗ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงโปรดให้สมเด็จเจ้าฟ้ามงกุฎเสด็จทรง ผนวช ซึ่งขณะนั้นพระองค์เจ้านพวงศ์และพระองค์เจ้าสุประดิษฐ์มีพระชันษาได้ ๒ ปีและ ๒ เดือนตามลำดับ ระหว่างที่ทรงผนวชอยู่พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย สมเด็จพระบรมชนกนาถเสด็จสวรรคตโดยมิได้ทรงมอบราชสมบัติแก่เจ้านายพระองค์ใด ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่และพระบรมวงศานุวงศ์ได้ถวายสิริราชสมบัติแด่พระเจ้าลูก ยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์เป็นรัชกาลที่ ๓ แห่งพระราชวงศ์จักรี สมเด็จเจ้าฟ้ามงกุฎจึงครองสมณเพศต่อมาตลอด ๒๗ ปี ช่วงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เจ้าจอมมารดาน้อยได้อาศัยอยู่กับพระพงษ์นรินทร์ผู้เป็นลุงและเลี้ยงดู พระองค์เจ้านพวงศ์ ส่วนพระองค์เจ้าสุประดิษฐ์นั้น สมเด็จเจ้าฟ้าจุฑามณี พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวซึ่งประทับอยู่ ณ พระราชวังเดิมธนบุรีทรงเป็นผู้ชุบเลี้ยงให้การอุปถัมภ์ เจ้าจอมมารดาน้อยเป็นสตรีผู้น่าสงสาร เนื่องด้วยสมเด็จพระอัยกาคือพระเจ้าตากสินมหาราชก็ถูกสำเร็จโทษ พระบิดาคือสมเด็จเจ้าฟ้าชายทัศไภยหรือพระอินทร์อภัยก็ถูกประหารชีวิต ชีวิตส่วนตัวก็ตกระกำลำบาก เพราะพระสวามีเสด็จทรงผนวชอยู่ถึง ๒๗ พรรษา เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จครองราชแล้วก็ไม่โปรด และไม่ยกย่องเจ้าจอมมารดาน้อยเป็นพิเศษแต่ประการใด เจ้าจอมมารดาจึงมีพฤติกรรมการแสดงออกแปลกๆ ซึ่งอาจจะเป็นการเรียกร้องความสนใจก็ได้ ครั้งหนึ่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จด้วยกระบวนเรือจากตำหนัก น้ำถึงวัดเขมาตลาดแก้วมีเรือเก๋งลำหนึ่งพายตามขึ้นมาแข่งกับเรือพระที่นั่ง เจ้าหมื่นสรรเพธภักดี (เจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธำรง เพ็ง) ร้องถามก็ไม่บอก บ่าวผู้หญิงในเรือเก๋งนั้นพากันหัวเราะเยาะ ปรากฏว่าเรือเก๋งลำนั้นเป็นของเจ้าจอมมารดาน้อยซึ่ง "มาทำหน้าที่เป็นเล่นตัว ล้อข้าต่อหน้าทาสกำนัลน่าชังหนักหนา" เมื่อเจ้าจอมมารดาน้อยถึงแก่อนิจกรรม พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดให้พระราชทานเพลิงศพที่สวนท้าย วังของพระเจ้าลูกเธอกรมหมื่นวิษณุนารถนิภาธร เมื่อเสร็จงานศพเจ้าจอมมารดาน้อยแล้ว กรมหมื่นวิษณุนารถนิภาธรจึงทรงกะการสร้างวัดขึ้นบริเวณสวนท้ายวังที่เป็นที่ ปลงศพเจ้าจอมมารดาน้อย วิธีการที่พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นวิษณุนารถนิภาธรทรงกะการสร้างวัด คือทรงโปรยเงินไปทั่วบริเวณพื้นที่ที่ทรงกำหนดว่าเป็นที่สร้างวัดแล้วโปรด ให้บ่าวไพร่ในพระองค์พากันแผ้วถางต้นไม้ใบหญ้าเพื่อเก็บเอาเงินนั้น ซึ่งก็คือวิธีการจ่ายค่าแรงของพระองค์นั่นเอง การสร้างวัดยังไม่แล้วเสร็จพระเจ้าลูกเธอกรมหมื่นวิษณุนารถนิภาธรสิ้นพระ ชนม์ลงเมื่อปีจอ พ.ศ. ๒๔๐๕ พระชันษาเพียง ๓๘ ปี พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดให้พระเจ้าลูกเธอกรมหมื่นมเหศวร ศิววิลาศทรงสร้างวัดต่อ แต่กรมหมื่นมเหศวรศิววิลาศก็สิ้นพระชนม์ลงไปอีกเมื่อปีเถาะ พ.ศ. ๒๔๑๐ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงรับเอาการสร้างวัดนั้นมาดำเนินการ ต่อ โดยทรงโปรดให้พระยาราชสงครามเป็นแม่กองก่อสร้างต่อจนแล้วเสร็จจึงพระราชทาน นามวัดว่า "วัดตรีทศเทพ" ซึ่งมีความหมายว่า "เทวดาสามนายสร้าง" แล้วโปรดให้แห่พระครูจุลานุนายก (คง) พระครูปลัดซ้ายฐานานุกรมของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์จากวัดบวรนิเวศวิหารมาครองวัดตรีทศเทพเป็นเจ้า อาวาสองค์แรก กรมหมื่นมเหศวรศิววิลาส กรมหมื่นวิษณุนาถนิภาธร พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นมเหศวรศิววิลาส เมื่อแรกประสูติมีพระยศเป็นหม่อมเจ้า พระนามว่าหม่อมเจ้านพวงศ์ หรือนภวงศ์ เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นครองราชย์แล้วโปรดให้ เลื่อนพระยศเป็นพระองค์เจ้ามีพระนามตามพระสุพรรณบัฏว่า "พระองค์เจ้านพวงศ์ วรองค์เอกอรรคมหามกุฎ ปรมุตมราโชรส" และได้รับสถาปนาเป็นพระองค์เจ้าต่างกรม มีพระนามว่า "พระเจ้าลูกเธอ กรมหมื่นมเหศวรศิววิลาส" ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวมิได้รับราชการใดๆ แต่มาถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบรมชนกนาถได้ทรงเป็นผู้กำกับกองทหารล้อมวัง และเช่นเดียวกัน พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นวิษณุนาถนิภาธร เมื่อแรกประสูติมีพระยศเป็นหม่อมเจ้าสุประดิษฐ์ เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จครองราชย์แล้วทรงโปรดให้ เลื่อนพระยศเป็น "พระองค์เจ้าสุประดิษฐ์ วรฤทธิราชมหามกุฎ บุรุษยรัตนราชวโรรส" และเป็นพระองค์เจ้าต่างกรมทรงพระนามว่า พระเจ้าลูกเธอกรมหมื่นวิษณุนาถนิภาธร ซึ่งได้ทรงกำกับราชการกรมพระคลังสมบัติ และได้ทรงเสด็จไปศึกษาดูงานการปกครองและการพัฒนาบ้านเมืองยังสิงคโปร์ โดยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาให้เสด็จไปดูงานพร้อม สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ซึ่งในขณะนั้นท่านมีบรรดาศักดิ์เป็นเจ้าพระยา พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นวิษณุนารถนิภาธรจึงเป็นเจ้านายชั้นพระราชโอรสพระองค์แรกที่เสด็จไป ศึกษาดูงานยังต่างประเทศ พระนัดดาในสมเด็จพระเจ้าตากสิน พระนัดดาของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชที่รับราชการเป็นเจ้าจอมมารดาในพระบาท สมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว คือธิดาของเจ้าพระยานคร (น้อย) ซึ่งท่านถวายธิดาเกือบทุกคนเป็นบาทบริจาริกาในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทั้งสอง พระองค์ ธิดาคนโต คือ เจ้าจอมมารดาน้อยใหญ่ เป็นเจ้าจอมมารดาในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติพระราชโอรส คือ พระองค์เจ้าเฉลิมวงศ์ ธิดาคนที่ ๑๓ คือ เจ้าจอมมารดาบัวในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติพระราชโอรส พระราชธิดา ประกอบด้วย ๑. พระองค์เจ้าเฉลิมลักษณเลิศ สิ้นพระชนม์แต่ยังทรงพระเยาว์ ๒. กรมขุนสิริธัชสังกาศ ต้นราชสกุลศรีธวัช ณ อยุธยา ๓. พระองค์เจ้าหญิงอรไทยเทพกัญญา ๔. กรมขุนมรุพงศ์สิริพัฒน์ ต้นราชสกุลวัฒนวงศ์ ณ อยุธยา ๕. พระองค์เจ้าดำรงฤทธิ์ สิ้นพระชนม์แต่ยังทรงพระเยาว์ กุลสตรีซึ่งเป็นพระนัดดาของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชหลายท่านได้เป็นชายา และหม่อมของเจ้านายฝ่ายหน้าแห่งพระราชวงศ์จักรี ๑. คุณหญิงแสง ธิดาคนโตของพระองค์เจ้าอัมพวัน พระราชโอรสพระองค์ที่ ๓ ของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ได้เป็นชายาของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ ชั้น ๒ กรมพระพิทักษ์เทเวศร์ ต้นราชสกุลกุญชร ณ อยุธยา กรมพระพิทักษ์เทเวศร์ทรงเป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ ๒๒ ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงรับราชการกำกับกรมม้าและได้รับทรงกรมเป็นกรมหมื่นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ครั้นถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดให้เลื่อนพระยศ เป็นกรมพระและได้กำกับกรมพระคชบาลอีกตำแหน่งหนึ่ง กรมพระพิทักษ์เทเวศร์เป็นผู้สร้างวังบ้านหม้อขึ้นที่บริเวณคูเมืองด้านตะวัน ออก ซึ่งที่ตั้งในปัจจุบันคือถนนอัษฎางค์ตรงข้ามกรมการรักษาดินแดน วังบ้าน หม้อเป็นสถาปัตยกรรมที่สร้างขึ้นในกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น เป็นรูปแบบสถาปัตยกรรมที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งนอกเหนือจากพระบรมมหาราชวัง และพระราชวังบวรสถานมงคล ส่วนที่ยังปรากฏที่เป็นเอกลักษณ์คือ ท้องพระโรงซึ่งถือเป็นแบบฉบับท้องพระโรงของวังเจ้านายระดับพระองค์เจ้า คุณหญิงแสงประสูติโอรสและธิดาคือ หม่อมเจ้าหญิงลมุน กุญชร และหม่อมเจ้าสิงหนาท กุญชร ซึ่งเป็นพระโอรสองค์ใหญ่ของกรมพระพิทักษ์เทเวศร์ หม่อมเจ้าสิงหนาทได้รับราชการในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่ หัว ได้ทรงบัญชาการกรมพระอัศวราช กรมมหรสพ และได้รับสถาปนาขึ้นเป็นพระองค์เจ้ามีพระนามว่าพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสิงหนาทราชดุรงคฤทธิ์ พระองค์เป็นพระบิดาของเจ้าพระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์ (หม่อมราชวงศ์หลาน กุญชร) ผู้บัญชาการกรมม้า และกรมมหรสพ ท่านเป็นเสนาบดีกระทรวงโยธาธิการและกระทรวงเกษตราธิการตามลำดับ ท่านถึงแก่อสัญกรรมเมื่อปีจอ พ.ศ. ๒๔๖๕ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ๒. คุณหญิงพึ่ง ธิดาคนที่ ๔ ของพระองค์เจ้าอัมพวันได้เป็นชายาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนราชสีหวิกรม พระราชโอรสพระองค์ที่ ๒๑ ในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระยศเดิมคือ พระองค์เจ้าชุมสาย ทรงประทับทรงงานที่วังท่าพระ ทรงเป็นเจ้านายที่มีพระนิสัยดุ เอาจริงเอาจังกับหน้าที่ราชการได้ทรงรับราชการสนองพระเดชพระคุณสมเด็จพระบรม ชนกนาถ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อมาจนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระอัธยาศัยเช่นเดียวกับพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว คือ โปรดงานก่อสร้างขนาดใหญ่ที่ไม่เน้นรายละเอียดวิจิตรตระการตามากนัก ทรงมีความสามารถในการคำนวณตามแบบสถาปัตยกรรมไทยได้ทรงกำกับราชการกรมช่าง ศิลาและกรมช่างสิบหมู่ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนราชสิงหวิกรมทรงเป็นต้นราชสกุลชุมสาย ณ อยุธยา สิ้นพระชนม์เมื่อปีมะโรง พ.ศ. ๒๔๑๑ ๓. คุณหญิงพลับ ธิดาของสมเด็จเจ้าฟ้าทัศพงษ์ หรือพระพงษ์นรินทร์ได้เป็นหม่อมห้ามของพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหมื่นภูมินทร ภักดี พระราชโอรสพระองค์ที่ ๑๕ ในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงรับราชการกรมช่างสิบหมู่ คุณหญิงพลับมีโอรส ๓ พระองค์ คือ หม่อมเจ้าสารภี ลดาวัลย์ หม่อมเจ้าชาย ลดาวัลย์ และหม่อมเจ้าเผือก ลดาวัลย์ เมื่อทรงพระชราภาพพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหมื่นภูมินทร์ภักดี ทรงประชวร ดวงพระเนตรเป็นต้อ ทอดพระเนตรไม่เห็น และในครั้งนั้นเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ มหาโกษาธิบดี (ขำ บุนนาค) ก็ป่วยเป็นโรคตา เช่นเดียวกันพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดให้ติดต่อแพทย์ตะวันตกเข้ามาผ่าตัดตาของเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ มหาโกษาธิบดี และโปรดให้ผ่าตัดพระเนตรของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นภูมินทรภักดี จนสายพระเนตรหายเป็นปกติ และได้ฉายพระรูปมอบให้แพทย์ฝรั่งเป็นที่ระลึกด้วย พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นภูมินทรภักดีสิ้นพระชนม์เมื่อปีจอ พ.ศ. ๒๔๑๗ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ๔. คุณหญิงทับ ธิดาของสมเด็จเจ้าฟ้าศิลา พระราชโอรสพระองค์ที่ ๘ ของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้เป็นหม่อมของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระรามอิศเรศ พระราชโอรสพระองค์ที่ ๒๒ ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ซึ่งได้รับราชการศาลรับสั่งและความฎีกา ทรงเป็นต้นราชสกุลสุริยกุล ณ อยุธยา นอกจากการรับราชการฝ่ายในเป็นเจ้าจอมมารดาหรือบาทบริจาริกาในพระบาทสมเด็จ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือเป็นหม่อมในเจ้านายฝ่ายหน้าแห่งพระราชวงศ์จักรีแล้ว กุลสตรีแห่งสกุลวงศ์พระเจ้ากรุงธนบุรีหลายท่านได้รับราชการใกล้ชิดพระราช สำนัก เช่น คุณหญิงจั่น และคุณหญิงขาว ธิดาของสมเด็จเจ้าฟ้าชายทัศนพงศ์ คุณหญิงจั่นเป็นพระนมของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เรียกกันทั่วไปว่า "พระนมจั่น" ซึ่งเป็นพระนมที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงให้ความเคารพรัก ส่วนคุณหญิงขาวเป็นพระนมของสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระจักรพรรดิพงศ์ สมเด็จพระอนุชาร่วมพระครรภ์กับพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

วันอาทิตย์ที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2555

ธรรมชาติลี้ลับ 1 เรื่อง ผี จานบิน ปิรามิด





















บั้งไฟพญานาค หรือ บั้งไฟผี เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่ยังไม่สามารถหาคำอธิบายที่ชัดเจนได้ โดยมีลักษณะเป็นลูกไฟสีชมพู ไม่มีกลิ่น ไม่มีควัน ไม่มีเสียง พุ่งขึ้นเหนือลำน้ำโขง มีตั้งแต่ระดับ 1-30 เมตร แล้วพุ่งขึ้นไปในอากาศสูงประมาณ 50-150 เมตร เป็นเวลาประมาณ 5-10 วินาที โดยจะเกิดปีละ 1 ครั้งเท่านั้น ในช่วงวันออกพรรษา หรือ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ตามปฏิทินลาว ซึ่งอาจตรงกับวันแรม 1 ค่ำ หรือ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ของไทย โดยแต่ละปีจะปรากฏขึ้นประมาณ 3-7 วัน
มากกว่า 90% ของจำนวนลูกบั้งไฟพญานาคในแต่ละปี จะพบที่จังหวัดหนองคาย หน้าวัดไทย และบ้านน้ำเป อำเภอโพนพิสัย วัดอาฮง อำเภอบึงกาฬ วัดหินหมากเป้ง และอ่างปลาบึก อำเภอสังคม
ผู้ศึกษาปรากฏการณ์บั้งไฟพญานาคหลายกลุ่ม พยายามอธิบายที่มาของปรากฏการณ์นี้ด้วยหลักการทางวิทยาศาสตร์ เช่น คาดว่าอาจจะเป็นก๊าซมีเทน-ไนโตรเจน หรือ ฟอสฟอรัส ที่เกิดจากการย่อยสลายของซากพืชซากสัตว์ใต้น้ำ
นอกจากประเทศไทยแล้ว ที่อื่น ๆ ในโลกก็มีรายงานการพบปรากฏการณ์ลักษณะเดียวกันนี้เช่นกัน เช่นที่ มลรัฐมิสซูรี และ มลรัฐเท็กซัส ของสหรัฐอเมริกา โดยเรียกกันว่า แสงมาร์ฟา (Marfa lights) นอกจากนี้ยังพบที่เมืองเจดด้าห์ ประเทศซาอุดิอาระเบีย ริมฝั่งทะเลแดง
พญานาค นอกจากปรากฏในรูปของบั้งไฟพญานาคแล้ว ยังมีหลักฐาน ร่องรอยและเรื่องเล่าต่างๆ อย่างเช่น บุญจันทร์ คำมุงคุณ ผู้ใหญ่บ้านและประธานโฮมสเตย์บ้านน้ำเป กิ่งอำเภอรัตนภูมิ จังหวัดหนองคาย เล่าให้ฟังว่า ขณะที่กำลังลงเรือหาปลาอยู่ในบริเวณปากห้วยน้ำเปตอนประมาณสองทุ่ม ก็เห็นสัตว์ชนิดหนึ่ง มีลักษณะคล้ายงูอยู่ในน้ำ คือตรงส่วนหัวนั้นไม่เหมือนงูทั่วๆ ไป คือมีลักษณะคล้ายหงอน และดวงตามีขนาดเท่าไข่ไก่เห็นเป็นสีแดง งูนั้นมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 20 เซนติเมตร
การเกิดบั้งไฟพญานาค ลูกไฟจะเอนเข้าหาฝั่ง หากขึ้นกลางแม่น้ำโขง แต่หากขึ้นริมฝั่ง ลูกไฟจะเอนออกไปกลางโขง ลักษณะเป็นดวงไฟขนาดเล็กเท่าหัวแม่มือ ไปจนถึงขนาดเท่าไข่ห่านหรือผลส้ม มีสีแดงอมชมพูออกสีบานเย็น หรือสีแดงทับทิม ไม่มีควัน ไม่มีเขม่า ไม่มีเปลว ไม่มีเสียง ไม่มีกลิ่น
โดยบั้งไฟพญานาคจะเริ่มปรากฏจากเหนือผิวน้ำ ตั้งแต่ระดับ 1-30 เมตร พุ่งสูงขึ้นไปประมาณระดับ 50-150 เมตร เป็นเวลาประมาณ 5-10 วินาที แล้วจะดับหายวับไปในอากาศ ทั้งๆ ที่ดวงไฟยังโตอยู่ มิได้หรี่เล็กลงแล้วค่อยๆ ดับ และไม่มีลักษณะโค้งตกลงมาเหมือนดอกไม้ไฟ ซึ่งปรากฏการณ์การเกิดบั้งไฟพญานาคนี้ได้มีนักวิทยาศาสตร์ศึกษาวิจัยหลายต่อหลายท่าน แต่ก็ยังไม่พบข้อสรุปที่ชัดเจน
ปรากฏการณ์บั้งไฟพญานาค ณ วันนี้ยังไม่มีใครพิสูจน์ได้อย่างชัดแจ้งว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร แต่ก็มีทฤษฎีและข้อสมมติฐานอยู่หลายทฤษฏี เช่น
นพ.มนัส กนกศิลป์ แห่งโรงพยาบาลหนองคาย อธิบายว่า บั้งไฟพญานาค เกิดจากก๊าซร้อน คือ ก๊าซที่มีส่วนผสมของก๊าซมีเทนและก๊าซไนโตรเจน เป็นส่วนผสมสำคัญ ซึ่งก๊าซร้อนชนิดนี้ ก็คือก๊าซชีวภาพที่ระเบิดจากหล่มอินทรียวัตถุใต้ท้องน้ำหรือในดินที่เปียก โดยมีแบคทีเรียกลุ่มมีเทนฟอร์มเมอร์ซึ่งดำรงชีวิตได้ในสภาพไร้ออกซิเจนเท่านั้น ณ ความลึกของแม่น้ำโขงและแหล่งน้ำข้างเคียง เป็นตัวช่วยผลิตก๊าซ แต่ก็ต้องใช้เวลาหลายชั่วโมง หลังจากนั้นก็จะได้ก๊าชมีเทนในปริมาณมากพอที่จะก่อให้เกิดความดันก๊าชในผิวทรายอย่างน้อย 1.45 เท่า ของความดันบรรยากาศ เมื่อไปเจอความกดดันของน้ำ ความกดดันของอากาศในตอนพลบค่ำ หล่มทรายก็จะไม่สามารถรับแรงดันได้ ก๊าซจะหลุดออกมาและพุ่งขึ้นเมื่อโผล่พ้นน้ำ และมีการฟุ้งกระจายไปบางส่วน โดยเหลือแกนในของก๊าซซึ่งลอยตัวขึ้นสูง เมื่อไปกระทบกับอนุภาพออกซิเจนอะตอมที่มีประจุ ที่มีพลังงานสูง ก็จะเกิดการสันดาปอย่างรวดเร็ว กลายเป็นดวงไฟหลายสี แต่ 95% จะเป็นดวงไฟสีแดงอำพัน พุ่งขึ้นสู่ท้องฟ้าแล้วก็หายไป และทุกตำแหน่งที่เกิดบั้งไฟพญานาคจะอยู่ในระดับ 5-13 เมตรทั้งสิ้น
นอกจากนี้ยังพบอีกว่าความเป็นกรดและด่างของน้ำในแม่น้ำโขงก็จะสอดคล้องกับระบบนิเวศน์ที่จะเกิดการหมักก๊าซมีเทน ซึ่งคุณหมอได้เคยไปวางทุ่นดักก๊าซในแม่น้ำโขง และค้นพบว่าก๊าซที่ดักได้ในแม่น้ำโขงสามารถนำไปจุดติดไฟ จะเกิดการพุ่งวูบขึ้นมีสีออกเป็นแดงอมชมพู ส่วนคำถามที่ว่าทำไมบั้งไฟพญานาคถึงเกิดขึ้นในคืนวันออกพรรษา คุณหมอมนัสบอกว่าในคืนวันนั้นจะมีอ็อกซิเจน ก๊าซที่ช่วยให้ติดไฟสูงสุดในรอบปี ซึ่งก็เกิดจากอิทธิพลของแรงโน้มถ่วงพลังงานรังสีของดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์และโลก
ส่วนอีกสมมติฐานนึงคือ เกิดจากการกระทำของมนุษย์เอง โดยสมชาติ วิทยารุ่งเรือง ปริญญาวิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต ได้หาวิธีการทำบั้งไฟพญานาคในแบบฉบับของเขามาได้ 8 วิธี โดยนพ.มนัส กนกศิลป์ ได้ออกมาถึงเหตุผลที่ว่า บั้งไฟพญานาคไม่น่าที่จะเกิดจากน้ำมือของมนุษย์ ได้ตั้งข้อสมมติฐานแย้งเช่น
  • คนที่กระทำต้องแข็งแรงมากเพราะกระแสน้ำมันแรงมาก ในขณะที่คนธรรมดากอดเสาอยู่ในน้ำยังทรงตัวไม่อยู่
  • นพ.มนัส กนกศิลป์ ได้เริ่มศึกษาเมื่อปี 2522 ก็มีบั้งไฟพญานาคขึ้นมาแล้ว 120 ปี ซึ่งจริง ๆ แล้ว ต้องเกิดขึ้นนานกว่านี้อีก เนื่องจากคนที่ทำคนนี้ต้องมีอายุมากกว่า 104 ปีแล้วต้องทำด้วยตัวเองจึงตัวเองจึงจะคุมความลับได้
  • การเกิดของบั้งไฟ เกิดขึ้น 52 ตำแหน่งประมาณ 1,500 – 2,500 ลูก คนที่ทำต้องมีเงินจ้างคนไปประดาน้ำทำเรื่องนี้
  • ทานกระแสน้ำที่ลึกมากและกลัวที่จะโดนเอ็ม 16 ของหน่วย นปข.ซึ่งเขาก็บอกอีกว่ามันขึ้นเฉียดเรือเขาเลยเป็นต้น
การชมบั้งไฟพญานาคนั้นนอกจากจะรู้วันแล้ว ยังต้องรู้เวลา รู้สถานที่ ที่มีแนวโน้มการเกิดบั้งไฟพญานาคอีกด้วย ตำแหน่งที่บั้งไฟพญานาคมักจะปรากฏให้เห็นว่า ทั่วทั้ง จ.หนองคาย มีอยู่ทั้งหมดประมาณ 20 จุด โดยในจ.หนองคายเกิดขึ้นหลายจุด แต่จุดที่เกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี มีผู้พบเห็นบ่อยครั้งเริ่มจากที่ อ.สังคม บริเวณ "อ่างปลาบึก" บ้านผาตั้ง บริเวณหน้าที่ว่าการอำเภอสังคม ต่อมาที่บริเวณ "วัดหินหมากเป้ง" อ.ศรีเชียงใหม่
ถัดจากนั้นก็จะพบในเขตอำเภอเมืองบ้านหินโงม ต.หินโงม อ.เมือง หน้าสถานีตำรวจภูธรตำบลบ้านเดื่อ ต.บ้านเดื่อ อ.เมือง พอเข้าสู่เขต อ.โพนพิสัยก็จะพบแทบจะตลอดลำน้ำโขง ตั้งแต่ปากห้วยหลวง ต.ห้วยหลวง อ.โพนพิสัย ในเขตเทศบาล ต.จุมพล หน้าวัดไทย วัดจุมพล วัดจอมนาง หนองสรวง เวินพระสุก ท่าทรายรวมโชค ต.กุดบง บ้านหนองกุ้ง ซึ่งที่ อ.โพนพิสัยจะพบมากที่สุด แล้วมาพบอีก ที่กิ่งอ.รัตนวาปี บริเวณ ปากห้วยเป บ้านน้ำเป วัดเปงจาเหนือ บ้านหนองแก้ว ในเขตอ.ปากคาด บ้านปากคาดมวลชล ห้วยคาด อ.ปากคาด และที่ อ.บึงกาฬ บริเวณวัดอาฮง ตำบลหอคำ อ.บึงกาฬ ซึ่งเป็นจุดที่ชาวหนองคายเชื่อกันว่าเป็นสะดือแม่น้ำโขง เป็นเมืองหลวงของเมืองบาดาล ก็ปรากฏบั้งไฟพญานาคให้เห็นเช่นกัน
ทางด้านจังหวัดอุบลราชธานี มีชาวบ้านพบเห็นมา 2-3 ปี แล้วและทางอ.โขงเจียมก็ได้พิสูจน์มาแล้วว่ามีจริง โดยการเข้าชมปรากฏการณ์บั้งไฟพญานาค อ.โขงเจียมปีนี้ กำหนดจุดชมไว้ 3 แห่ง คือ บ้านกุ่ม บ้านท่าล้ง และบ้านตามุย
สำหรับระยะเวลาในการขึ้นของบั้งไฟพญานาคนั้นจะขึ้น ระหว่างตะวันตกดินถึงประมาณ 23.00 น.ก็จะหมดไป
การเดินทางจากตัวเมืองหนองคายไปยัง อ.โพนพิสัย
- จากตัวจังหวัดหนองคาย มุ่งสู่ถนนหมายเลข 212 ประมาณ 45 กม. 
มีรถโดยสารประจำทาง สาย 224, 228, 4193 ทุกวันตั้งแต่ 05.30 ถึง 19.00 น.















ไม้งิ้วดำ

ความเชื่อ ประวัติ ไม้พระยางิ้วดำ ไม้พญางิ้วดำ ไม้งิ้วดำ
          เรียกได้ 3 ชื่อเลยพิมพ์ไปเลย 3 ชื่อ แต่ส่วนใหญ่นิยมเรียกไม้พญางิ้วดำ คือพญาของไม้งิ้ว ต้นงิ้ว พญาของต้นงิ้ว คือไม้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของบรรดาต้นงิ้ว ไม้นางพญา  ที่เรียกกันเป็นนางพญาเพราะว่าไม้ออกเป็นสีดำ การดูไม้พญางิ้วดำ ไม้พระยางิ้วดำ ไม้งิ้วดำ ตัวไม้จะออกสีดำทั้งหมด หากมีแซมไม้ ลายไม้ จะต้องออกเป็นสีชมพู  ส่วนไม้ที่มีลักษณะใกล้เคียงกับไม้พญางิ้วดำคือไม้มะเกลือไม้ก็ออกเป็นสีดำลายแซมแดง จึงต้องสังเกตให้ดี ดูไม้ให้เป็น

ส่วนความเชื่อไม้พระยางิ้วดำ ไม้พญางิ้วดำ ไม้งิ้วดำ
          ตามความเชื่อของเรื่องลึกลับ ไสยศาสตร์ คนเล่นของเล่ากันว่าต้นงิ้วดำเป็นต้นไม้วิเศษมีเทพธิดารักษา ต้นไม้งิ้วดำไม้พญางิ้วดำนี้จะเกิดยืนต้นอยู่ในป่าลึกโดยเฉพาะป่าที่มีอาถรรพ์เร้นลับยากที่มนุษย์จะเข้าไปถึงได้ง่ายๆ เนื้อไม้มีสีดำสนิทแข็งแกร่งมากโบราณจารย์เล่าว่าหลายร้อยปีทีเดียวจึงจะเกิดมีขึ้นสักต้นหนึ่ง จัดเป็นของทนสิทธิ์มหาวิเศษชั้นดีชนิดหนึ่ง ซึ่งเมื่อถึงเวลาอันควรเทพาอารักษ์ที่ปกปักรักษาดูแลจะพลีต้นยืนตายพรายทิ้งไว้ให้เพื่อรอผู้มีบุญญาบารมีนำไปทำประโยชน์เพื่อพระศาสนายิ่งหากกลายสภาพเป็นหิน (คด) เมื่อใดก็ยิ่งมีพลังอานุภาพแรงกล้าเป็นทวีคูณ อานุภาพดีเด่นทางมหาอุด คงกระพัน  แคล้วคลาด  โชคลาภ เมตตามหานิยมป้องกันคุณไสยมนต์ดำได้สารพัด เหมาะสำหรับทำมีดหมอ ดาบ ไว้สำหรับล้างอาถรรพ์ มนต์ดำต่างๆดีนัก หรือเอาไว้ปราบผี วิญญาณร้ายเข้าสิงสู่คนได้ชงักนักแล














ศรีโคตรพระตะบอง


คำสาปท้าวศรีโคตรบอง
เวียงจันทน์ล้านช้าง อย่าให้ฮุ่งเฮืองศรี
คนบ่มีสีลธรรม อยู่คองเมืองบ้าน
ผู้ใดมาครองสร้าง ปกครองตุ้มไพร่
ขอให้ฮุ่ง เพียงช้างพับหู
ฮุ่งเพียงงูแลบลิ้น ศรีโคตรสาปแช่งเวียง


ตำนานท้าวศรีโคตรพระตบองเพชรสาปแช่งเวียงจันทน์บ่ให้ฮุ่งเฮือง
เป็นตำนานที่ถืกเล่าขานกันมาเป็นเวลาช้านาน
สาเหตุที่ทำให้ท้าวศรีโคตรสาปแช่งเวียงจันทน์นั้นมีเรื่องเล่าสืบมาดังนี้

กาลครั้งหนึ่ง เมืองเวียงจันทน์เกิดเดือดฮ้อน มีช้างป่ามาบุกรุกทำลายไฮ่นาฮั้วสวน เครืองปลูกของฝัง
ตลอดบ้านเฮือนของไพร่ฟ้าข้าแผ่นดิน เจ้าเมืองเวียงจันท์จึงประกาศหาคนดีมาผาบช้าง
ใผผาบได้จะได้ฮับพระราชทานพระราชธิดาแห่งเวียงจันทน์เป็นคู่ครอง

ท้าวศรีโคตรผู้มีอาวุธวิเศษเป็นพระตะบองเพชร ผู้มีวิชาเก่งกล้าหาใผเปลียบเทียบบ่ได้ ก็รับอาสาผาบช้าง
และก็ผาบช้างได้สำเร็จอี่หลี พระเจ้าแผ่นดินจึงพระราชทาน “เจ้านางเขียวข่อมเทวี”
พระราชธิดาให้แก่ท้าวศรีโคตร แล้วสร้างเรือนหิน (ปราสาท) ให้อยู่ )

ต่อมาพระเจ้าเวียงจันท์อย้านว่าท้าวศรีโคตรจะแย่งราชบัลลังก์ จึงใช้อุบายต่างๆ
เพื่อที่จะกำจัดท้าวศรีโคตร แต่บ่สำเร็จ เพราะท้าวศรีโคตร ฟัน แทงบ่เข้า จึ่งฆ่าบ่ตาย
พระเจ้าเวียงจันทน์จึงคิดอุบายขึ้นโดยหลอกถามจากธิดาของตนว่า “ด้วยเหตุใดหนอท้าวศรีโคตรจึงเป็นคนเก่ง
และฆ่าบ่ตาย” พระธิดาบ่ฮู้เล่กลของพระราชบิดา ในวันหนึ่งจึงถามท้าวศรีโคตรว่า “เจ้าอ้ายเป็นคนเก่ง
ใผฆ่าก็บ่ตาย น้องอยากฮู้ว่าเจ้าอ้ายมีดีอันใดหนอ?”

ท้าวศรีศรีโคตรบ่ฮู้ถึงภัยจะเกิดกับตนเพราะความฮักเมีย จึงเล่าเรื่องสมัยบวชเป็นสามเณรให้เมียฟังว่า
ที่ตนมีพลังสามารถผาบช้างได้นั้น ก็เพราะครั้งหนึ่งได้หุงข้าวถวายหลวงตา
ได้หักเอาไม้ดิบมาคนหม้อพาให้ข้าวนั้นกลับกลายเป็นสีดำ
หลวงตาใจฮ้ายจึงสั่งให้เณรศรีโคตรฉันข้าวหม้อนั้นเพียงผู้เดียว ภายลุนมาจึงทำให้เณรศรีโครตมีพลังช้างศาล
อีกทั้งแทงบ่เข้าจึงฆ่าบ่ตายด้วยหอก ดาบ

เมียก็ถามต่อไปว่ามีทางใดบ่ที่คนอื่นจะฆ่าเจ้าอ้ายให้ตายได้
ท้าวศรีโคตรบ่คิดว่าเมียจะสามารถฆ่าตนได้ลงคอจึงตอบไปว่า “เข้าทางฮูเก่า(ทวาร)เท่านั้นก็ตายดอก”

พระธิดาจึงนำความไปเล่าให้พระบิดาฟัง พระบิดาทราบจึงหาอุบายที่จะฆ่าท้าวศรีโคตร
โดยเชิญท้าวศรีศรีโคตรไปรฮ่วมเสวยอาหารที่ท้องพระโรง และใกล้ ๆ
บริเวณท้องพระโรงได้ทำห้องบังคลหนัก(ส้วมถ่าย) โดยได้วางยนต์หอกในส้วมถ่ายนั้น

พอเสวยเสร็จและท้าวศรีโคตรเข้าห้องบังคลหนัก ยนต์หอกก็ทำงาน คือหอกก็แล่นขึ้นทางฮูเก่า
เป็นไปตามแผนการที่วางไว้ แต่ท้าวศรีโคตรบ่ตายทันที และท้าวศรีโคตรได้ทราบว่าเสียฮู้ผู้หญิงแล้ว
จึงเหาะกลับเมือตายที่เมืองศรีโคตรพระตะบอง

ก่อนตายได้สาบแช่งเมืองเวียงจันทน์ว่า "ให้ฮุ่งเพียงช้างพับหู เพียงงูแลบลิ้น"
เพราะคนเวียงจันทน์เป็นคนบ่มีสัจจธรรม ขนาดว่าท้าวศรีโคตรผาบช้างให้แล้ว ยังหาวิธีกำจัดให้ตายได้ลงคอ

ตำนานหรือนิทานท้าวศรีโคตรนี้ ยังมีคนแต่งเพิ่มเติมขึ้นอีกเป็นตำนานติดต่ออีกหลายเรื่อง
เช่นตำนานเมืองอุบล เล่าโดยคุณพ่อบำเพ็ญ ณ อุบล ซึ่งคุณพ่อบำเพ็ญ บอกว่า
เป็นอีกตำนานหนึ่งที่มีการบอกเล่าโดยที่คุณพ่อเป็นผู้รับฟังมาจากชาวบ้าน
ที่มีภูมิลำเนาอยู่ที่อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด
เรื่องราวก็มีเนื้อหาสาระในทำนองเดียวกันกับที่เล่ามา แต่มีเรื่องเพิ่มเติมว่า...

ต่อมานางเขียวข่อม ผู้เป็นเมีย คิดถึงสามีจึงตามหาสามี จนกระทั่งมาถึงแม่น้ำมูล บริเวณดงอู่เผิ้ง
จึงหยุดพัก และประชวรพระครรภ์ เมื่อประสูตรลูกออกมาแล้วบ่สามารถนำลูกไปด้วย
จึงอธิษฐานขอฝากลูกกับเทพยดาที่ต้นยาง โดยขอให้ปกปักรักษาลูก ต้นยางที่ขอ ได้โอนอ่อนลงมา
จึงผูกอู่ไว้ที่ปลายยาง แล้วเอาแหวนทองใส่ไว้ จากนั้นต้นยางก็ตั้งขึ้นเหมือนเดิม

กาลต่อมาพระเจ้าแผ่นดินเมืองจำปาสักมาล่าสัตว์ จนกระทั่งมาถึงดงอู่เผิ้ง
ได้ยินเสียงเด็กน้อยฮ้องไห้ที่ปลายยาง ด้วยความบ่แน่ใจจึงอธิษฐานจิตว่าถ้าเป็นผีให้หนีไป
ถ้าเป็นคนขอให้กิ่งง่าต้นยางโอนออ่นลงมาจะนำไปเลี้ยงเป็นบุตร พออธิษฐานเสร็จ ต้นยางก็โอนอ่อนลงมา
เห็นแหวน ผ้า เด็ก จึงนำไปเลี้ยงที่เมืองจำปาสัก เมื่อกุมารโตเป็นหนุ่ม
จึงพามาตั้งเมืองให้อยู่ตรงที่พบอู่ เรียกว่า เมือง”อู่บน” กุมารนั้นให้นามว่า “เจ้าปทุม”

เจ้าปทุมเป็นลูกเจ้าศรีโคตร (เมืองพระตะบอง) และนางเขียวข่อม มีอาวุธคือไม้ค้อนตระกูลเมืองอุบล
เจ้าเมืองต่อมาจึงชื่อว่า พระพรหมราชวงศา

คุณพ่อบำเพ็ญ เล่าต่อไปว่า ปัจจุบันในจังหวัดอุบลราชธานี ยังมีนางเทียม (คนทรงเจ้า) ของท้าวศรีโคตร
และนางเขียวข่อม นางเทียมจะจัดการบวงสรวงทุกปี ที่บ้านนางเทียม ผู้ที่เป็นนางเทียมชื่อคุณยายขุม
บ้านอยู่หน้าวัดพลาเพล โดยจะมีการทำบุญประมาณเดือน 6 ตรงกับ วันที่ 12 เม.ย. ของทุกปี
จะมีการเข้าทรงบวงสรวงเจ้าบ่าวจำปาที่บ้านคุณยายทองม้วน ณ อุบล (แสงอร่าม) บ้านบุ่งกระแทว
(เจ้าบ่าวจำปาเป็นมเหศักดิ์ตระกูลของคุณยายทองม้วน)




ถ้ำพระทองคำเจอใหม่ในแขวงคำม่วนประเทศลาว เที่ยวถ้ำพระทองคำ

ถ้ำปาผาหรือถ้ำที่มีปลาและหน้าผาในสมัยก่อนนี้ คนลาวเรียกถ้ำปลาผาหรือ "ถ้ำปาผา" หรือ "หนองปาผา" พอไปเจอพระโบราณที่นี่ก็มีอีกชื่อหนึ่งคือถ้ำพระใหม่ ส่วนในหนังสือท่องเที่ยวใช้ชื่อว่า Tham pha pa (Buddha cave) ถ้ำนี้มีการค้นพบโดยบังเอิญตอนที่ปีนไปหาค้างคาว ถ้ำนี้ไม่มีทางขึ้น เป็นปล่องถ้ำอยู่ในหน้าผาสูง ภายในมีพระสองร้อยกว่าอง มีพระที่เป็นทองคำจริงๆ 16 องค์ ที่เหลือเป็นพระเงิน ไม้

ถ้ำนี้ห้ามถ่ายรูปและคลิปวีดีโอบนถ้ำ ถ่ายภายนอกได้ ผมจึงซื้อ CD เป็นวีดีโอและขออนุญาตมาแสดงบน youtube ซึ่งเป็นข้อมูลที่ชัดเจน ละเอียดมาก ดูในด้านล่างได้เลยครับ ส่วนผมก็ถ่ายบรรยากาศรอบๆถ้ำ การเดินทางครับ (ดูแผนที่เที่ยวถ้ำปาภา)

ชาวลาวนับถือพระที่ถ้ำนี้มาก ยิ่งตอนที่เจอใหม่ๆไม่มีทางขึ้นต้องปีนบันไดไม้ไผ่ขึ้นไป ต้องเดินลุยโคลนเข้าก็ยังมากันครับ หลังๆนี้มีทั้งคนไทย ฝรั่งต่างมาเที่ยวถ้ำนี้กันทุกวัน การเดินทางมาเที่ยวถ้ำนี้อยู่ห่างจากเมืองท่าแขกไปทางตะวันออก 5 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวซ้ายไปอีก 8 กิโลเมตร ถนนดี ขี่มอเตอร์ไซค์เดี๋ยวเดียวก็ถึง ข้อมูลวีดีโอลงไว้ละเอียดมากลองดูนะครับ mr.hotsia มกราคม 2554









มิติซ้อนมิติ โลกซ้อนโลก
ดร. อรรถกฤต ฉัตรภูติ

ภาควิชาฟิสิกส์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

นักเขียนประจำ วิชาการ.คอม

ในปัจจุบันมีทฤษฎีทางฟิสิกส์หลายทฤษฎีที่บอกถึงความเป็นไปได้ที่จะมี โลกคู่ขนาน หรือ เอกภพคู่ขนาน (Parallel Universe) โดยในแต่ละทฤษฎีก็จะทีมาที่ไป และความหมายของคำว่าเอกภพคู่ขนานแตกต่างกันไป ซึ่งพอจะจำแนกทฤษฎีเหล่านี้ออกได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ คือ Quantum parallel universe, Inflation multi-universes และ String theory multi-universes


1. Quantum parallel universe

ซึ่งเสนอขึ้นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1957 โดยนักฟิสิกส์ชาวอเมริกันชื่อ Hugh Everett เพื่อที่จะแก้ปัญหาในทฤษฎีควอนตัม ซึ่งพัฒนาต่อมาโดยนักฟิสิกส์ Bryce DeWitt, David Deutsch และอีกหลายๆท่าน

Hugh Everett ผู้คิดค้น Many-worlds interpretation of Quantum Mechanics

แนวคิดของ Everett นี้รู้จักกันในชื่อ Many-worlds interpretation of Quantum Mechanics ซึ่งกล่าวว่าอาจจะมีเอกภพอื่นๆ ซึ่งมี กฎทางฟิสิกส์ และ ค่าคงที่ต่างๆเหมือนกับเอกภพที่เราอยู่ทุกประการ แต่อาจจะอยู่ในสถานะที่ต่างกัน และ เอกภพคู่ขนานเหล่านี้ไม่สามารถที่จะติดต่อกันได้ ในโลกของควอนตัมซึ่งเป็นโลกของความน่าจะเป็น สถานะที่ต่างกันออกไป ในแต่ละเอกภพจะสัมพันธกัน โดยกระบวนการทางควอนตัมที่เรียกว่า Quantum superposition และ ความสัมพันธ์นี้จะสิ้นสุดลง เมื่อมีการเลือกทางใดทางหนึ่งของความน่าจะเป็นนั้น ซึ่งหลังจากที่มีการเลือกเกิดขึ้นแล้ว เอกภพคู่ขนานทั้งสองจะไม่สัมพันธ์กันอีกเลย


ตัวอย่างของเอกภพคู่ขนานควอนตัมอาจจะอธิบายได้โดย สมมุติว่าเราซื้อฉลากรัฐบาล ก่อนที่จะประกาศผลรางวัล มีความเป็นไปได้อยู่ 2 ทางคือ หนึ่งเราถูกรางวัล และ สองเราถูกกิน ความน่าจะเป็นทั้งสองคือโลกที่แตกต่างกัน ในโลกหนึ่งถ้าเราถูกรางวัลที่หนึ่ง เราก็จะร่ำรวย แต่ในอีกโลกหนึ่งเราถูกหวยกินยากจนลงทุกวันๆ ในขณะที่หวยยังไม่ออก สถานะของความร่ำรวยและความยากจน ยังผสมกันอยู่เรายังบอกไม่ได้ว่าอนาคตจะเป็นอย่างไร แต่เมื่อใดก็ตามที่กองฉลากประกาศผลรางวัล เราก็จะทราบอนาคต เมื่อนั้นโลกคู่ขนานทั้งสองก็จะไม่เกี่ยวข้องกันอีกต่อไป เช่น ถ้าผลออกมาเราไม่ถูกรางวัล เราก็จะอยู่ในโลกของเราซึ่งไม่ถูกรางวัล อาจจะเลิกเล่นหวยแล้วตั้งหน้าตั้งตาทำมาหากิน ซึ่งเราจะไม่มีทางรับรู้ถึงเอกภพคู่ขนานอีกอันหนึ่ง ซึ่งเป็นโลกที่เราถูกหวย เอกภพคู่ขนานทั้งสองตัดขาดจากกันโดยสิ้นเชิง
ไม่มีทางที่เราจะเดินทางไปยังโลกที่เราถูกหวยรางวัลที่หนึ่งได้

หน้าที่ 2 - Inflation multi-universes
2. Inflation multi-universes

เป็นแนวคิดที่พัฒนามาจากการศึกษาจักรวาลวิทยา (cosmology) หรือ การศึกษาเกี่ยวกับการกำเนิด และ วิวัฒนาการของเอกภพ หลักฐานที่เราได้จากคลื่นแม่ไมโครเวฟพื้นหลัง (Cosmic Microwave Background Radiation) ทำให้เชื่อว่าเอกภพที่เราอาศัยอยู่ ณ ขณะนี้ มีวิวัฒนาการมาจากการระเบิดครั้งใหญ่ที่เรียกว่า บิกแบง (Big Bang)

แต่เนื่องจากความรู้ที่เรามีอยู่จำกัดในปัจจุบันทำให้เราไม่สามารถเข้าใจการกำเนิดของเอกภพได้ดีนัก นักฟิสิกส์ Andre Linde ได้เสนอทฤษฎีที่เรียกว่า Bubble universe theory ซึ่งมีแนวคิดว่า เอกภพของเราเกิดขึ้นมาจาก โฟมควอนตัม (Quantum foam) ของเอกภพแม่อีกทีหนึ่ง โดยอาศัยทฤษฎีควอนตัมทำนายว่าขณะที่เอกภพพึ่งจะหลุดออกมาจากบิกแบงใหม่ๆ หรือ Early universe นั้น กาล-อวกาศ จะมีการแปรปรวนและผันผวนอย่างรุนแรง (Quantum fluctuation of space-time) เสมือนกับน้ำในหม้อที่ต้มจนเดือดพล่าน

เอกภพคู่ขนานหลายๆอันสามารถที่จะเกิดขึ้นได้ เหมือนกับฟองน้ำที่ผุดขึ้นมาเวลาน้ำเดือด ถ้าความผันผวนของ Quantum fluctuation มีขนาดไม่มาก เจ้า bubble universe ก็อาจจะขยายตัวเหมือนลูกโป่ง แล้วค่อยๆหดตัวแฟบลง จนหายไปในที่สุด แต่ถ้าความผันผวนควอนตัมนี้มีขนาดใหญ่พอ เอกภพเล็กๆเหล่านี้ก็จะมีพลังงานมากพอที่จะขยายตัวเป็นเอกภพอย่างที่เราเห็นอยู่ในปัจจุบัน

วอนตัมโฟม : ความไม่ต่อเนื่องของกาล-อวกาศ

ในระดับขนาดที่เล็กมากๆ กาล-อวกาศไม่ได้มีลักษณะเรียบและต่อเนื่อง แต่จะมีลักษณะคล้ายกับรูปภาพในหน้ากระดาษหนังสือพิมพ์ ที่เมื่อมองไกลๆจะเห็นเป็นภาพที่ต่อเนื่องเป็นเนื้อเดียวกัน แต่เมื่อเข้ามาพิจารณาในระยะใกล้ๆ หรือเมื่อส่องดูด้วยแว่นขยาย ก็จะพบว่าแท้ที่จริงแล้วเกิดจากจุดเล็กๆหลายๆจุดที่เรียงอยู่ใกล้ๆกัน

เอกภพคู่ขนานในกรณีนี้แตกต่างจากในกรณีแรกคือเอกภพทั้งหมดไม่ได้ตัดขาดกันอย่างสมบูรณ์ และกฎธรรมชาติในแต่ละเอกภพไม่จำเป็นต้องเหมือนกัน เนื่องจาก bubble universe สามารถเกิดขึ้นได้อย่างไม่จำกัด ดังนั้นจึงมีความเป็นไปได้ในทางทฤษฎีที่อาจจะมีเอกภพหลายๆเอกภพที่นอกเหนือจากเอกภพของเรา แต่เอกภพอื่นๆที่เกิดขึ้นจะมีกฎทางฟิสิกส์แตกต่างจากเอกภพที่เราอาศัยอยู่ เช่น มีจำนวนมิติแตกต่างมากกว่า 3 มิติ มีค่าประจุอิเล็กตรอนที่แตกต่างออกไป ค่าคงที่เหล่านี้มีความสำคัญมาก เพราะถ้าหากค่าคงที่บางตัวมีค่าต่างออกไปเล็กน้อย เช่น ถ้าประจุอิเล็กตรอนมีค่าน้อยกว่านี้ พันธะเคมีของสารอินทรีย์ต่างๆอาจจะไม่สามารถเกิดขึ้นได้

สิ่งมีชีวิตที่เป็นตัวเราก็ไม่สามารถเกิดขึ้นได้เช่นกัน ดังนั้นถ้าเราจะเดินทางไปยังเอกภพอื่น (จะด้วยวิธีใดก็ตาม) คงเป็นไปได้ยากที่จะรอดชีวิตอยู่ในเอกภพเหล่านั้น และเช่นเดียวกัน สิ่งมีชีวิตในเอกภพที่มีกฎทางฟิสิกส์ต่างจากเราก็คงไม่อยากที่จะมาทนทุกข์อยู่ในเอกภพของเรา การเดินทางไปมาระหว่างเอกภพคู่ขนานดูจะไม่ทำให้เกิดประโยชน์ใดๆขึ้นมา

หน้าที่ 3 - String theory multi-universes
3. String theory multi-universes

แนวคิดเรื่องเอกภพคู่ขนานในกลุ่มนี้ เป็นแนวคิดที่ได้มาจากทฤษฎีเส้นเชือก หรือ
String Theory ซึ่งเป็นทฤษฎีที่สร้างขึ้นมาเพื่อที่จะอธิบายธรรมชาติของแรงโน้มถ่วงในระดับพลังงานสูงๆ ก่อนอื่นต้องขออธิบายว่าในวิชาฟิสิกส์เราแบ่งแรงในธรรมชาติออกเป็น 4 ชนิด คือ
. แรงโน้มถ่วง ซึ่งเป็นแรงที่ดึงดูดมวลสารและพลังงานเข้าด้วยกัน เช่น แรงที่ดึงดูดดวงจันทร์เข้ากับโลกเป็นต้น

• แรงแม่เหล็กไฟฟ้า เป็นแรงที่กระทำกับอนุภาคที่มีประจุ เช่น แรงที่ดูดอิเล็กตรอนให้วิ่งวนรอบนิวเคลียส เป็นแรงที่อยู่เบื้องหลังปฏิกิริยาเคมีทั้งหมด รวมถึงระบบประสาทในสิ่งมีชีวิต

• แรงนิวเคลียร์แบบอ่อน เป็นแรงที่เกิดในการสลายตัวของธาตุกัมมันตรังสี
และปฏิกิริยานิวเคลียร์บนดวงอาทิตย์เป็นต้น

• สี่แรงนิวเคลียร์แบบเข้ม เป็นแรงที่ดึงดูดอนุภาคควาร์ก ให้รวมกันอยู่ได้โปรตรอนและนิวตรอน ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญของอะตอม
ถ้าปราศจากซึ่งแรงทั้งสี่นี้ ธรรมชาติย่อมจะไม่เป็นอย่างที่เราเห็น และ สิ่งมีชีวิตต่างๆคงไม่สามารถที่จะเกิดขึ้นได้
ในบรรดาแรงทั้ง 4 ชนิดที่กล่าวไปนั้น แรงโน้มถ่วงเป็นแรงที่เราเข้าใจน้อยที่สุด แม้ว่าเราจะรู้จักมันมาตั้งแต่สมัยของ เซอร์ ไอแซค นิวตัน ปัจจุบันทฤษฎีที่เราใช้อธิบายแรงโน้มถ่วงคือ ทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป ซึ่งค้นพบโดย อัลเบอร์ต ไอน์สไตน์ เมื่อเกือบ 100 ปีมาแล้ว ซึ่งสามารถใช้ทำนายปรากฏการณ์ต่างๆ และวิวัฒนาการของเอกภพได้ดีในระดับหนึ่ง แต่อย่างไรก็ตามทฤษฎีสัมพัทธภาพก็มีข้อจำกัด เพราะไม่สามารถอธิบาย พฤติกรรมของแรงโน้มถ่วง ในสถานะการที่มีพลังงานสูงๆได้ เช่น ถ้าต้องการอธิบายการกำเนิดของเอกภพเป็นต้น



นอกจากนี้ในปัจจุบันการศึกษาจักรวาล โดยอาศัยทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป ไม่สามารถตอบปัญหาสำคัญๆ เช่น ปัญหาสสารมืด (Dark matter problem) และปัญหาพลังมืด (Dark Energy problem) ได้ นักฟิสิกส์ จึงต้องการทฤษฎีอื่น เพื่อที่จะช่วยเสริม ในจุดที่ทฤษฎีควอนตัมและทฤษฎีสัมพัทธภาพ ไม่สามารถอธิบายได้ ซึ่ง ทฤษฎีสตริง ก็เป็นตัวเลือกหนึ่งของทฤษฎีดังกล่าว

Extra dimension

สมมุติว่ากาล-อวกาศเป็นผิวของหลอดกาแฟ ซึ่งเป็นพื้นผิวสองมิติ ดังที่แสดงในรูป มดที่เดินอยู่บนหลอดกาแฟ จะสามารถเคลื่อนที่ได้ในสองมิติ แต่ถ้ารัศมีของหลอดกาแฟเล็กลงมากๆ มดที่เดินอยู่ในบริเวณนั้น ก็จะรู้สึกเหมือนว่ามันเดินอยู่บนเส้นลวด ซึ่งมีจำนวนมิติเท่ากับหนึ่งมิติ


ในทฤษฎีเส้นเชือก กาล-อวกาศมีได้มากถึง 10 มิติ แต่ในชีวิตประจำวันเรารู้สึกได้เพียง 4 มิติ นักฟิสิกส์อธิบายว่ามิติพิเศษ หรือ Extra dimension ที่เหลืออีก 6 มิตินั้น จะม้วนเป็นวงเล็กๆ จนเราไม่สามารถที่จะตรวจวัดได้ (ใน M-theory เอกภพมีได้ถึง 11 มิติเลยทีเดียว)


ในทฤษฎีสตริง อนุภาคถูกอธิบายว่า มีลักษณะเป็นเส้นเชือกหนึ่งมิติ โดยการสั่นของเส้นเชือกนี้ ทำให้เกิดเป็นตัวโน๊ตต่างๆ ตัวโน๊ตหนึ่งตัว สามารถแทนอนุภาคได้หนึ่งตัว ตัวโน๊ตที่ต่างคีย์กัน ก็จะให้อนุภาคที่ต่างชนิดกัน



ในการที่จะให้ทฤษฎีสตริง มีคุณสมบัติทางคณิตศาสตร์ที่เหมาะสม นักฟิสิกส์พบว่าจำนวนมิติของเอกภพจะต้องมีถึง 10 มิติ คือ เวลาหนึ่งมิติ และ อวกาศอีก 9 มิติ ยิ่งไปกว่านั้นในทฤษฎีที่เรียกว่า M-theory ซึ่งเป็นทฤษฎี ที่พัฒนาต่อมาจากทฤษฎีเส้นเชือก กาล-อวกาศ อาจจะมีได้ถึง 11 มิติ คือ เวลาหนึ่งมิติ และ อวกาศอีก 10 มิติ แต่ในเอกภพของเรานั้น เราสังเกตจำนวนมิติได้เพียงแค่ 4 มิติทฤษฎีสตริงจึงอธิบายว่า มิติที่เกินมา ซึ่งเรียกว่า Extradimension หรือมิติพิเศษนั้นขดตัวอยู่โดยที่ขนาดของมันเล็กมากจนเราไม่สามารถสังเกตได้



สำหรับแนวคิดเรื่องเอกภพคู่ขนาน ที่ได้แรงบันดาลใจมาจากทฤษฎีเส้นเชือกนั้น กล่าวไว้ว่า เอกภพของเราซึ่งมีอยู่ 4 มิตินั้น เป็นแผ่นหรือเยื่อ (Membrane) ที่ลอยอยู่ใน Hyperspace ซึ่งอวกาศที่มีจำนวนมิติ 11 มิติ ตามทฤษฎีมีความเป็นไปได้ ว่าอาจจะมีเอกภพอื่นๆ นอกเหนือจากเอกภพของเรา ซึ่งล่องลอยอยู่ใน Hyperspace ด้วยเช่นกัน ในบางทฤษฎีเอกภพอีกอันหนึ่ง อาจจะล่องลอยขนานกับเราใน Hyperspace และอาจจะอยู่ห่างจากเราเพียงไม่กี่มิลลิเมตรก็ได้ (เป็นระยะห่างในมิติพิเศษ)



แต่เอกภพเหล่านั้น อาจจะมีจำนวนมิติรวมถึงกฎทางธรรมชาติ ที่แตกต่างออกไปจากเอกภพของเรา ซึ่งจะคล้ายๆกับแนวคิด ของเอกภพคู่ขนานที่ได้จาก ทฤษฎี Bubble universe theory



นักฟิสิกส์ที่เชื่อแนวคิดนี้ ได้สร้างโมเดลอธิบายการกำเนิดของเอกภพเอาไว้ด้วย ซึ่งรู้จักกันในชื่อของ Cyclic model โดยอธิบายการกำเนิดของเอกภพที่เรียกกันว่าบิกแบงนั้น เกิดจากการที่เอกภพคู่ขนานเหล่านี้เคลื่อนที่เข้าชนกัน

หน้าที่ 4 - ปัญหาของทฤษฎีเอกภพคู่ขนาน

แนวคิดเรื่องเอกภพคู่ขนานที่ได้จากทฤษฎีสตริง และ Bubble universe theory มีลักษณะเหมือนกันตรงที่ เอกภพอื่นๆที่ไม่ใช่เอกภพที่เราอาศัยอยู่นั้นจะมีกฎทางฟิสิกส์ที่แตกต่างจากโลกของเรา เช่นมีค่าประจุอิเล็กตรอน และค่าการสลายตัวของธาตุกัมมันตรังสีแตกต่างออกไป นั่นคือเราเพียงแต่โชคดีที่ได้เกิดอยู่ในเอกภพแห่งนี้ ที่มีค่าคงทีทางฟิสิกส์ และกฎธรรมชาติ ที่เหมาะสมแก่การเกิดสิ่งมีชิวิตในแบบที่เราเห็น ถ้าเราเกิดไปเกิดอยู่ในเอกภพที่มีเพียงแค่ สองมิติ เราคงเป็นสิ่งมีชีวิตอีกแบบหนึ่งซึ่งต่างจากที่เราเป็นอยู่มาก

แนวความคิดที่อธิบายธรรมชาติในลักษณะนี้ เรียกว่า Anthropic principle คือ อธิบายว่าธรรมชาติ เป็นอย่างที่เราเห็น ก็เพราะว่ามีตัวเราเกิดขึ้นมาเห็นมัน หรือ มันเป็นเช่นนั้นเอง ถ้ามันไม่เป็นเช่นนั้น ก็จะไม่มีเรามาตั้งคำถาม ซึ่งเป็นคำอธิบายในลักษณะกำปั้นทุบดิน ที่นักฟิสิกส์หลายๆคนไม่ชอบนัก นักฟิสิกส์จะรู้สึกพอใจมาก ถ้าเขาสามารถอธิบายได้ว่ากลไกในธรรมชาติอันไหน ที่ทำให้ธรรมชาติเป็นอย่างที่มันเป็น

กำเนิดจักรวาลใน Cyclic Universe model

มีลักษณะเป็นแผ่น membrane 3 มิติ ที่ลอยอยู่ใน Hyperspace 11 มิติ การกำเนิดของจักรวาลเกิดขึ้นเมื่อ (ก) เอกภพคู่ขนานอีกอันหนึ่งคลื่อนที่เข้ามาใกล้ (ข) เมื่อเอกภพคื่อขนานทั้งสองชนกันจะเกิดการระเบิดครั้งใหญ่ที่เรียกว่าบิกแบง (ค) จากนั้นแผ่นเอกภพทั้งสองก็จะเคลื่อนที่ออกจากกัน เอกภพเกิดการขยายตัวเกิดเป็นเอกภพที่เราเห็นในปัจจุบัน (ง) เมื่อขยายตัวมาขึ้นมวลสารในเอกภพก็จะเจือจางลง (จ) จนเมื่อถึงจุดหนึ่งแรงดึงดูดระหว่างมวลของเอกภพคู่ขนานทั้งสองก็จะดึงให้มันวิ่งเข้าหากัน และเกิดกระบวนการบิกแบงอีกครั้ง ซึ่งในทฤษฎีนี้เอกภพไม่มีจุดจบ แต่จะเกิดใหม่เรื่อยๆ

ปัญหาใหญ่อีกอย่างของทฤษฎีเอกภพคู่ขนานคือ การทดสอบทฤษฎี โดยเฉพาะทฤษฎีที่ได้แรงบันดาลใจ มาจากทฤษฎีสตริง เพราะตามทฤษฎีแล้ว การที่จะเห็นมิติพิเศษอื่นๆที่มากกว่า 4 นั้น จะต้องอาศัยพลังงานสูงมากๆ และอาจจะต้องใช้เทคโนโลยี ที่สูงกว่าที่เรามีอยู่ในปัจจุบัน อย่างไรก็ดีนักฟิสิกส์หลายๆคนเชื่อว่า เราอาจจะตรวจพบสัญญาณจากมิติที่ห้า จากการทดลองโดยเครื่องเร่งอนุภาค Large Hadron Collider (LHC) ที่ห้องปฏิบัติการ CERN ในประเทศสวิสเซอร์แลนด์ นอกจากนี้แล้วการศึกษาคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ที่เรียกว่า
Cosmic Microwave Background (CMB) ก็อาจจะทดสอบทฤษฎี Bubble Universe ได้ว่าน่าเชื่อถือหรือไม่

สิ่งหนึ่งที่ควรจะคิดไว้เสนอคือ ฟิสิกส์เป็นศาสตร์ที่ศึกษาธรรมชาติ และอธิบายธรรมชาติโดยอาศัยภาษาคณิตศาสตร์ ทฤษฎีทางฟิสิกส์เป็นแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ ที่สร้างมาเพื่ออธิบายปรากฏการณ์ธรรมชาติ แต่ไม่ได้หมายความว่าธรรมชาติเป็นจริงเช่นนั้น ทฤษฎีหนึ่งอาจจะอธิบายเรื่องหนึ่งๆได้ดี แต่อีกเรื่องหนึ่งอาจจะใช้ไม่ได้เลยก็ได้ เพราะฉะนั้นการที่จะนำทฤษฎีใดทฤษฎีหนึ่ง ไปอธิบายปรากฏการณ์ใดๆ จึงควรจะทำความเข้าใจตัวทฤษฎีให้ถ่องแท้เสียก่อน เราไม่ควรปักใจเชื่อว่าธรรมชาติเป็นจริงตามทฤษฎี เพราะธรรมชาตินั้นซับซ้อนกว่าที่มนุษย์จะเข้าใจมากนัก






วันเสาร์ที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2555

เทศนาธรรม หลวงปู่สาวกโลกอุดร เรื่อง สี่อริยภูมิ

พระอรหันต์ โสเรยยะ

บทอ้างอิงจาก 1 http://www.84000.org/one/1/15.html มีเหตุการณ์วิปริตเกิดขึ้น แก่บุตรเศรษฐีคนหนึ่งในเมืองโสเรยยะ ชื่อว่า โสเรยยะ เหมือนชื่อเมือง ขณะที่เขานั่งบนยาน พาหนะกับสหายเพื่อไปอาบน้ำพร้อมกับบริวารทั้งหลาย ได้เห็นพระเถระกำลังยืนห่มจีวร เพื่อ เข้าไปบิณฑบาตในเมืองแล้วเกิดความพอใจ ในดวงจิตคิดอกุศลขึ้นว่า “งามจริงหนอ พระเถระ รูปนี้ น่าจะเป็นภริยาของเรา หรือไม่ก็ขอให้ภริยาของเรามีสีผิวกายเหมือนพระเถระนี้” ด้วยอกุศลจิตคิดเพียงเท่านี้ ทำให้เพศชายของเขาหายไป กลายเป็นเพศหญิงไปทั้งร่าง ทำให้เขาอับอายเป็นอย่างมาก และโดยที่ไม่มีใครรู้เขารีบลงจากยานนั้นแล้วเดินตามกองเกวียน พ่อค้าไปยังเมืองตักสิลา และได้เป็นภริยาของลูกชายเศรษฐีในเมืองนั้น อยู่ร่วมกันจนมีบุตร ๒ คน แต่เดิมทีที่เขาอยู่ในเมือง โสเรยยะนั้น เขาก็มีภริยาอยู่แล้วและมีบุตรด้วยกัน ๒ คน เช่นเดียว กัน จึงปรากฏว่าเขาเป็นทั้งพ่อและแม่ หรือเป็นทั้งผัวและเมียในชาติเดียวกันนี้ ต่อมา พระมหากัจจายนเถระ จาริกมายังเมืองตักสิลา โสเรยยะทราบแล้วจึงเล่าเรื่องราว ของตนที่ผ่านมาให้สามีฟัง แล้วพากันไปกราบขอขมาโทษต่อพระเถระ เมื่อท่านทราบเรื่องโดย ตลอดแล้วก็ยกโทษให้ และเพศหญิงก็หายไปเพศชายปรากฏขึ้นมาเหมือนเดิม เขาเกิดศรัทธา เลื่อมใสในพระเถระเป็นอย่างยิ่ง อีกทั้งเห็นว่าตนเองเป็นคนแปลกคือเป็นทั้งชายและหญิงในอัต ภาพเดียวเท่านั้น และยังคิดว่าไม่ควรที่จะอยู่ครองเพศฆราวาสต่อไป จึงมอบบุตรทั้ง ๔ คนให้ บิดามารดาเลี้ยงดูต่อไป ส่วนตนเองได้ขอบวชในสำนักพระเถระ และได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ ในกาลต่อมา พระมหากัจจายนะ นอกจากจะมีเรื่องของโสเรยยะแล้ว ยังมีเรื่องพระภิกษุเทวดาและ มนุษย์ทั้งหลาย เห็นพระเถระเดินมาแต่ไกลแล้วก็พากันกล่าวว่า “พระบรมศาสดาของพวกเรา เสด็จมาแล้ว” แล้วพากันทำความเคารพกราบไหว้ ทั้งนี้ก็เพราะท่านมีรูปลักษณ์ละม้ายกับ พระผู้มีพระภาคนั้นเอง พระเถระพิจารณาเห็นโทษเช่นนี้แล้ว จึงอธิษฐานจิตเนรมิตรร่างกายของท่านให้เปลี่ยน แปลงผิดแปลกไปจากเดิม ร่างกายที่เคยสง่างามก็ย่นย่อ ต่ำเตี้ย ท้องป่อง หมดความสวยงามดังที่ พุทธศาสนิกชนนิยมสร้างรูปท่านไว้เป็นที่สักการบูชาในทุกวันนี้ บทอ้างอิง2 อรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท จิตตวรรคที่ ๓ หน้าต่างที่ ๙ / ๙. ๙. เรื่องพระโสไรยเถระ [๓๒] ข้อความเบื้องต้น พระศาสดายังพระธรรมเทศนานี้ว่า “น ตํ มาตา ปิตา กยิรา” เป็นต้น ซึ่งตั้งขึ้นในโสไรยนคร ให้จบลงในพระนครสาวัตถี. เศรษฐีบุตรกลับเพศเป็นหญิงแล้วหลบหนี เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับอยู่ในกรุงสาวัตถี, ลูกชายของโสไรยเศรษฐี ในโสไรยนคร นั่งบนยานน้อยอันมีความสุขกับสหายผู้หนึ่งออกไปจากนคร เพื่อประโยชน์จะอาบน้ำด้วยบริวารเป็นอันมาก. ขณะนั้น พระมหากัจจายนเถระมีความประสงค์จะเข้าไปสู่โสไรยนคร เพื่อบิณฑบาต ห่มผ้าสังฆาฏิภายนอกพระนคร. ก็สรีระของพระเถระมีสีเหมือนทองคำ ลูกชายของโสไรยเศรษฐีเห็นท่านแล้ว จึงคิดว่า “สวยจริงหนอ พระเถระรูปนี้ควรเป็นภริยาของเรา, หรือสีแห่งสรีระของภริยาของเรา พึงเป็นเหมือนสีแห่งสรีระของพระเถระนั้น.” ในขณะสักว่าเขาคิดแล้วเท่านั้น เพศชายของเศรษฐีบุตรนั้น ก็หายไป, เพศหญิงได้ปรากฏแล้ว. เขาละอายจึงลงจากยานน้อยหนีไป. ชนใกล้เคียงจำลูกชายเศรษฐีนั้นไม่ได้ จึงกล่าวว่า “อะไรนั่นๆ ?” แม้นางก็เดินไปสู่หนทางอันไปยังเมืองตักกสิลา. พวกเพื่อนและพ่อแม่ออกติดตามแต่ไม่พบ ฝ่ายสหายของนาง แม้เที่ยวค้นหาข้างโน้นและข้างนี้ ก็ไม่ได้พบ. ชนทั้งปวงอาบเสร็จแล้วได้กลับไปสู่เรือน, เมื่อชนทั้งหลายกล่าวกันว่า “เศรษฐีบุตรไปไหน?” ชนที่ไปด้วยจึงตอบว่า “พวกผมเข้าใจว่า เขาจักอาบน้ำกลับมาแล้ว.” ขณะนั้น มารดาและบิดาของเขาค้นดูในที่นั้นๆ เมื่อไม่เห็น จึงร้องไห้ รำพัน ได้ถวายภัตเพื่อผู้ตาย ด้วยความสำคัญว่า “ลูกชายของเรา จักตายแล้ว.” นางเดินตามพวกเกวียนไปเมืองตักกสิลา นางเห็นพวกเกวียนไปสู่เมืองตักกสิลาหมู่หนึ่ง จึงเดินติดตามยานน้อยไปข้างหลังๆ ขณะนั้น พวกมนุษย์เห็นนางแล้ว กล่าวว่า “หล่อนเดินตามข้างหลังๆ แห่งยานน้อยของพวกเรา (ทำไม?) พวกเราไม่รู้จักหล่อนว่า ‘นางนี่เป็นลูกสาวของใคร?’ นางกล่าวว่า “นาย พวกท่านจงขับยานน้อยของตนไปเถิด. ดิฉันจักเดินไป”, เมื่อเดินไปๆ (เมื่อยเข้า) ได้ถอดแหวนสำหรับสวมนิ้วมือให้แล้ว ให้ทำโอกาสในยานน้อยแห่งหนึ่ง (เพื่อตน). ได้เป็นภริยาของลูกชายเศรษฐีในเมืองนั้น พวกมนุษย์คิดว่า “ภริยาของลูกชายเศรษฐีของพวกเรา ในกรุงตักกสิลา ยังไม่มี, เราทั้งหลายจักบอกแก่ท่าน, บรรณาการใหญ่ (รางวัลใหญ่) จักมีแก่พวกเรา.” พวกเขาไปแล้ว เรียนว่า “นายแก้วคือหญิง พวกผมได้นำมาแล้วเพื่อท่าน.” ลูกชายเศรษฐีนั้นได้ฟังแล้ว ให้เรียกนางมา เห็นนางเหมาะกับวัยของตน มีรูปงามน่าพึงใจ มีความรักเกิดขึ้น จึงได้กระทำไว้ (ให้เป็นภริยา) ในเรือนของตน. ชายอาจกลับเป็นหญิงและหญิงอาจกลับเป็นชายได้ จริงอยู่ พวกผู้ชาย ชื่อว่าไม่เคยกลับเป็นผู้หญิง หรือพวกผู้หญิงไม่เคยกลับเป็นผู้ชาย ย่อมไม่มี. เพราะว่า พวกผู้ชายประพฤติล่วงในภริยาทั้งหลายของชนอื่น ทำกาละแล้ว ไหม้ในนรกสิ้นแสนปีเป็นอันมาก เมื่อกลับมาสู่ชาติมนุษย์ ย่อมถึงภาวะเป็นหญิง สิ้น ๑๐๐ อัตภาพ ถึงพระอานนทเถระ ผู้เป็นอริยสาวก มีบารมีบำเพ็ญมาแล้วตั้งแสนกัลป์ ท่องเที่ยวอยู่ในสงสาร ในอัตภาพหนึ่งได้บังเกิดในตระกูลช่างทอง ทำปรทารกรรม ไหม้ในนรกแล้ว, ด้วยผลกรรมที่ยังเหลือ ได้กลับมาเป็นหญิงบำเรอเท้าแห่งชายใน ๑๔ อัตภาพ, ถึงการถอนพืช (เป็นหมัน) ใน ๗ อัตภาพ. ส่วนหญิงทั้งหลายทำบุญทั้งหลายมีทานเป็นต้น คลายความพอใจในความเป็นหญิง ก็ตั้งจิตว่า “บุญของข้าพเจ้าทั้งหลายนี้ ขอจงเป็นไปเพื่อกลับได้อัตภาพเป็นชาย” ทำกาละแล้ว ย่อมกลับได้อัตภาพเป็นชาย. พวกหญิงที่มีผัวดังเทวดา ย่อมกลับได้อัตภาพเป็นชาย แม้ด้วยอำนาจแห่งการปรนนิบัติดีในสามีเหมือนกัน. ส่วนลูกชายเศรษฐีนี้ยังจิตให้เกิดขึ้นในพระเถระโดยไม่แยบคาย จึงกลับได้ภาวะเป็นหญิงในอัตภาพนี้ทันที. นางคลอดบุตร ก็ครรภ์ได้ตั้งในท้องของนาง เพราะอาศัยการอยู่ร่วมกับลูกชายเศรษฐีในตักกสิลา. โดยกาลล่วงไป ๑๐ เดือน นางได้บุตร ในเวลาที่บุตรของนางเดินได้ ก็ได้บุตรแม้อีกคนหนึ่ง. โดยอาการอย่างนี้ บุตรของนางจึงมี ๔ คน, คือบุตรผู้อยู่ในท้อง ๒ คน, บุตรผู้เกิดเพราะอาศัยเธอ (ครั้งเป็นชายอยู่) ในโสไรยนคร ๒ คน. นางได้พบกับเพื่อนเก่าแล้วเล่าเรื่องให้ฟัง ในกาลนั้น ลูกชายเศรษฐีผู้เป็นสหายของนาง (ออก) จากโสไรยนคร ไปสู่กรุงตักกสิลาด้วยเกวียน ๕๐๐ เล่ม นั่งบนยานน้อยอันมีความสุขเข้าไปสู่พระนคร. ขณะนั้น นางเปิดหน้าต่างบนพื้นปราสาทชั้นบน ยืนดูระหว่างถนนอยู่ เห็นสหายนั้น จำเขาได้แม่นยำ จึงส่งสาวใช้ให้ไปเชิญเขามาแล้ว ให้นั่งบนพื้นมีค่ามาก ได้ทำสักการะและสัมมานะอย่างใหญ่โต. ขณะนั้น สหายนั้นกล่าวกะนางว่า “แม่มหาจำเริญ ในกาลก่อนแต่นี้ ฉันไม่เคยเห็นนาง, ก็เมื่อเป็นเช่นนี้ ไฉนนางจึงทำสักการะแก่ฉันใหญ่โต, นางรู้จักฉันหรือ?” นาง. จ้ะ นาย ฉันรู้จัก, ท่านเป็นชาวโสไรยนคร มิใช่หรือ? สหาย. ถูกละ แม่มหาจำเริญ. นางได้ถามถึงความสุขสบายของมารดาบิดา ของภริยา ทั้งของลูกชายทั้งสอง สหายนอกนี้ตอบว่า “จ้ะ แม่มหาจำเริญ ชนเหล่านั้นสบายดี” แล้วถามว่า “แม่มหาจำเริญ นางรู้จักชนเหล่านั้นหรือ?” นาง. จ้ะ นาย ฉันรู้จัก, ลูกชายของท่านเหล่านั้นมีคนหนึ่ง, เขาไปไหนเล่า? สหาย. แม่มหาจำเริญ อย่าได้พูดถึงเขาเลย, ฉันกับเขา วันหนึ่งได้นั่งในยานน้อยอันมีความสุขออกไปเพื่ออาบน้ำ ไม่ทราบที่ไปของเขาเลย. เที่ยวค้นดูข้างโน้นและข้างนี้ (ก็) ไม่พบเขา จึงได้บอกแก่มารดาและบิดา (ของเขา), แม้มารดาและบิดาทั้งสองนั้นของเขา ได้ร้องไห้ คร่ำครวญ ทำกิจอันควรทำแก่คนผู้ล่วงลับไปแล้ว. นาง. ฉัน คือเขานะ นาย. สหาย. แม่มหาจำเริญ จงหลีกไป, นางพูดอะไร? สหายของฉันย่อมงามเหมือนลูกเทวดา, (ทั้ง) เขาเป็นผู้ชาย (ด้วย). นาง. ช่างเถอะ นาย ฉัน คือเขา. ขณะนั้น สหายจึงถามนางว่า “อันเรื่องนี้เป็นอย่างไร?” นาง. วันนั้น เธอเห็นพระมหากัจจายนเถระผู้เป็นเจ้าไหม? สหาย. เห็นจ้ะ. นาง. ฉันเห็นพระมหากัจจายนะผู้เป็นเจ้าแล้ว ได้คิดว่า ‘สวยจริงหนอ พระเถระรูปนี้ควรเป็นภริยาของเรา, หรือว่าสีแห่งสรีระของภริยาของเราพึงเป็นเหมือนสีแห่งสรีระของพระเถระนั่น’, ในขณะที่ฉันคิดแล้วนั่นเอง เพศชายได้หายไป, เพศหญิงปรากฏขึ้น, เมื่อเป็นเช่นนี้ ฉันไม่อาจบอกแก่ใครได้ ด้วยความละอาย จึงหนีไปจากที่นั้นมา ณ ที่นี้ นาย. สหาย. ตายจริง เธอทำกรรมหนักแล้ว, เหตุไร เธอจึงไม่บอกแก่ฉันเล่า? เออ ก็เธอให้พระเถระอดโทษแล้วหรือ? นาง. ยังไม่ให้ท่านอดโทษเลย นาย, ก็เธอรู้หรือ? พระเถระอยู่ ณ ที่ไหน? สหาย. ท่านอาศัยนครนี้แหละอยู่. นาง. หากว่า ท่านเที่ยวบิณฑบาต พึงมาในที่นี้ไซร้, ฉันพึงถวายภิกษาหารแก่พระผู้เป็นเจ้าของฉัน. สหาย. ถ้ากระนั้น ขอเธอจงรีบทำสักการะไว้, ฉันจักยังพระผู้เป็นเจ้าของเราให้อดโทษ. นางขอขมาพระมหากัจจายนเถระ เธอไปสู่ที่อยู่ของพระเถระ ไหว้แล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนหนึ่งแล้ว เรียนว่า “ท่านขอรับ พรุ่งนี้ นิมนต์ท่านรับภิกษาของกระผม.” พระเถระ. เศรษฐีบุตร ท่านเป็นแขกมิใช่หรือ? เศรษฐีบุตร. ท่านขอรับ ขอท่านอย่าได้ถามความที่กระผมเป็นแขกเลย, พรุ่งนี้ ขอนิมนต์ท่านรับภิกษาของกระผมเถิด. พระเถระรับนิมนต์แล้ว. สักการะเป็นอันมาก เขาได้ตระเตรียมไว้แม้ในเรือนเพื่อพระเถระ. วันรุ่งขึ้น พระเถระได้ไปสู่ประตูเรือน. ขณะนั้น เศรษฐีบุตรนิมนต์ท่านให้นั่งแล้ว อังคาส (เลี้ยงดู) ด้วยอาหารประณีต พาหญิงนั้นมาแล้ว ให้หมอบลงที่ใกล้เท้าของพระเถระ เรียนว่า “ท่านขอรับ ขอท่านจงอดโทษแก่หญิงผู้สหายของกระผม (ด้วย).” พระเถระ. อะไรกันนี่? เศรษฐีบุตร. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ในกาลก่อน คนผู้นี้ได้เป็นสหายที่รักของกระผม พบท่านแล้ว ได้คิดชื่ออย่างนั้น; เมื่อเป็นเช่นนั้น เพศชายของเขาได้หายไป, เพศหญิงได้ปรากฏแล้ว, ขอท่านจงอดโทษเถิด ท่านผู้เจริญ. พระเถระ. ถ้ากระนั้น เธอจงลุกขึ้น, ฉันอดโทษให้แก่เธอ. เขากลับเพศเป็นชายแล้วบวชได้บรรลุอรหัตผล พอพระเถระเอ่ยปากว่า “ฉันอดโทษให้” เท่านั้น เพศหญิงได้หายไป, เพศชายได้ปรากฏแล้ว. เมื่อเพศชาย พอกลับปรากฏขึ้นเท่านั้น. เศรษฐีบุตรในกรุงตักกสิลาได้กล่าวกะเธอว่า “สหายผู้ร่วมทุกข์ เด็กชาย ๒ คนนี้เป็นลูกของเรา แม้ทั้งสองแท้ เพราะเป็นผู้อยู่ในท้องของเธอ (และ) เพราะเป็นผู้อาศัย ฉันเกิด, เราทั้งสองจักอยู่ในนครนี้แหละ, เธออย่าวุ่นวายไปเลย.” โสไรยเศรษฐีบุตรพูดว่า “ผู้ร่วมทุกข์ ฉันถึงอาการอันแปลก คือเดิมเป็นผู้ชาย แล้วถึงความเป็นผู้หญิงอีก แล้วยังกลับเป็นผู้ชายได้อีก โดยอัตภาพเดียว (เท่านั้น); ครั้งก่อน บุตร ๒ คนอาศัยฉันเกิดขึ้น, เดี๋ยวนี้ บุตร ๒ คนคลอดจากท้องฉัน; เธออย่าทำความสำคัญว่า ‘ฉันนั้นถึงอาการอันแปลกโดยอัตภาพเดียว จักอยู่ในเรือนต่อไปอีก, ฉันจักบวชในสำนักแห่งพระผู้เป็นเจ้าของเรา เด็ก ๒ คนนี้จงเป็นภาระของเธอ, เธออย่าเลินเล่อในเด็ก ๒ คนนี้” ดังนี้แล้ว จูบบุตรทั้ง ๒ ลูบ (หลัง) แล้ว มอบให้แก่บิดา ออกไปบวชในสำนักพระเถระ, ฝ่ายพระเถระให้เธอบรรพชาอุปสมบทเสร็จแล้ว พาเที่ยวจาริกไป ได้ไปถึงเมืองสาวัตถีโดยลำดับ. นามของท่านได้มีว่า “โสไรยเถระ.” ชาวชนบทรู้เรื่องนั้นแล้ว พากันแตกตื่นอลหม่านเข้าไปถามว่า “ได้ยินว่า เรื่องเป็นจริงอย่างนั้นหรือ? พระผู้เป็นเจ้า.” พระโสไรยะ. เป็นจริง ผู้มีอายุ. ชาวชนบท. ท่านผู้เจริญ ชื่อว่าเหตุแม้เช่นนี้มีได้ (เทียวหรือ?); เขาลือกันว่า “บุตร ๒ คนเกิดในท้องของท่าน, บุตร ๒ คนอาศัยท่านเกิด” บรรดาบุตร ๒ จำพวกนั้น ท่านมีความสิเนหามากในจำพวกไหน? พระโสไรยะ. ในจำพวกบุตรผู้อยู่ในท้อง ผู้มีอายุ. ชนผู้มาแล้วๆ ก็ถามอยู่อย่างนั้นนั่นแหละเสมอไป. พระเถระบอกแล้วบอกเล่าว่า “มีความสิเนหาในจำพวกบุตรผู้อยู่ในท้องนั้นแหละมาก.” เมื่อรำคาญใจจึงนั่งแต่คนเดียว ยืนแต่คนเดียว. ท่านเข้าถึงความเป็นคนเดียวอย่างนี้ เริ่มตั้งความสิ้นและความเสื่อมในอัตภาพ บรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทาทั้งหลายแล้ว. ต่อมา พวกชนผู้มาแล้วๆ ถามท่านว่า “ท่านผู้เจริญ ได้ยินว่า เหตุชื่ออย่างนี้ได้มีแล้ว จริงหรือ?” พระโสไรยะ. จริง ผู้มีอายุ. พวกชน. ท่านมีความสิเนหามากในบุตรจำพวกไหน? พระโสไรยะ. ขึ้นชื่อว่าความสิเนหาในบุตรคนไหนๆ ของเรา ย่อมไม่มี. ภิกษุทั้งหลายกราบทูลพระศาสดาว่า “ภิกษุรูปนี้พูดไม่จริง ในวันก่อนๆ พูดว่า ‘มีความสิเนหาในบุตรผู้อยู่ในท้องมาก’ เดี่ยวนี้พูดว่า ‘ความสิเนหาในบุตรคนไหนๆ ของเราไม่มี,’ ย่อมพยากรณ์พระอรหัตผล พระเจ้าข้า.” จิตที่ตั้งไว้ชอบดียิ่งกว่าเหตุใดๆ พระศาสดาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย บุตรของเราพยากรณ์อรหัตผลหามิได้, (เพราะว่า) ตั้งแต่เวลาที่บุตรของเรา เห็นมรรคทัสนะ๑- ด้วยจิตที่ตั้งไว้ชอบแล้ว ความสิเนหาในบุตรไหนๆ ไม่เกิดเลย, จิตเท่านั้น ซึ่งเป็นไปในภายในของสัตว์เหล่านี้ ย่อมให้สมบัติที่มารดาบิดาไม่อาจทำให้ได้” ดังนี้แล้ว จึงตรัสพระคาถานี้ว่า ๙. น ตํ มาตา ปิตา กริยา อญฺเญ วาปิ จ ญาตกา สมฺมาปณิหิตํ จิตฺตํ เสยฺยโส นํ ตโต กเร. มารดาบิดา ก็หรือว่าญาติเหล่าอื่น ไม่พึงทำเหตุนั้น (ให้ได้), (แต่) จิตอันตั้งไว้ชอบแล้ว พึงทำเขาให้ประเสริฐกว่าเหตุนั้น. ____________________________ ๑- บาลีบางแห่งว่า มตฺตสฺส ทิฏฺฐกาลโต แต่กาลเห็นมรรค. แก้อรรถ บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า น ตํ ความว่า มารดาบิดา (และ) ญาติเหล่าอื่น ไม่ทำเหตุนั้นได้เลย. บทว่า สมฺมาปณิหิตํ คือ ชื่อว่าตั้งไว้ชอบแล้ว เพราะความเป็นธรรมชาติตั้งไว้ชอบในกุศลกรรมบถ ๑๐. บาทพระคาถาว่า เสยฺยโส นํ ตโต กเร. ความว่า พึงทำคือย่อมทำเขาให้ประเสริฐกว่า คือเลิศกว่า ได้แก่ให้ยิ่งกว่าเหตุนั้น. จริงอยู่ มารดาบิดา เมื่อจะให้ทรัพย์แก่บุตรทั้งหลาย ย่อมอาจให้ทรัพย์สำหรับไม่ต้องทำการงานแล้วเลี้ยงชีพโดยสบาย ในอัตภาพเดียวเท่านั้น, ถึงมารดาบิดาของนางวิสาขา ผู้มีทรัพย์มากมายถึงขนาด มีโภคะมากมาย ได้ให้ทรัพย์สำหรับเลี้ยงชีพโดยสบายแก่นาง ในอัตภาพเดียวเท่านั้น, ก็อันธรรมดามารดาบิดาที่จะสามารถให้สิริ คือความเป็นพระเจ้าจักรพรรดิในทวีปทั้งสี่ ย่อมไม่มีแก่บุตรทั้งหลาย. จะป่วยกล่าวไปไย (ถึงมารดาบิดาผู้ที่สามารถให้) ทิพยสมบัติหรือสมบัติมีปฐมฌานเป็นต้น (จักมีเล่า), ในการให้โลกุตรสมบัติ ไม่ต้องกล่าวถึงเลย. แต่ว่าจิตที่ตั้งไว้ชอบแล้ว ย่อมอาจให้สมบัตินี้ แม้ทั้งหมดได้, เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า “เสยฺยโส นํ ตโต กเร.” ในเวลาจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดาปัตติผลเป็นต้น. เทศนาได้เป็นประโยชน์แก่มหาชน ดังนี้แล. เรื่องพระโสไรยเถระ จบ. จิตตวรรควรรณนา จบ วรรคที่ ๓ จบ www.HyperSmash.com