ข้อมูลอื่นๆ






















พุทธสถานภูปอ

ตั้งอยู่ตำบลภูปอ อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ ห่างจากจังหวัดกาฬสินธุ์ไปทางทิศเหนือประมาณ 28กิโลเมตร ตามเส้นทางหมายเลข 2319 เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปโบราณปางไสยาสน์ ฝีมือช่างจากสมัยทวารวดี จำหลักบนหน้าผา 2 องค์ เป็นที่เคารพบูชาของชาวจังหวัดกาฬสินธุ์และใกล้เคียง องค์แรกประดิษฐานอยู่บนเชิงเขาทางขึ้น องค์ที่ ประดิษฐานอยู่บนภูปอ นอกจากภูปอจะเป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธรูปปางไสยาสน์อันศักดิ์สิทธิ์แล้ว ยังมีทิวทัศน์ตามธรรมชาติที่สวยงามเหมาะแก่การพักผ่อนหย่อนใจอย่างยิ่ง ประชาชนในท้องถิ่นจัดงานสมโภชน์พระพุทธไสยาสน์ขึ้นประมาณเดือนเมษายนของทุกปี 



ภูปอ เป็นเขาหินทราย ตั้งอยู่ที่ ตำบลภูปอ อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ ห่างจากอำเภอเมือง 28 กิโลเมตร ตามทาง หลวงหมายเลข 2319 ยอดเขาสูง 336 เมตร จากระดับน้ำ ทะเลปานกลาง หรือสูง 94 เมตร จากพื้นที่ดินล่างทอดตัว ตามแนวทางตะวันออก-ตะวันตก ฟากเขาด้านทิศเหนือเป็น เขตอำเภอสหัสขันธุ์ ฟากเขาด้านทิศใต้ เป็นเขตอำเภอเมือง กาฬสินธุ์ แหล่งหินศิลปะถ้ำสมัยประวัติศาสตร์ ณ ที่นี้เป็น ภาพสลักรูปพระนอนบนแผ่นหินใต้เพิงผา 2 แห่งอยู่ทาง ฟากเขาด้านตะวันตก ในเขตวัดพระอินทร์ประทานพร บ้าน โพนคำ ตำบลภูปอ อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ ที่รุ้ง 16 องศา 37 ลิปดาเหนือและแวง 103 องศา 38 ลิปดาตะวันออก ภาพ สลัก 2 รูป อยู่บนผาหินต่างระดับกัน ภาพแรกสลักอยู่ผนัง หินใต้เพิงผาเชิงเขา สูงจากพื้นดินราบ (ที่วัด) ประมาณ 5 เมตร ภาพที่สองอยู่บนผนังหินใต้เพิงผา เกือบถึงยอดเขาสูง จากพื้นดินด้านล่างประมาณ 80 เมตร มีบันใดทางขึ้น มีที่ ี่พักเป็นระยะ ๆ

พระพุทธไสยาสน์องค์ที่ 1 (องค์ล่าง)
  
สร้างขึ้นประมาณ พุทธศตวรรษที่ 12-14 ลักษณะศิลปกรรมสร้างตามศิลปกรรมแบบทวารวดี สกุลช่างอีสาน ความยาวของภาพสลัก 3.30 เมตร กว้าง 1.27 เมตร ภาพสลัก ณ ที่นี้มิได้สลักแต่รูปองค์พระลอย ๆ แต่สลักแผ่นพื้นหิน ให้เป็นรูปผ้าปูลาดรองพระองค์ และผ้า (หมอน)รองหนุนพระเศียรและรองพระบาททั้งคู่ รอบ ๆ พระวรกายและพระเศียรสลักเป็นรูปประภาวลีที่เส้นกรอบนอกของประภาวลีรอบพระเศียรสลักรูปดวงดอกไม้เป็นระยะ ทำให้ดูคล้าย เป็นรัศมีเพิ่มขึ้นองค์พระนอนตะแคงข้างขวาตามแบบสีหไสยา พระเศียรประทับบนพระหัตถ์และพระกรข้างขวา หันสู่ทิศเหนือพระพักตร์หันสู่ทิศตะวันตก


พระพุทธไสยาสน์องค์ที่ 2 (องค์บน)  


สร้างขึ้นประมาณพุทธศตวรรษที่ 18-19 ลักาณะศิลปกรรมสร้างตามศิลปกรรมแบบทวารวดี ผสมผสานกับพุทธศิลปะแบบสุโขทัย ความยาวของภาพสลักนับจากประภาวลีเหนือเศียรพระจนถึงขอบเตียงปลายพระบาท 5.20 เมตร ส่วนกว้างที่สุด 1.50 เมตร องค์พระสลักนูนจากผนังขึ้นมา 55เซนติเมตร องค์พระนอนตะแคงขวาตามแบบสีหไสยาพระเศียรหันสู่ทิศเหนือค่อนมาทางตะวันตกเล็กน้อยโดย ลักหินที่รองรับใต้องค์พระ ให้เป็นแท่นขอบเหลี่ยมต่อด้วยขาคู่หนึ่งซึ่งสลักให้ดูเป็นรูปขาเตียง ภาพสลักนี้มีเส้นโค้งเว้า เน้นสัดส่วนและมีลักษณะอ่อนช้อยกว่าภาพสลักโดยทั่วไป



ภาพหินแกะสลักที่อัฟกานิสถาน 






























พระปางสัพพัญญูเสวยวิมุตติสุของค์ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ประดิษฐาน ณ วัดช่องสาริกา ตำบลช่องสาริกา อำเภอ พัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี
พระอาจารย์อนุชา อุปคุตฺโต ท่านเป็นลูกศิษย์หลวงปู่สาวกโลกอุดร ธมฺมปาโล เป็นเจ้าอาวาสผู้ดำริสร้าง ขอเชิญท่านทั้งหลาย ได้ไปกราบสักการะบูชาขอพร เพื่อเป็นมหามงคลของท่านและครอบครัวท่าน พระปางนี้หลวงปู่สาวกโลกอุดร ธมฺมปาโล เป็นผู้ออกแบบสร้าง องค์แรกประดิษฐานที่วัดเขาทองนพคุณภูเก้าในปี พ.ศ.2538.

















                                                   


                                                     

                                                     

                                                         

                                                         


                                                         

                                                           

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น