วันเสาร์ที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2555

พระเจ้าตากสินมหาราช























หลวงปู่ได้เทศน์เรื่องนี้ไว้ตั้งแต่ สสร. ปี40


































กระแสเรียกร้องให้มีการบัญญัติพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยได้เกิดขึ้นอีกครั้งเมื่อต้นปีพุทธศักราช 2550 ชาวพุทธ ๗ องค์หลัก กล่าวคือ มหามกุฏราชวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยองค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลกยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทย, คณะสงฆ์อณัมนิกาย, คณะสงฆ์จีนนิกาย,และ พุทธสมาคมแห่งประเทศไทย ได้เริ่มต้นเรียกร้อง ต่อมา กลุ่มชาวพุทธได้ขยายเพิ่มเป็นไม่น้อยกว่า 300 องค์กรทั่วประเทศและได้ผนึกกำลังกันเรียกร้องขึ้นมา
โดยก่อนหน้านั้น เมื่อพ.ศ. 2546 สมัยรัฐบาลของพันตำรวจโท ดร.ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี นักวิชาการชาวไทยพุทธได้เขียนตำราเรียนวิชาพระพุทธศาสนาในหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการและกล่าวไว้ว่า ‘พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ’ แต่ถูกนายวินัย สะมะอุน ชาวมุสลิม ท้วงติงว่ากล่าวเช่นนั้นไม่ได้ เพราะไม่มีในรัฐธรรมนูญและอาจขัดกับกฎหมายรัฐธรรมนูญด้วย ทำให้กรมวิชาการต้องสั่งให้ตัดประโยคดังกล่าวออกไปจากหนังสือซึ่งเป็นหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ ทุกเล่ม ซึ่งหมายความว่าถ้าจะบอกว่าพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติของไทย ก็จะกล่าวได้แต่เฉพาะในกรณีที่ไม่เป็นทางการเท่านั้น
ในการเรียกร้องครั้งนี้ มีแกนนำพระสงฆ์หลายรูปที่ออกมาสนับสนุน อาทิ พระพรหมมังคลาจารย์ ปัญญานันทภิกขุ, พระพรหมคุณาภรณ์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) , พระธรรมกิตติเมธี, พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร) , พระเทพวิสุทธิกวี (เกษม) , พระศรีญาณโสภณ (สุวิทย์) , พระมหาโช ทัศนีโย ฯลฯ นักวิชาการและชาวพุทธที่เขียนบทความ หรือให้สัมภาษณ์สนับสนุนได้แก่ ศ.เสฐียรพงษ์ วรรณปก ซึ่งเขียนบทความหลายชิ้นลงหนังสือพิมพ์ข่าวสดและมติชนเพื่อสนับสนุน, ดร.ปฐมพงษ์ โพธิ์ประสิทธินันท์ ซึ่งเปิดเวปไซต์ส่วนตัวชี้แจงเหตุผล, นายวรเดช อมรวรพิพัฒน์ กรรมาธิการฯ ประจำรัฐสภา, นายบรรหาร ศิลปอาชา, พลเอก ธงชัย เกื้อสกุล, พลตรี ทองขาว พ่วงรอดพันธุ์, เปลว สีเงิน คอลัมนิสต์ชื่อดัง, นายพิเชียร อำนาจวรประเสริฐ, นายสมเกียรติ ศรลัมพ์ เป็นต้น
เรื่องนี้ได้ยุติลงที่รัฐธรรมนูญ ปี พ.ศ. 2550 ไม่ได้ระบุให้พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ แต่ระบุว่า "รัฐต้องให้ความอุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนาซึ่งเป็นศาสนา ที่ประชาชนชาวไทยส่วนใหญ่นับถือมาช้านาน" ตามมาตรา 79[1]




สาเหตุให้พระศาสนาเสื่อมสูญ

สาเหตุที่ทำให้พระศาสนาเสื่อมสูญไปได้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงทราบล่วงหน้าด้วยพระปรีชาญาณ ได้ตรัสตอบพระมหากัสสป เมื่อได้กราบทูลถาม ขณะทรงประทับอยู่ ณ พระเชตวันวิหาร แขวงเมืองพาราณสี ดังมีรายละเอียด ดังนี้คือ :

พระมหากัสสป กราบทูลถามขึ้นว่า : "เมื่อพระศาสนาแพร่หลายมากขึ้น พุทธบัญญัติก็มากขึ้นโดยลำดับ เหตุใดภิกษุในศาสนาที่แตกฉานในทางธรรมกลับลดน้อยลง"

พระบรมศาสดาก็ได้ทรงแสดงมูลเหตุให้ฟังและได้ทรงเน้นว่า : "การที่มีผู้นำเอาคำสั่งสอนนอกศาสนามาอ้างอิงว่าเป็นคำสั่งสอนของพระองค์ เป็นมูลเหตุสำคัญอย่างหนึ่ง ที่จะทำให้คุณค่าของศาสนาน้อยลง"

พระมหากัสสป ได้กราบทูลถามปัญหาต่อไปว่า : "พระศาสนาจะสูญสิ้นไปจากโลก ด้วยเหตุใดบ้าง"

พระบรมศาสดาตรัสตอบว่า : สิ่งต่างๆในโลกนี้ จะทำลายศาสนาให้สูญสิ้นไปหาได้ไม่ แต่พุทธบริษัท ๔ เท่านั้น ที่จะทำให้ศาสนาสูญสิ้นไป ด้วยเหตุ ๕ ประการ คือ :

๑.พุทธบริษัท ไม่เคารพในพระศาสดาของตน
๒.พุทธบริษัท ไม่ตระหนักในธรรม
๓.พุทธบริษัท ไม่คารวะต่อสงฆ์
๔.พุทธบริษัท ไม่ตั้งใจศึกษาธรรม
๕.พุทธบริษัท ไม่สนใจในการทำสมาธิ



พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔
อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
ปริกุปปสูตร
[๑๒๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๕ จำพวกนี้ เป็นผู้ต้องไปอบาย
ต้องไปนรก เดือดร้อน แก้ไขไม่ได้
๕ จำพวกเป็นไฉน คือ
บุคคลผู้ฆ่ามารดา ๑
ผู้ฆ่าบิดา ๑
ผู้ฆ่าพระอรหันต์ ๑
ผู้มีจิตประทุษร้ายทำโลหิตของพระตถาคตให้ห้อ ๑
ผู้ทำลายสงฆ์ให้แตกกัน ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๕ จำพวกนี้แล เป็นผู้ต้องไปอบาย
ต้องไปนรก เดือดร้อน แก้ไขไม่ได้ ฯ
จบสูตรที่ ๙










เปิดรายชื่อ สสร.ที่คัดค้านและสนับสนุนบรรจุศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติ
ประกาศแจ้งอนุโมทนาชื่นชมและแจ้งพิจารณารายนามดังต่อไปนี้ โดยทั่วกันทั่วราชอาณาจักรไทยและชาวพุทธทั่วโลก ทราบ

ประกาศให้พิจารณา ๖๖ รายชื่อไม่เห็นด้วย (คนไม่เอาพระพุทธศาสนา)

1.นางกรรณิการ์ บันเทิงจิตร
2.นายกล้านรงค์ จันทิก
3.นายกิตติ ตีรเศรษฐ
4.นายเกริกเกียรติ พิพัฒน์เสรีธรรม
5.นายเกียรติชัย พงษ์พาณิชย์
6.นายคมสัน โพธิ์คง
7.นายจุตินันท์ ภิรมย์ภักดี
8.นายเจริญศักดิ์ โรจนฤทธิ์พิเชษฐ์
9.นายเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง
10.นายชาติชาย เจียมศรีพงษ์
11.นายชาลี กางอิ่ม
12.นายชูชัย ศุภวงศ์
13.นายโชคชัย อักษรนันท์
14.นางดวงสุดา เตโชติรส
15.นายธนพิชญ์ มูลพฤกษ์
16.พล.ต.ท.ธรรมนิตย์ ปิตะนีละบุตร
17.นายธวัช บวรนิชยกูร
18.นายธิติพันธุ์ เชื้อบุญชัย
19.นายนครินทร์ เมฆไตรรัตน์
20.นายนิตย์ วังวิวัฒน์
21.นายปกรณ์ ปรียากร
22.นายประดิษฐ์ เหลืองอร่าม
23.นายประพันธ์ นัยโกวิท
24.นายประวิทย์ อัครชิโนเรศ
25.นายประสงค์ พิทูรกิจจา
26.นาง พรรณราย แสงวิเชียร
27.น.ส.พวงเพชร สารคุณ
28.นายพิสิฐ ลี้อาธรรม
29.พล.ร.อ.พีรศักดิ์ วัชรมูล
30.นายไพบูลย์ วราหะไพฑูรย์
31.นายไพโรจน์ พรหมสาส์น
32.นายมานิจ สุขสมจิตร
33.นายรัฐ ชูกลิ่น
34.นางรุจิรา เตชางกูร
35.นายโอรส วงษ์สิทธิ์
36.นายวัชรา หงส์ประภัศร
37.นายวิชัย รูปขำดี
38.นายวิชา มหาคุณ
39.นายวิทยา บริบูรณ์ทรัพย์
40.นายวิทยา งานทวี
41.นายวุฒิชาติ กัลยาณมิตร
42.นายวุฒิสาร ตันไชย
43.นายศรีราชา เจริญพานิช ***
44.นายศักดิ์ชัย อุ่นจิตติกุล
45.นายศักดิ์นรินทร์ เขื่อนอ้น
46.นางสดศรี สัตยธรรม ***
47.นายสนั่น อินทรประเสริฐ
48.นายสมเกียรติ รอดเจริญ
49.นายสมคิด เลิศไพฑูรย์
50.นายมีชัย ฤชุพันธุ์
51.นายสมยศ สมวิวัฒน์ชัย
52.นายสวิง ตันอุด
53.นายสามขวัญ พนมขวัญ
54. นายสุนทร จันทร์รังสี
55.นายสุรพล พงษ์ทัดศิริกุล
56.นายเสริมเกียรติ วรดิษฐ์
57.นายเสรี นิมะยุ
58.นายหลักชัย กิตติพล
59.นายอนุศาสน์ สุวรรณมงคล
60.นายอภิชาติ ดำดี
61.นายอรัญ ธรรมโน
62.น.ส.อลิสา พันธุศักดิ์
63.นายอัครวิทย์ สุมาวงศ์
64.นางอังคณา นีละไพจิตร
65.(สำรอง01)
66.(สำรอง03)


ประกาศอนุโมทนา ๑๙ เสียงสนับสนุน

1.นาย ช.ชัยนาท ศรีเสมาเมือง
2.นายชาติชาย แสงสุข
3.นายชำนาญ ภูมิลัย
4.นายไชยยศ เหมะรัชตะ
5. นายธีรวัฒน์ ร่มไทรทอง
6. นายนุรักษ์ มาประณีต
7.นางพิเชียร อำนาจวรประเสริฐ
8.นายมนตรี เพชรขุ้ม
9.นางมนูญศรี โชติเทวัญ
10.นายวิชัย เรืองเริงกุลฤทธิ์
11.นายวิทยา คชเขื่อน
12.นายวีนัส ม่านมุงศิลป์
13.นายศิวะ แสงมณี
14.นายเศวต ทินกูล
15.นายสวัสดิ์ โชติพานิช
16.นายสว่าง ภู่พัฒน์วิบูลย์
17. นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย
18.นายอรรครัตน์ รัตนจันทร์
19.น.ส.อาภา อรรถบูรณ์วงศ์


งดออกเสียง

1.นายกนก โตสุรัตน์
2.นายการุณ ใสงาม ***
3.นายปริญญา ศิริสารการ
4.พล.ต.อ.มีชัย นุกูลกิจ

ไม่ลงคะแนนเสียง

1.นายกฤษฎา ให้วัฒนานุกูล

หมายเหตุ — ผลการลงคะแนนเสียงของสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ ในการแปรญัตติมาตรา 2 เรื่องการบรรจุศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติ โดย 66 คน ไม่เห็นด้วย ขณะที่มีเพียง 19 เสียงที่เห็นควรบัญญัติให้พุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ
น่าอนาจใจเมืองพุทธโดยแท้ นี่คือจุดร้าวก้าวเข้าสู่จุดเสื่อมอย่างแท้จริง เสียงสนับสนุนจากคนพุทธแค่ครึ่งก็ยังไม่ได้ มันขายขี้หน้านัก.



ที่มา: PANTIP.COM




ถาม ที่ผ่านมารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยเคยบัญญัติให้พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติจริงหรือไม่

ตอบ ไม่จริง รัฐธรรมนูญที่ผ่านไม่เคยมีการบัญญัติให้พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ ผู้ร่างที่ผ่านมาให้เหตุผลว่า ไม่ต้องการให้ศาสนาเข้ามาเกี่ยวข้องกับการเมืองการปกครอง และ ป้องกันการแตกแยกของคนในชาติในมิติของศาสนา

ถาม หากบรรจุพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติแล้ว จะทำให้ประเทศชาติแตกแยกมากยิ่งขึ้น และ อาจจะทำให้ปัญหาในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้รุนแรงมากยิ่งขึ้น

ตอบ เป็นเรื่องที่หลายฝ่ายคาดเดากันไปเองล่วงหน้า ที่ผ่านมาประเทศไทยก็ไม่เคยมีความแตกแยกกันทางด้านศาสนาอย่างรุนแรง และถึงแม้ที่ผ่านมาจะไม่มีการบรรจุศาสนาประจำชาติ ปัญหาในสามจังหวัดก็ยังคงรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากสาเหตุของปัญหาไม่ใช่ความแตกแยกทางศาสนา แต่เป็นเรื่องความอยุติธรรมในพื้นที่ ความต้องการแยกดินแดน และ ความแตกต่างทางด้านชาติพันธ์ วัฒนธรรม ระหว่างไทยกับมลายู ศาสนาเพียงถูกดึงไปใช้เป็นเครื่องมือในภายหลังเท่านั้น ดังนั้นหากมีการบัญญัติศาสนาประจำชาติ เหตุการณ์จะรุนแรงขึ้นหรือทุเลาลง มันขึ้นอยู่กับหลายๆ ปัจจัย เช่น หากบรรจุแล้วเกิดแนวคิดศาสนานิยมแล้วไปออกกฎหมายรังแกศาสนาอื่น อันนี้ก็จะทำให้เกิดปัญหารุนแรง หรือ หากบรรจุแล้วมีการออกกฎหมายลูก หรือ มีการให้ความสำคัญในการนำพระธรรมคำสอนไปประยุกต์ใช้การบริหารราชการแผ่นดินหรือแก้ปัญหาของชาติ ก็จะสามารถทำให้บ้านเมืองเกิดความสงบสุขได้ ขึ้นอยู่กับ ใครจะเอาข้อความดังกล่าวไปใช้ประโยชน์อย่างไร เหมือนดาบสองคม

ถาม ศาสนาเป็นของสูง รัฐธรรมนูญเป็นของต่ำดังนั้น เราไม่ควรเอาศาสนาไปใส่ไว้ในรัฐธรรมนูญ เพราะ รัฐธรรมนูญเปลี่ยนได้ โดนฉีกบ่อย

ตอบ สถาบันชาติเป็นของสูง สถาบันพระมหากษัตริย์เป็นของสูง รัฐธรรมนูญก็ตั้งอยู่บนพานทองสองชั้น นั่นก็แสดงว่าเป็นของสูง ดังนั้นแนวคิดดังกล่าวเป็นเรื่องที่ไม่มีเหตุผลและไม่สมควรเอามาเป็นข้อกล่าวแย้งในเรื่องการไม่บรรจุศาสนาประจำชาติ

ถาม หากบัญญัติพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติไว้ในรัฐธรรมนูญแล้ว จะทำให้ประชาชนชาวไทยสามารถธำรงค์รักษาพระพุทธศาสนาไว้ตราบนานเท่านาน และ จะทำให้พระศาสนาเจริญรุ่งเรื่องสถาพร

ตอบ ไม่จริง การบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ เป็นเพียงการประกาศข้อเท็จจริง ในเอกลักษณ์ของชาติเท่านั้น เช่น ประเทศไทยปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข การเขียนในรัฐธรรมนูญเป็นเพียงการเขียนเพื่อเทิดทูนและให้ความเคารพในพระพุทธศาสนาเท่านั้น ไม่มีผล หรือ ส่งผลให้เกิดการทำนุบำรุงพระศาสนาในทางปฏิบัติแต่อย่างใด การทำนุบำรุงหรือส่งเสริมกิจการพระศาสนานั้นอยู่ในมือของพุทธบริษัทสี่เท่านั้น การออกกฎหมายลูก หรือ การตราพระราชบัญญัติต่างๆที่เกี่ยวข้องจะมีผลส่งเสริมพระพุทธศาสนามากกว่าการเขียนบัญญัติศาสนาประจำชาติ

ถาม เหตุใดเราจึงไม่แยก รัฐ และ ศาสนา ออกจากกันอย่างสิ้นเชิงเหมือนประเทศอเมริกา

ตอบ อเมริกา เป็นประเทศที่ไม่มีรากทางวัฒนธรรมประกอบขึ้นมาจากชนหลายชาติ หลายภาษา และ หลายศาสนา แตกต่างจากประเทศไทย ที่คนส่วนใหญ่ผูกพันนับถือพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย พระมหากษัตริย์ทุกๆพระองค์ก็ผูกพันอยู่กับพุทธศาสนามากว่าเจ็ดร้อยปี รัฐธรรมนูญของไทยนั้นใช้รูปแบบคล้ายคลึงกับของประเทศอังกฤษนั้นคือใช้สถาบันพระมหากษัตริย์เป็นตัวเชื่อมสถาบันศาสนา โดยการบังคับกำหนดการเลือกนับถือศาสนาให้กับสถาบันพระมหากษัตริย์ ดังนั้นรัฐธรรมนูญของไทยจึงได้กำหนดให้พระมหากษัตริย์ทรงเป็นพุทธมามกะมาตลอด เหมือนกับที่ประเทศอังกฤษกำหนดให้สมเด็จพระราชินีต้องนับถือคริสต์นิกายแองกิกลัน

ถาม หากกำหนดให้พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติแล้ว จะทำให้ศาสนาอื่นไม่ได้รับความคุ้มครองอย่างเท่าเทียมกัน

ตอบ ไม่จริง รัฐธรรมนูญมาตรา 78 ได้เขียนไว้ ว่ารัฐจะต้องให้ความคุ้มครองศาสนาอื่นๆ และ พระพุทธศาสนา อย่างเท่าเทียมกัน

ถาม หากบรรจุพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติแล้ว จะทำให้ภัยที่คุกคามพระพุทธศาสนาหมดไปจริงหรือไม่

ตอบ ไม่จริง ภัยที่จะทำให้พระศาสนาเสื่อมนั้น มีทั้งจากภายนอกและภายใน พระพุทธเจ้าทรงให้ความสำคัญกับภัยภายในมากกว่าภัยภายนอก ภัยภายในคือการที่พระภิกษุไม่ประพฤติตนอยู่ในพระธรรมวินัย บิดเบือนพระธรรมวินัย พุทธบริษัทไม่ให้ความสำคัญกับพระธรรมคำสั่งสอน ไม่นำพระธรรมคำสั่งสอนไปปฏิบัติ ไม่ทำนุบำรุงพระศาสนา การบัญญัติในรัฐธรรมนูญ เป็นเรื่องของการเทิดทูนพระพุทธศาสนาเป็นลายลักษณ์อักษรในกฎหมายสูงสุดของประเทศ ไม่ได้มีผลทำให้ภัยที่คุกคามพระพุทธศาสนาลดน้อยถอยลง แต่ เป็นหน้าที่ของพุทธบริษัทต่างหากที่จะต้องช่วยกันป้องภัยของพระพุทธศาสนาไม่ใช่การหวังพึ่งข้อความในรัฐธรรมนูญโดยไม่ทำอะไร

ถาม ที่เขาบอกว่า พระพุทธศาสนาจะรุ่งเรืองหรือประจำชาติอยู่ที่การปฏิบัติตนพุทธบริษัทสี่ ไม่ใช่อยู่ที่การบัญญัติศาสนาประจำชาติในรัฐธรรมนูญ

ตอบ ถูกต้อง พระพุทธศาสนาจะรุ่งเรืองหรือเสื่อมลง อยู่ที่การปฏิบัติตนของพุทธบริษัท เช่น พระสงฆ์ประพฤติตนอยู่ในพระธรรมวินัย อุบาสก อุบาสิกา น้อมเอาพระธรรมคำสั่งสอนไปใช้ และ ฆราวาสชนชั้นปกครองให้ความเอาใจใส่ เทิดทูน คุ้มครองพระอริยสงฆ์และพระพุทธศาสนา การตราพระราชบัญญัติ หรือ การเขียนบัญญัติข้อความที่เทิดทูนพระพุทธศาสนาลงในรัฐธรรมนูญ เป็นเพียงวิธีการหนึ่งของการเทิดทูนพระพุทธศาสนาในมิติของกฎหมายเท่านั้น

ประเทศเวียดนามใต้เป็นตัวอย่างหนึ่งของการที่ชนชั้นปกครองไม่ใช่พุทธศาสนิกชน แต่ประชาชนส่วนใหญ่นับถือพุทธ เมื่อชนชั้นปกครองไม่ศรัทธาในศาสนาพุทธก็มีการออกกฎหมายทำลายพระพุทธศาสนา ประเทศเกาหลีใต้ก็เช่นกัน เมื่อมีประธานาธิบดีนับถือศาสนาอื่น ก็ละเลยไม่ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา จนทำให้ประชากรจากเดิมที่เคยนับถือพุทธอยู่ถึง 80 % ลดลงเหลือ 40 % ในปัจจุบัน เหตุการณ์การณ์แบบนี้เคยเกิดขึ้นมาแล้วเมื่อครั้งที่พระพุทธศาสนาเริ่มเสื่อมไปจากอินเดียเช่นกัน

ถาม ประเทศไทยในเวลานี้เหมาะสมหรือไม่สำหรับการ บัญญัติให้พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติในรัฐธรรมนูญ

ตอบ หากดูแง่มุมต่างๆ ในรัฐธรรมนูญ เรามีข้อบังคับให้สถาบันพระมหากษัตริย์เป็นพุทธมามกะ เรามีข้อความที่ระบุให้มีการคุ้มครองพระพุทธศาสนาในมาตรา 78 บางท่านอาจจะคิดว่าไม่เพียงพอ และ ต้องการเทิดทูนพระพุทธศาสนามากกว่าที่เป็นอยู่ การบัญญัติให้พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติก็สามารถทำได้ เพราะเป็นข้อเท็จจริงอยู่แล้วว่าพุทธศาสนาเป็นศาสนาของคนส่วนใหญ่ ในขณะที่บางคนอาจจะมองว่า บัญญัติต่างๆที่มี่อยู่เดิมนั้นเพียงพออยู่แล้วที่จะทำนุบำรุงพระศาสนา ไม่จำเป็นต้องไปเขียนข้อความเพิ่มเติมให้ซ้ำซ้อนและไม่จำเป็น

อันนี้ก็แล้วแต่คนจะมอง เพราะ มุมมองและความรู้สึกของแต่ละคนไม่เหมือนกัน แต่ต้องมาดูข้อเท็จจริงกันว่า บัญญัติแล้วแย่จริงแบบที่เขาว่าหรือเปล่า หรือ ไม่บัญญัติแล้วจะแย่เหมือนที่เขาว่าหรือเปล่า ต้องพิจารณากันเอง

ถาม ที่ผ่านมารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยเคยบัญญัติให้พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติจริงหรือไม่

ตอบ ไม่จริง รัฐธรรมนูญที่ผ่านไม่เคยมีการบัญญัติให้พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ ผู้ร่างที่ผ่านมาให้เหตุผลว่า ไม่ต้องการให้ศาสนาเข้ามาเกี่ยวข้องกับการเมืองการปกครอง และ ป้องกันการแตกแยกของคนในชาติในมิติของศาสนา

ถาม หากบรรจุพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติแล้ว จะทำให้ประเทศชาติแตกแยกมากยิ่งขึ้น และ อาจจะทำให้ปัญหาในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้รุนแรงมากยิ่งขึ้น

ตอบ เป็นเรื่องที่หลายฝ่ายคาดเดากันไปเองล่วงหน้า ที่ผ่านมาประเทศไทยก็ไม่เคยมีความแตกแยกกันทางด้านศาสนาอย่างรุนแรง และถึงแม้ที่ผ่านมาจะไม่มีการบรรจุศาสนาประจำชาติ ปัญหาในสามจังหวัดก็ยังคงรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากสาเหตุของปัญหาไม่ใช่ความแตกแยกทางศาสนา แต่เป็นเรื่องความอยุติธรรมในพื้นที่ ความต้องการแยกดินแดน และ ความแตกต่างทางด้านชาติพันธ์ วัฒนธรรม ระหว่างไทยกับมลายู ศาสนาเพียงถูกดึงไปใช้เป็นเครื่องมือในภายหลังเท่านั้น ดังนั้นหากมีการบัญญัติศาสนาประจำชาติ เหตุการณ์จะรุนแรงขึ้นหรือทุเลาลง มันขึ้นอยู่กับหลายๆ ปัจจัย เช่น หากบรรจุแล้วเกิดแนวคิดศาสนานิยมแล้วไปออกกฎหมายรังแกศาสนาอื่น อันนี้ก็จะทำให้เกิดปัญหารุนแรง หรือ หากบรรจุแล้วมีการออกกฎหมายลูก หรือ มีการให้ความสำคัญในการนำพระธรรมคำสอนไปประยุกต์ใช้การบริหารราชการแผ่นดินหรือแก้ปัญหาของชาติ ก็จะสามารถทำให้บ้านเมืองเกิดความสงบสุขได้ ขึ้นอยู่กับ ใครจะเอาข้อความดังกล่าวไปใช้ประโยชน์อย่างไร เหมือนดาบสองคม

ถาม ศาสนาเป็นของสูง รัฐธรรมนูญเป็นของต่ำดังนั้น เราไม่ควรเอาศาสนาไปใส่ไว้ในรัฐธรรมนูญ เพราะ รัฐธรรมนูญเปลี่ยนได้ โดนฉีกบ่อย

ตอบ สถาบันชาติเป็นของสูง สถาบันพระมหากษัตริย์เป็นของสูง รัฐธรรมนูญก็ตั้งอยู่บนพานทองสองชั้น นั่นก็แสดงว่าเป็นของสูง ดังนั้นแนวคิดดังกล่าวเป็นเรื่องที่ไม่มีเหตุผลและไม่สมควรเอามาเป็นข้อกล่าวแย้งในเรื่องการไม่บรรจุศาสนาประจำชาติ

ถาม หากบัญญัติพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติไว้ในรัฐธรรมนูญแล้ว จะทำให้ประชาชนชาวไทยสามารถธำรงค์รักษาพระพุทธศาสนาไว้ตราบนานเท่านาน และ จะทำให้พระศาสนาเจริญรุ่งเรื่องสถาพร

ตอบ ไม่จริง การบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ เป็นเพียงการประกาศข้อเท็จจริง ในเอกลักษณ์ของชาติเท่านั้น เช่น ประเทศไทยปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข การเขียนในรัฐธรรมนูญเป็นเพียงการเขียนเพื่อเทิดทูนและให้ความเคารพในพระพุทธศาสนาเท่านั้น ไม่มีผล หรือ ส่งผลให้เกิดการทำนุบำรุงพระศาสนาในทางปฏิบัติแต่อย่างใด การทำนุบำรุงหรือส่งเสริมกิจการพระศาสนานั้นอยู่ในมือของพุทธบริษัทสี่เท่านั้น การออกกฎหมายลูก หรือ การตราพระราชบัญญัติต่างๆที่เกี่ยวข้องจะมีผลส่งเสริมพระพุทธศาสนามากกว่าการเขียนบัญญัติศาสนาประจำชาติ

ถาม เหตุใดเราจึงไม่แยก รัฐ และ ศาสนา ออกจากกันอย่างสิ้นเชิงเหมือนประเทศอเมริกา

ตอบ อเมริกา เป็นประเทศที่ไม่มีรากทางวัฒนธรรมประกอบขึ้นมาจากชนหลายชาติ หลายภาษา และ หลายศาสนา แตกต่างจากประเทศไทย ที่คนส่วนใหญ่ผูกพันนับถือพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย พระมหากษัตริย์ทุกๆพระองค์ก็ผูกพันอยู่กับพุทธศาสนามากว่าเจ็ดร้อยปี รัฐธรรมนูญของไทยนั้นใช้รูปแบบคล้ายคลึงกับของประเทศอังกฤษนั้นคือใช้สถาบันพระมหากษัตริย์เป็นตัวเชื่อมสถาบันศาสนา โดยการบังคับกำหนดการเลือกนับถือศาสนาให้กับสถาบันพระมหากษัตริย์ ดังนั้นรัฐธรรมนูญของไทยจึงได้กำหนดให้พระมหากษัตริย์ทรงเป็นพุทธมามกะมาตลอด เหมือนกับที่ประเทศอังกฤษกำหนดให้สมเด็จพระราชินีต้องนับถือคริสต์นิกายแองกิกลัน

ถาม หากกำหนดให้พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติแล้ว จะทำให้ศาสนาอื่นไม่ได้รับความคุ้มครองอย่างเท่าเทียมกัน

ตอบ ไม่จริง รัฐธรรมนูญมาตรา 78 ได้เขียนไว้ ว่ารัฐจะต้องให้ความคุ้มครองศาสนาอื่นๆ และ พระพุทธศาสนา อย่างเท่าเทียมกัน

ถาม หากบรรจุพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติแล้ว จะทำให้ภัยที่คุกคามพระพุทธศาสนาหมดไปจริงหรือไม่

ตอบ ไม่จริง ภัยที่จะทำให้พระศาสนาเสื่อมนั้น มีทั้งจากภายนอกและภายใน พระพุทธเจ้าทรงให้ความสำคัญกับภัยภายในมากกว่าภัยภายนอก ภัยภายในคือการที่พระภิกษุไม่ประพฤติตนอยู่ในพระธรรมวินัย บิดเบือนพระธรรมวินัย พุทธบริษัทไม่ให้ความสำคัญกับพระธรรมคำสั่งสอน ไม่นำพระธรรมคำสั่งสอนไปปฏิบัติ ไม่ทำนุบำรุงพระศาสนา การบัญญัติในรัฐธรรมนูญ เป็นเรื่องของการเทิดทูนพระพุทธศาสนาเป็นลายลักษณ์อักษรในกฎหมายสูงสุดของประเทศ ไม่ได้มีผลทำให้ภัยที่คุกคามพระพุทธศาสนาลดน้อยถอยลง แต่ เป็นหน้าที่ของพุทธบริษัทต่างหากที่จะต้องช่วยกันป้องภัยของพระพุทธศาสนาไม่ใช่การหวังพึ่งข้อความในรัฐธรรมนูญโดยไม่ทำอะไร

ถาม ที่เขาบอกว่า พระพุทธศาสนาจะรุ่งเรืองหรือประจำชาติอยู่ที่การปฏิบัติตนพุทธบริษัทสี่ ไม่ใช่อยู่ที่การบัญญัติศาสนาประจำชาติในรัฐธรรมนูญ

ตอบ ถูกต้อง พระพุทธศาสนาจะรุ่งเรืองหรือเสื่อมลง อยู่ที่การปฏิบัติตนของพุทธบริษัท เช่น พระสงฆ์ประพฤติตนอยู่ในพระธรรมวินัย อุบาสก อุบาสิกา น้อมเอาพระธรรมคำสั่งสอนไปใช้ และ ฆราวาสชนชั้นปกครองให้ความเอาใจใส่ เทิดทูน คุ้มครองพระอริยสงฆ์และพระพุทธศาสนา การตราพระราชบัญญัติ หรือ การเขียนบัญญัติข้อความที่เทิดทูนพระพุทธศาสนาลงในรัฐธรรมนูญ เป็นเพียงวิธีการหนึ่งของการเทิดทูนพระพุทธศาสนาในมิติของกฎหมายเท่านั้น

ประเทศเวียดนามใต้เป็นตัวอย่างหนึ่งของการที่ชนชั้นปกครองไม่ใช่พุทธศาสนิกชน แต่ประชาชนส่วนใหญ่นับถือพุทธ เมื่อชนชั้นปกครองไม่ศรัทธาในศาสนาพุทธก็มีการออกกฎหมายทำลายพระพุทธศาสนา ประเทศเกาหลีใต้ก็เช่นกัน เมื่อมีประธานาธิบดีนับถือศาสนาอื่น ก็ละเลยไม่ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา จนทำให้ประชากรจากเดิมที่เคยนับถือพุทธอยู่ถึง 80 % ลดลงเหลือ 40 % ในปัจจุบัน เหตุการณ์การณ์แบบนี้เคยเกิดขึ้นมาแล้วเมื่อครั้งที่พระพุทธศาสนาเริ่มเสื่อมไปจากอินเดียเช่นกัน

ถาม ประเทศไทยในเวลานี้เหมาะสมหรือไม่สำหรับการ บัญญัติให้พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติในรัฐธรรมนูญ

ตอบ หากดูแง่มุมต่างๆ ในรัฐธรรมนูญ เรามีข้อบังคับให้สถาบันพระมหากษัตริย์เป็นพุทธมามกะ เรามีข้อความที่ระบุให้มีการคุ้มครองพระพุทธศาสนาในมาตรา 78 บางท่านอาจจะคิดว่าไม่เพียงพอ และ ต้องการเทิดทูนพระพุทธศาสนามากกว่าที่เป็นอยู่ การบัญญัติให้พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติก็สามารถทำได้ เพราะเป็นข้อเท็จจริงอยู่แล้วว่าพุทธศาสนาเป็นศาสนาของคนส่วนใหญ่ ในขณะที่บางคนอาจจะมองว่า บัญญัติต่างๆที่มี่อยู่เดิมนั้นเพียงพออยู่แล้วที่จะทำนุบำรุงพระศาสนา ไม่จำเป็นต้องไปเขียนข้อความเพิ่มเติมให้ซ้ำซ้อนและไม่จำเป็น

อันนี้ก็แล้วแต่คนจะมอง เพราะ มุมมองและความรู้สึกของแต่ละคนไม่เหมือนกัน แต่ต้องมาดูข้อเท็จจริงกันว่า บัญญัติแล้วแย่จริงแบบที่เขาว่าหรือเปล่า หรือ ไม่บัญญัติแล้วจะแย่เหมือนที่เขาว่าหรือเปล่า ต้องพิจารณากันเอง

ที่มา:ลานธรรม




เมื่อคณะสงฆ์ธรรมยุตอ้าง นานาสังวาส
มาปฏิบัติอย่างเคร่งครัด ตามพระธรรมวินัย ใน ๖๐ ปีที่แล้ว

พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.๒๔๘๔ ประกาศใช้เมื่อวันที่ ๑๔ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๘๔ และจะครบกำหนด ๘ ปี ในวันที่ ๑๔ ตุลาคม ๒๔๙๒ ซึ่งคณะสงฆ์มหานิกาย และ ธรรมยุติกนิกาย จะต้องมายุบรวมเป็น อันหนึ่ง อันเดียวกัน ตามความในมาตรา ๖๐ ของ พ.ร.บ. คณะสงฆ์ พ.ศ.๒๔๘๔

แต่ก่อนจะถึงวาระสำคัญดังกล่าวนั้น พระมหาเถรานุเถระฝ่ายธรรมยุติกนิกาย ได้เซ็นชื่อ ร่วมกัน ยื่นหนังสือ กราบทูลแด่สมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า สกลมหาสังฆ ปริณายก โดยชูธงแห่งสิทธิ เสรีภาพ ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย เพื่อต้านอำนาจรัฐมิให้ดำเนินการรวม นิกายสงฆ์ ให้เป็นอันหนึ่ง อันเดียวกัน ตลอดจนได้อ้างหลัก "นานาสังวาส" ตามพระธรรมวินัย ขึ้นมาเป็น ประเด็นสำคัญ ในการต่อสู้

สำหรับเนื้อหาเฉพาะ "นานาสังวาส" ที่พระมหาเถรานุเถระฝ่ายธรรมยุติกนิกาย ยกใช้มาอ้าง เพื่อคัดค้าน การรวมสงฆ์ ให้เป็นนิกายเดียวกัน เมื่อ ๖๐ ปีที่แล้ว มีดังต่อไปนี้


--------------------------------------------------------------------------------

(สำเนา หนังสือร้องเรียนฯ)

วันที่ ๕ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๔๙๐
เรื่อง พ.ร.บ. คณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๔๘๔
ขอประทานกราบทูล สกลมหาสังฆปริณายก ทรงทราบ

จำเดิมแต่ได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พุทธศักราช ๒๔๘๔ มาจนบัดนี้ เป็นเวลา ย่างเข้า ๗ ปีแล้ว เกล้ากระหม่อมทั้งหลาย ผู้เป็นพระภิกษุในคณะธรรมยุติกนิกาย ซึ่งมีหน้าที่ เกี่ยวกับการคณะสงฆ์ ได้สังเกต การปฏิบัติ ตาม พ.ร.บ.นี้ ปรากฏว่ามีผลเสียหาย แก่การ พระศาสนา เป็นอย่างมาก กล่าวคือ เสียหลักการปกครอง ตามพระธรรมวินัย เสียเวลา เสียแรง ทั้งเพิ่มความสิ้นเปลืองโดยเปล่าประโยชน์ และเมื่อกล่าวด้วยความเห็น ก็ไม่เป็น ที่พึงประสงค์ ของคณะธรรมยุติกนิกาย ที่จะรับปฏิบัติตามพ.ร.บ. ฉบับนี้ เพราะ พ.ร.บ. ฉบับนี้ มีข้อผิดพลาดบกพร่อง หลายประการ มีอาทิ คือ

๑. ขัดแย้งกับพระวินัย ผู้ที่บวชในพระพุทธศาสนาโดยตรง มุ่งอุทิศพระสัมมาสัมพุทธะ ครั้นบวชแล้ว จะทรงภาวะ ภิกษุอยู่ได้ ก็ด้วยเคารพปฏิบัติตามพระวินัย พระวินัยจึงเป็นที่เกิด และ เป็นชีวิตของ ความเป็น ภิกษุ พระสงฆ์ดำรง ยั่งยืน มาได้ถึง ๒๕๐๐ ปีเศษ และการปกครอง สังฆมณฑล ซึ่งเป็นไปด้วยดี ก็เพราะ ผู้บวชยึดพระวินัยเป็นหลักปฏิบัติ โดยเฉพาะ ประเทศไทย เมื่อพระพุทธศาสนาแผ่มาถึง ชาวไทยก็ได้มี ศรัทธาปสาทะ ต้อนรับ นับถือ และอุปถัมภ์ สังฆมณฑล ให้เป็นไปด้วยดีตามพระวินัย

ในชั้นเดิม การปกครองคณะสงฆ์เป็นไปแต่ลำพังพุทธจักร ด้วยอาศัยพระวินัยเป็นหลัก ดังกล่าว และอนุวัตร ศาสนประเพณี ที่เป็นไปตามพระพุทธจรรยาหรือวินัยนิยม แต่ต่อมา มีผู้บวช ที่เป็นอลัชชี ปราศจากหิริ โอตตัปปะ ประพฤติ ล่วงพระวินัย ทำให้พระศาสนา เศร้าหมอง เพื่อรักษาไว้ซึ่งพระวินัย ทางฝ่ายอาณาจักร จึงเข้าสนับสนุน จนถึงตั้งกรมธรรมการ และตรากฎหมายพระสงฆ์ขึ้นช่วย การปกครองสังฆมณฑล จึงเป็นมา ด้วยดี เมื่อกล่าว โดยสรุป ก็คือ ยึดพระวินัยและศาสนประเพณีเป็นหลัก และมีกฎหมายบ้านเมือง เป็นเครื่อง สนับสนุน การออกกฎหมาย บ้านเมือง ด้วยไม่คำนึงถึงพระวินัยนั้น ไม่เป็นทางที่จะให้ บรรพชิต เป็นพระที่ดีได้

ผู้ออกกฎหมายให้พระปฏิบัติขัดแย้งกับพระวินัย ย่อมได้ชื่อว่าบั่นทอนพระพุทธศาสนา ไม่งาม ในทาง ประวัติศาสตร์ ทำความยุ่งยาก ให้แก่คณะสงฆ์ เพราะเมื่อออกกฎหมายแล้ว ถ้าไม่ปฏิบัติ ตามกฎหมาย ก็เป็นขัดกฎหมาย ถ้าปฏิบัติ ตามกฎหมาย ก็เป็นการฝ่าฝืน พระวินัย เป็นการทำลายตนเอง ทำลาย พุทธศาสนา เมื่อเป็นเช่นนี้ ก็จำต้องเลือกปฏิบัติ ในทางที่ ไม่ขัดกับพระวินัย เพราะฉะนั้น การออกกฎหมาย บ้านเมือง ท่านจึงให้เป็นไป ในรูป สนับสนุนพระวินัย ไม่ใช่เป็น การตัดรอนพระวินัย

ตามพระวินัย มีบทบัญญัติไว้โดยความว่า เมื่อภิกษุยังเป็นนานาสังวาสก์กันอยู่ ห้ามไม่ให้ ทำสังฆกรรม ร่วมกัน ถ้าขืนทำ ผู้ทำก็มีโทษ คือต้องอาบัติตามพระพุทธบัญญัติ ถ้านับภิกษุ ที่เป็นนานาสังวาสก์ เข้าเป็น องค์สงฆ์ด้วย กรรมที่ทำนั้นก็เสีย ถ้าร่วมกันทำอุปสมบทกรรม ผู้อุปสมบทก็ไม่เป็นอุปสัมบัน และในทาง ตรงกันข้าม เมื่อภิกษุ เป็นสมานสังวาสก์กัน ห้ามไม่ให้ ทำสังฆกรรมแยกในสีมาเดียวกัน ถ้าขืนแยกทำ ผู้ละเมิด ก็มีโทษต้องอาบัติ กรรมนั้น ก็เสีย ใช้ไม่ได้เช่นเดียวกัน (วินัยปิฎกเล่ม ๔ หน้า ๒๑๔ และหน้า ๒๖๕ และเล่ม ๕ หน้า ๒๕๙) พระวินัยมีบัญญัติ อย่างนี้

แต่ พ.ร.บ. คณะสงฆ์ มีบทบัญญัติและวัตถุประสงค์เพื่อรวมนิกายทั้งสอง ซึ่งเป็น นานาสังวาสก์ กัน ให้เป็น นิกายเดียว เรียกว่า คณะสงฆ์ไทย ไม่ให้มีธรรมยุติกนิกาย และ มหานิกาย ทั้งได้ให้ปฏิบัติตามวัตถุประสงค์ นั้น ในการบางอย่างมาแล้วด้วย วัตถุประสงค์ และการทำเช่นนั้น เป็นการทำให้พระต้องฝ่าฝืนพระวินัย แม้จะยกหลัก มหาปเทศ ทั้ง ๔ (หลักใหญ่ สำหรับพิจารณาเทียบเคียง วินัยปิฎกเล่ม ๕ หน้า ๑๓๑) มาพิจารณา อนุโลมเข้า ในข้อที่ว่าควร ก็อนุโลมเข้าไม่ได้

การที่ประเทศไทยต้องมีนิกายสงฆ์ ๒ นิกายนั้น ก็เพราะมีเหตุผลและความจำเป็น ในทางศาสนา แม้ใน ประเทศอื่น ก็มี มากกว่านิกายหนึ่ง และในศาสนาอื่น ก็เช่นเดียวกัน การที่มีหลายนิกาย ไม่ใช่เป็นเหตุ ที่ทำให้ การพระศาสนาเสื่อม หรือ ก่อความไม่สงบเรียบร้อย แก่บ้านเมือง แต่ตรงกันข้าม เพราะเมื่อมี นิกายเดียว ได้ปรากฏ ผลเสื่อม มาแล้ว โดยเฉพาะ ในประเทศไทยปรากฏว่าการมี ๒ นิกาย กลับเป็นการฟื้นฟู พระศาสนา เพราะได้ช่วยกัน ตรวจสอบ ในทางศึกษา ในทางปฏิบัติ ให้เป็นไปในทางเจริญ ดังที่คณะ ธรรมยุต ได้ค้นคว้า หาความถูกต้อง ตามพระธรรมวินัย เผยแผ่ให้แพร่หลาย เป็นการฟื้นฟูการศาสนา ทั้งในด้าน ปริยัติ ทั้งในด้านปฏิบัติ ตลอดจนถึงแต่งตำหรับตำรา แบบแผน ฝ่ายมหานิกายก็ได้เข้าร่วมมือ จัดทำ ดังที่เห็นได้ในการศึกษาพระปริยัติธรรม ซึ่งเจริญแพร่หลายทั่วไป อยู่ในบัดนี้

เพราะฉะนั้น การที่จะบังคับให้รวมกันจึงเป็นทางให้เกิดความผิดพลาดเสื่อมทรามแก่การพระศาสนา และ เป็นการ ฝืนธรรมดา และฝืนประวัติศาสตร์ศาสนา ที่เป็นไปไม่ได้มาแล้ว

...........ฯลฯ........

ในฐานะที่ฝ่าพระบาททรงดำรงตำแหน่งสกลมหาสังฆปริณายก ขอให้ทรงพระกรุณา โปรดหาทาง ปลดเปลื้อง ความอากูล เสื่อมเสียเนื่องจาก พ.ร.บ. นี้ เพื่อเกล้ากระหม่อม ทั้งหลาย จะได้รับความชอบธรรม ในการประพฤติ พรหมจรรย์ และการปกครองควบคุมกันอยู่ โดยลัทธินิยมตามพระธรรมวินัย สมกับที่มุ่ง มาบวชอุทิศ พระสัมมา สัมพุทธะ เพื่อความ เป็นอยู่ ด้วยความสงบสุข และความวัฒนาถาวร แห่งบวร พุทธศาสนาสืบไป

ควรมิควรแล้วแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์
พระศาสนโศภน
พระธรรมปาโมกข์
พระเทพกวี
พระราชกวี
พระปริยัติเวที
พระรัชชมงคลมุนี
พระศรีวิสุทธิวงศ์
พระนิรันตรญาณมุนี
พระอมรเวที
พระโศภนคณาภรณ์ * สมเด็จพระมหาวีรวงศ์
พระธรรมโกศาจารย์
พระเทพโมลี
พระอมราภิรักขิต
พระราชเมธี
พระญาณรักขิต
พระอริยคุณาธาร
พระอมรมุนี
พระจินดากรมุนี
พระสุมงคลมุนี
พระศรีวิสุทธิญาณ **

สำเนานี้ถูกต้องแล้ว
พระมหาวิชมัย

* ปัจจุบันคือ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก วัดบวรนิเวศวิหาร
** นายสุชีพ ปุญญานุภาพ
คัดจากบางส่วนของหนังสือร้องเรียนเกี่ยวกับพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พุทธศักราช ๒๔๘๔ จากหนังสือ การปกครอง คณะสงฆ์ไทย โดย แสวง อุดมศรี




เชื้อสายพระราชวงศ์กรุงธนบุรี

พระราชวงศานุวงศ์กรุงธนบุรีมหาราช
1. พระราชบิดาสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ตามที่กล่าวไว้ในหนังสืออภินิหารบรรพบุรุษว่าเป็นขุนพัฒน์ นามเดิมไหยฮอง ตั้งภูมิลำเนาอยู่ในพระนครศรีอยุธยา แต่ยังไม่พบหลักฐานที่อื่นสนับสนุน
2. สมเด็จพระราชชนนี พระนามเดิมว่า เอี้ยง ดำรงพระราชอิสริยยศเป็นกรมหลวงพิทักษ์เทพามาตย์ สวรรคตวันอังคารเดือน 8 ขึ้น 6 ค่ำ พ.ศ. 2317 ดูจดหมายเหตุฉบับลงวันอังคาร เดือน 6 แรม 2 ค่ำ ปีมะแม จ.ศ. 1137 (พ.ศ. 2318) และหมายรับสั่ง ลงวันศุกร์เดือนอ้าย ขึ้น 12 ค่ำ จ.ศ. 1138 ( พ.ศ. 2319 )
3. สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี พระนามเดิมว่าสิน มีพระบรมนามาภิไธยเมื่อปราบดาภิเษกแล้ว ตามที่ปรากฏในศุภอักษรเสนาบดีกรุงธนบุรี ซึ่งกำกับพระราชสารไปยังกรุงศรีสัตนาคนหุต ออกพระนามว่าพระศรีสรรเพ็ชญ์ สมเด็จบรมธรรมิกราชาธิราชรามาธิบดีที่สำหรับออกพระนามในศุภอักษรชองพระเจ้า ประเทศราชว่าสมเด็จพระเอกาทศรศรฐ ส่วนที่ออกพระนาม ในพระราชพงศาวดาร ฉบับทรงชำระในรัชกาลที่ 1 ว่า สมเด็จพระบรมหน่อพุทธางกูรเจ้าสมภพเมื่อ ปีขาล พ.ศ. 2277 มีเชื้อชาติสืบจากจีน รับราชการจนได้เป็นที่พระเจ้าตากก่อนพระชนมายุ 31 ปี แล้วเลื่อนเป็นพระยากำแพงเพ็ชรเจ้าเมืองชั้นโท เพราะ ความชอบในการสงครามที่ต่อสู้พม่าเมื่อก่อนเสียกรุงศรีอยุธยา ถึงต้นปีกุน พ.ศ. 2310 กรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่า ทรงพยายามกู้คืน จากเงื้อมมือพม่าเสร็จในปลายปีนั้น รุ่งขึ้นนปีชวดพ.ศ. 2311 ณ วันอังคารเดือนอ้าย แรม 4ค่ำ ได้ปราบดาภิเษกถึงวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325 ถูกสำเร็จโทษเปลี่ยนพระราชวงศ์ใหม่ ต่อมา พ.ศ. 2327 ถวายพระเพลิงพระบรมศพที่วันอินทาราม บางยี่เรือ ธนบุรี
4. สมเด็จพระน้านาง พระนามเดิมว่า อั๋น ดำรงพระราชอิสริยยศเป็น กรมหลวงเทวินทรสุดา อยู่มาถึงรัชกาลที่ 1 กรุงรัตนโกสินทร์ ถูกลดพระยศลงเป็นเพียง หม่อมอั๋น
5.สมเด็จพระราชินี (หอกลาง) พระนามเดิมว่า สอน ดำรงพระราชอิสริยยศเป็น กรมหลวงบาทบริจา อยู่มาถึงรัชกาลที่ 1 กรุงรัตนโกสินทร์ ถูกลดพระยศลงเป็นเพียง หม่อมสอน

6.พระราชโอรสธิดา 29 องค์ คือ
(1) สมเด็จพระมหาอุปราชเจ้าฟ้ากรมขุนอินทรพิทักษ์ พระนามเดิมว่า จุ้ย ที่ 1 ในสมเด็จพระราชินี ดำรงพระราชตำแหน่งรัชทายาท ( มีปรากฏในประชุมพงศาวดารภาคที่ 39 หน้า 138 ) ถูกสำเร็จโทษ วันเสาร์ เดือน 6 แรม 8 ค่ำ พ.ศ. 2325 ต้นสกุล สินสุข และสกุล อินทรโยธิน
(2) สมเด็จฯ เจ้าฟ้าชายน้อยที่ 2 ในสมเด็จพระราชินี ถูกสำเร็จโทษ พ.ศ. 2325
(3) พระองค์เจ้าชายอัมพวัน ในเจ้าจอมมารดาทิม ( ม.ร.ว. ราชตระกูลกรุงเก่า ธิดาท้าวทรงกันดาล ทองมอญ ) พระญาติแห่งสกุลศรีเพ็ญ
(4) สมเด็จฯ เจ้าฟ้าชายทัศพงษ์ที่ 1 ในกรมบริจาภักดีศรีสุดารักษ์ (เจ้าหญิง ฉิม หรือเรียกในราชสำนักนครศรีธรรมราชว่า ทูลกระหม่อมฟ้าหญิงใหญ่ ราชธิดาของพระเจ้านครศรีธรรมราช ) ในรัชกาลที่ 2 เป็นพระพงษ์อำมรินทร์ ( หรือเรียกอีกนามหนึ่งว่า พระพงษ์นรินทร์ ) ต้นสกุลพงษ์สิน
(5) สมเด็จฯเจ้าฟ้าหญิงโกมล
(6) สมเด็จฯ เจ้าฟ้าหญิงบุบผา
(7) สมเด็จฯ เจ้าฟ้าชายสิงหรา
(8) สมเด็จฯ เจ้าฟ้าชายศิลา ในรัชกาลที่ 3 เป็นพระยาประชาชีพ ต้นสกุล ศิลานนท์
(9) พระองค์เจ้าชายอรนิกา บรรพบุรุษแห่งสกุลรัตนภาณุที่ 1 ในเจ้าจอมมารดาอำพัน (ธิดาเจ้าอุปราชจันทร์ นครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นต้นสกุลจันโรจวงศ์ ) ถูกสำเร็จโทษเมื่อจะเริ่มรัชกาลที่ 2 วันพุธ เดือน 10 ขึ้น 5 ค่ำ พ.ศ. 2352 พร้อมกับสมเด็จ ฯ เจ้าฟ้ากรมขุนกษัตรานุชิต
(10) พระองค์เจ้าหญิงสุมาลี
(11) พระองค์เจ้าชายธำรง
(12) พระองค์เจ้าชายละมั่ง ในรัชกาลที่ 3 เป็นพระยาสมบัติบาล
(13) สมเด็จฯเจ้าฟ้าชายเล็ก (แผ่นดินไหว)
(14) สมเด็จฯ เจ้าฟ้าชายทัศไภย เป็นโอรสองค์ที่ 2 ในกรมบริจาภักดีศรีสุดารักษ์ (เจ้าหญิงฉิม) ถึงรัชกาลที่ 2 เป็นพระอินทอำไพ (หรือเรียกอีกนามหนึ่งว่าพระอินทรอภัย) ถูกสำเร็จโทษใน พ.ศ. 2358 เป็นพระบิดาเจ้าจอมมารดาน้อย ต้นสกุล นพวงศ์ และสุประดิษฐ์ ณ อยุธยา
(15) พระองค์เจ้าหญิงจามจุรี
(16) พระองค์เจ้าหญิงสังวาล
(17) พระองค์เจ้าหญิงสำลีวรรณ ต้นสกุล อิศรเสนา ณ อยุธยา เป็นที่ 2 ในเจ้าจอมมารดาอำพัน (ธิดาเจ้าอุปราชจันทร์ แห่งนครศรีธรรมราช) ถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พระองค์เจ้าหญิงสำลีวรรณเป็นพระราชชายากรมพระราชวังบวร รัชกาลที่ 2 แล้วถูกสำเร็จโทษ วันพุธ เดือน 10 ขึ้น 5 ค่ำ พ.ศ. 2352 พร้อมกับสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมขุนกษัตรานุชิต
(18) สมเด็จฯ เจ้าฟ้านเรนทรราชกุมารที่ 3 ในกรมบริจาภักดีศรีสุดารักษ์ (เจ้าหญิงฉิม) ถึงรัชกาลที่ 2 เป็นพระนเรนทรราชา ดำรงพระชนม์มาถึงรัชกาลที่ 3 เป็นต้นสกุลรุ่งไพโรจน์
(19) พระองค์เจ้าชายคันธวงศ์
(20) พระองค์เจ้าชายเมฆิน
(21) พระองค์เจ้าชายอิสินธร
(22) พระองค์เจ้าหญิงประไพพักตร์ ในเจ้าจอมมารดาเงิน
(23) สมเด็จฯ เจ้าฟ้าชายสุพันธุวงศ์ ในเจ้าจอมมารดาฉิมใหญ่ ( พระราชธิดาในสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า ) ถึงรัชกาลที่ 1 กรุงรัตนโกสินทร์ เปลี่ยนพระนามว่าสมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้าอภัยธิเบศร์ แล้วได้ทรงกรมเป็นกรมขุนกษัตรานุชิต ทรงสถาปนาวัดอภัยธารามสามเสน เมื่อจะเริ่มรัชกาลที่ 2 วันพุธ เดือน 10 ขึ้น 5 ค่ำ พ.ศ. 2352 ถูกสำเร็จโทษพร้อมกับเจ้าชายที่เป็นโอรสเล็กๆ อีก 6 องค์
(24) พระองค์เจ้าชายบัว
(25) สมเด็จฯเจ้าฟ้าปัญจปาปีที่ 4 ในกรมบริจาภักดีศรีสุดารักษ์ (เจ้าหญิงฉิม) ถึงรัชกาลที่ 1 เป็นพระชายาเจ้าฟ้ากรมขุนอิศรานุรักษ์ ราชภาคิไนยของสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า
(26) เจ้าชายน้อย ( ในฐานะเป็นราชบุตรบุญธรรมแห่งพระมหาอุปราชแห่งนครศรีธรรมราช) ในเจ้าจอมมารดาเจ้าหญิงปราง ( ทูลกระหม่อมฟ้าหญิงเล็กของนครศรีธรรมราช) กนิษฐภคินีของกรมบริจาภักดีศรีสุดารักษ์ (เจ้าหญิงฉิม) ถึงรัชกาลที่ 2 เป็นเจ้าพระยานครศรีธรรมราช มีสกุลที่สืบมา คือ ณ นคร โกมารกุล จาตุรงคกุล
(27) พระองค์เจ้าชาย
(28) พระองค์เจ้าชายหนูแดง
(29) พระองค์เจ้าหญิงสุดชาตรี


7. พระเจ้าหลานเธอ 4 องค์ คือ
(1) พระเจ้านราสุริวงศ์ เจ้าผู้ครองนครศรีธรรมราช ทิวงคต พ.ศ. 2319 (มีปรากฏในพระราชพงศาวดารและหมายรับสั่ง)
(2 ) กรมขุนอนุรักษ์สงคราม พระนามเดิมว่า บุญมี เป็นเจ้ารามลักษณ์ก่อน ต่อมามีความชอบในการสงครามจึงได้ทรงกรม ถูกสำเร็จโทษ พ.ศ. 2325
(3) กรมขุนรามภูเบศร์ พระนามเดิมว่า บุญจันทร์ เป็นเจ้าบุญจันทร์ ก่อน ต่อมามีความชอบในการสงครามจึงได้ทรงกรม ถูกสำเร็จโทษ พ.ศ. 2325
(4) กรมขุนสุรินทรสงคราม (มีปรากฏในบัญชีมหาดไทย ดูประชุมพงศาวดารภาคที่ 65 หน้า 114 )

8. พระราชวงศานุวงศ์ที่ไม่ทราบระดับราชสัมพันธ์ 4 องค์ คือ
(1) ในกรมขุนอินทรพิทักษ์ สิ้นพระชนม์ก่อน พ.ศ. 2320 (มีปรากฏในหมายรับสั่ง)
(2) หม่อมเจ้าแสง สิ้นชีพตักษัยก่อน พ.ศ. 2321 (มีปรากฏในหมายรับสั่ง)
(3) หม่อมเจ้าปทุมไพจิตร (มีปรากฏในจดหมายเหตุทรงตั้งพระเจ้านครศรีธรรมราช)
(4) หม่อมเจ้านราภิเบศ (มีปรากฏในพระราชพงศาวดาร ฉบับ ชำระเรียบเรียงในรัชกาลที่ 1 คือประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 65

9. จำนวนสมาชิกเชื้อสายพระราชวงศ์กรุงธนบุรี ตั้งแต่ ชั้น 1 ถึงชั้น 8 ตามรายพระนาม และนามเท่าที่ปรากฏ(เพียงพ.ศ. 2522) มีรวม 1200 เศษ


10. สกุลสายตรง คือ
(1) สินสุข วงศ์สมเด็จพระมหาอุปราช
(2) อินทรโยธิน วงศ์สมเด็จพระมหาอุปราช
(3) พงษ์สิน วงศ์สมเด็จเจ้าฟ้าชายทัศพงศ์
(4) ศิลานนท์ วงศ์สมเด็จเจ้าฟ้าชายศิลา
(5) รุ่งไพโรจน์ วงศ์สมเด็จเจ้าฟ้าชายนเรนทรราชกุมาร
(6) ณ นคร วงศ์ เจ้าพระยานคร (เจ้าชายน้อย)
(7)โกมารกุล ณ นคร วงศ์ เจ้าพระยานคร (เจ้าชายน้อย)
(8) จาตุรงคกุล วงศ์ เจ้าพระยานคร (เจ้าชายน้อย)

11. ผู้ที่อยู่ในสกุลสายตรง ที่มีศักดิ์สูงมีจำนวนดังนี้ คือ
(1) สมเด็จพระเจ้าแผ่นดิน 1
(2) สมเด็จพระมหาอุปราช 1
(3) สมเด็จเจ้าฟ้า 11
(4) พระองค์เจ้า 16
(5) หม่อมเจ้า 17
(6) เจ้าพระยา 8
(7) พระยา 23
(8) คุณเท้า 2
(9) เจ้าจอม 37
(10) หม่อมห้าม 16
(11) คุณหญิง 14

12. สกุลที่สืบตรงทางสายหญิง คือ
(1) อิศรเสนา ณ อยุธยา
(2) ธรรมสโรช
(3) นพวงศ์ ณ อยุธยา
(4) สุประดิฐ ณ อยุธยา
(5) ศรีธวัช ณ อยุธยา
(6) วัฒนวงศ์ ณ อยุธยา
(7) รัตนโกศ
(8) ภาณุมาศ ณ อยุธยา
(9) กาญจนวิชัย ณ อยุธยา

13. สกุลเกี่ยวพันทางสายหญิง คือ
(1) อิศรากูร ณ อยุธยา
(2) ปาลกวงศ์ ณ อยุธยา
(3) เสนีวงศ์ ณ อยุธยา
(4) กุญชร ณ อยุธยา
(5) ชุมสาย ณ อยุธยา
(6) ลดาวัลย์ ณ อยุธยา
(7) สุริยกุล ณ อยุธยา
(8) แสงชูโต
(9) รัตนภาณุ
(10) วิภาตะศิลปิน
(11) ศรีเพ็ญ
(12) ศรียาภัย
(13) เทพหัสดิน ฯ อยุธยา
(14) บุนนาค
(15) บุรานนท์
(16) สุวงศ์
(17) ลักษณสุต
(18) สุขกสิกร
(19) บุรณศิริ
(20) แดงสว่าง
(21) กมลาศน์ ณ อยุธยา
(22) แสงต่าย
(23) มิตรกุล
(24) จุลดิลก
(25) สายะศิลป์
(26) พนมวัน ณ อยุธยา

14. ผู้อยู่ในสกุลอันสืบทางสายหญฺง ที่มีศักดิ์สูง คือ
(1) พระองค์เจ้า 15
(2) หม่อมเจ้า 23
(3) พระยา 3
(4) เจ้าจอม 3
(5) หม่อมห้าม 2

บัญชี ลำดับวงศ์ขุนหลวงตากนี้ ว่าเดิมพระยาราชสัมภารากร (เลื่อน ) ผู้เป็นเป็นสมาชิกในสกุลคนหนึ่ง ได้เรียบเรียบขึ้นไว้ แล้วลอกคัดกันต่อๆไป ในเชื้อสายของสกุล ได้สำเนามายังหอพระสมุดสำหรับพระนคร เมื่อปีมะเส็ง พ.ศ. 2460 ในบัญชีเชื้อวงศ์ขุนหลวงตาก ซึ่งหอพระสมุดฯได้มาว่า พระยาประชาชีพศิลา ในรัชกาลที่ 3 กับพระยาสมบัติบาล (ละมั่ง ) ในรัชกาลที่3 เป็นลูกเธอขุนหลวงตากอีก 2 คน จอมมารดาเดียวกัน ในบัญชีนั้นว่าธิดาพระยาประชาชีพศิลา (ชื่อทับ) เป็นหม่อมห้ามกรมพระ รามอิศเรศ มีหม่อมเจ้าหลายองค์ คือหม่อมเจ้าหญิงเป้า และมีธิดาอีกคนหนึ่ง (ชื่อพลับ) เป็นหม่อมห้ามของกรมหมื่นกระษัตริย์ศรีศักดิ์เดช มีหม่อมเจ้าหลายองค์ยังอยู่แต่ชั้นหลาน คือ พระยาวงศ์พงศ์พิพัฒน์ เป็นต้น ชี้แจงว่าพระยาประชาชีพศิลา หาได้เป็นลูกเธอของขุนหลวงตากไม่ เป็นแต่เป็นข้าในกรมเจ้าฟ้าเหม็น ครั้นพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานข้าไทยของเจ้าฟ้า เหม็นและ พระยาประชาชีพศิลา กับพี่น้องจึงได้มาเป็นข้าหลวงเดิมในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ถึงรัชกาลที่ 3 จึงได้เป็นขุนนาง

สาย สัมพันธ์ ราชสกุลพระเจ้าตาก กับราชวงศ์จักรี สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก และสมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท ทั้ง ๓ พระองค์ทรงเป็นวีรบุรุษไทย ทรงเป็นนักรบที่เคียงบ่าเคียงไหล่กอบกู้ อิสรภาพจากพม่ามาด้วยกัน สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชเสด็จพระราชสมภพปีขาล พ.ศ. ๒๒๗๗ ทรงแก่พระชันษากว่าพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก และสมเด็จกรมพระราชวังบวรฯ ๒ ปีและ ๙ ปีตามลำดับ เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชปราบดาภิเษกเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติแล้ว พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกขณะดำรงพระยศเป็นสมเด็จเจ้าพระยามหา กษัตริย์ศึก ได้ถวายพระราชธิดา คือสมเด็จเจ้าฟ้าหญิงฉิมใหญ่ ให้เป็นพระราชชายาในสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ซึ่งทรงประสูติพระราชโอรสคือสมเด็จเจ้าฟ้าชายสุพันธุวงศ์ และในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ได้ทรงสถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนกระษัตรานุชิต (เจ้าฟ้าเหม็น) เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติแล้ว เจ้าพระยาอภัยภูธร (น้อย) สมุหนายก ขณะเป็นที่พระยาอนุชิตราชา จางวางพระตำรวจ ได้รับหนังสือ (บัตรสนเท่ห์) ทิ้งที่ใต้ต้นแวงในลานชาลาพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท กล่าวกันว่ากาคาบมาทิ้งไว้ เนื้อความในหนังสือกล่าวโทษฟ้องว่าพระโอรสและพระธิดาของสมเด็จพระเจ้า ตากสินมหาราช คือ เจ้าฟ้ากรมขุนกระษัตรานุชิต พระองค์เจ้าหนูดำ และจอมมารดาสำลีวรรณ คบคิดกับข้าราชการหลายคนจะก่อการกบฏแย่งชิงเอาราชสมบัติ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้พระเจ้าลูกยาเธอพระองค์ใหญ่ คือพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสอบสวนได้ความเป็นสัตย์ รวมทั้งมีการพาดพิงซัดทอดข้าราชการหลายคน เช่น เจ้าพระยาพลเทพ (บุนนาค บ้านแม่ลา) พระยาเพชรปราณี (กล่อม) พระยาพระราม (ทอง) พระอินทเดช (กระต่าย) เป็นต้น รวม ๑๐ คน กับข้าในกรมเจ้าฟ้ากรมขุนกระษัตรานุชิตอีก ๓๐ คน รวม ๔๐ คน พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงโปรดให้ถอดยศเจ้าฟ้ากรมขุนกระษัตรานุ ชิต เป็นหม่อมเหม็นแล้วสำเร็จโทษด้วยท่อนจันทน์ที่วัดปทุมคงคา ส่วนพระองค์เจ้าหนูดำ พระองค์เจ้าหญิงสำลีวรรณและข้าราชการที่สมรู้ร่วมคิดนั้นทรงโปรดให้ลงโทษ ด้วยการตัดศีรษะเสียทั้งสิ้น ส่วนโอรสของเจ้าฟ้ากรมขุนกระษัตรานุชิตหรือหม่อมเหม็นจำนวน ๖ องค์นั้นทรงโปรดให้ใส่เรือไปถ่วงน้ำเสียทั้งหมดที่ปากน้ำเจ้าพระยา จอมมารดาสำลีวรรณ พระองค์เจ้าหญิงสำลีวรรณ หรือจอมมารดาสำลีวรรณ ท่านเป็นพระชายาในสมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์ พระอนุชาธิราชแห่งองค์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ส่วนสมเด็จเจ้าฟ้าฉิมใหญ่นั้นสิ้นพระชนม์ในช่วงรัชสมัยสมเด็จพระเจ้า ตากสินมหาราช สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชเสด็จครองสิริราชสมบัติอยู่ ๑๕ ปี ทรงมีพระโอรสและพระธิดาทั้งสิ้น ๒๙ พระองค์ ช่วงปลายรัชสมัยของพระองค์บ้านเมืองเป็นจลาจล สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกได้เข้าทำการสงบระงับเหตุจลาจล และสำเร็จโทษสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระปฐมกษัตริย์แห่งพระราชวงศ์จักรี ครั้งนี้สมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนอินทรพิทักษ์ที่พระมหาอุปราช และสมเด็จเจ้าฟ้าชายน้อย พระราชโอรสพระองค์แรกและพระองค์ที่สองแห่งสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชยอมพลี พระชนมชีพให้สำเร็จโทษตามพระราชบิดา ด้วยไม่ยอมเป็นข้าของแผ่นดินใหม่ สมเด็จพระอัครมเหสี กรมหลวงบาทบริจา (สอน) ถูดลดพระยศเป็น "หม่อมสอน" รวมทั้งพระโอรสและพระธิดาชั้นพระองค์เจ้าถูกลดพระยศ แต่ก็ยังเป็นที่เคารพรักของราษฎรและผูกพันกับเจ้านายในพระราชวงศ์จักรีและ ผูกสายสัมพันธ์ทางการสมรสกับเจ้านายผู้ทรงเป็นต้นราชสกุลหลายพระองค์ และมีสายสืบราชสกุลมาจนทุกวันนี้ พระองค์เจ้าหญิงสำลีวรรณเป็นพระธิดาพระองค์ที่ ๘ ของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาอำพัน ธิดาคนเดียวของอุปราชจันทร์เมืองนครศรีธรรมราช เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงตีเมืองนครศรีธรรมราชได้ทรงโปรดให้เจ้า เมืองนครศรีธรรมราช (หนู) และอุปราชจันทร์เข้ามารับราชการในกรุงธนบุรี จนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ท่านได้รับราชการในกรมคชบาลเป็นที่พระยาราชวังเมือง แล้วได้เป็นเจ้าเมืองถลาง และได้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นเจ้าพระยาสุรินทราชา และภายหลังเจ้าพระยามหาเสนา (ปลี) สมุหพระกลาโหม ถึงแก่อสัญกรรม ทรงมีพระราชประสงค์จะให้เจ้าพระยาสุรินทราชาเข้ามาเป็นสมุหพระกลาโหมแทน แต่เจ้าพระยาสุรินทราชาขอรับราชการเป็นเจ้าเมืองถลางต่อไปด้วยอายุมากแล้ว ท่านเป็นต้นสกุล "จันทโรจนวงศ์" พระองค์เจ้าสำลีวรรณทรงเสกสมรสกับสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์ พระมหาอุปราชในรัชกาลที่ ๒ แต่ครั้งยังดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงเสนานุรักษ์ พระองค์เจ้าสำลีวรรณประสูติพระราชโอรสและพระราชธิดา ๖ พระองค์ ประกอบด้วย ๑. พระองค์ชายใหญ่ สิ้นพระชนม์แต่ทรงพระเยาว์ ๒. พระองค์เจ้าหญิงประชุมวงศ์ ๓. พระองค์เจ้าหญิงนัดดา ๔. พระองค์เจ้าหญิงขนิษฐา ๕. พระองค์เจ้าชายพงศ์อิศเรศ ๖. พระองค์เจ้าหญิงนฤนล กรมหมื่นกษัตริย์ศรีศักดิเดช พระองค์เจ้าชายพงศ์อิศเรศ เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ ๘ ในสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์ ประสูติเมื่อเดือนพฤศจิกายน ปีวอก พ.ศ. ๒๓๔๓ ทรงเป็นพระราชโอรสที่สมเด็จพระราชบิดาโปรดปรานยิ่งนักด้วยทรงเป็น "หลานปู่" ของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก และทรงเป็น "หลานตา" ของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงเป็นเจ้านายฝ่ายหน้าพระองค์เดียวที่เป็นพระราชนัดดาของสมเด็จพระเจ้าอยู่ หัวทั้งสองพระองค์ข้างต้น ถึงปีจอ พ.ศ. ๒๔๐๕ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาให้สถาปนาพระองค์เจ้าพงศ์อิศ เรศเป็นพระเจ้าราชวงศ์เธอ กรมหมื่นกษัตริย์ศรีศักดิเดช ซึ่งทรงเป็นต้นราชสกุลอิศรเสนา ณ อยุธยา ชายาของพระเจ้าราชวงศ์เธอ กรมหมื่นกษัตริย์ศรีศักดิ์เดช คือ คุณหญิงพลับ ธิดาสมเด็จเจ้าฟ้าชายศิลา พระราชโอรสพระองค์ที่ ๘ ของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช คุณหญิงพลับประสูติพระโอรส ๓ พระองค์ คือ หม่อมเจ้ากระจ่างอิศรเสนา หม่อมเจ้าจันตรี อิศรเสนา และหม่อมเจ้าเสาวรส อิศรเสนา หม่อมเจ้าเสาวรสเป็นบิดาของเจ้าพระยาวรพงษ์พิพัฒน์ (หม่อมราชวงศ์เย็น อิศรเสนา) เสนาบดีกระทรวงวังในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระเจ้าราชวงศ์เธอกรมหมื่นกษัตริย์ศรีศักดิเดชสิ้นพระชนม์เมื่อเดือน ๘ ปีจอ พ.ศ. ๒๔๑๗ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ ขณะพระชันษาได้ ๗๕ ปี สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงปัญจวาปี พระธิดาในสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชอีกพระองต์หนึ่งที่ทรงมีสายสัมพันธ์ทาง การสมรสกับเจ้านายฝ่ายหน้าในพระราชวงศ์จักรีคือ สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงปัญจปาปี พระธิดาพระองค์ที่ ๑๑ ได้ทรงเสกสมรสกับสมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนอิศรานุรักษ์ พระโอรสในสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์ ซึ่งเป็นพระน้องนางในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก และเจ้าขรัวเงิน สมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนอิศรานุรักษ์ทรงรับราชการกำกับกรมมหาดไทยในรัชสมัยพระ บาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงเป็นต้นราชสกุลอิศรางกูร ณ อยุธยา สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงปัญจปาปีประสูติพระโอรสพระธิดา ๕ พระองค์ประกอบด้วย หม่อมเจ้าใหญ่ หม่อมเจ้ากลาง หม่อมเจ้าหญิงศรีฟ้า หม่อมเจ้าสุนทรา และหม่อมเจ้าหญิงรสสุคนธ์ พระพงษ์นรินทร์-พระอินทร์อภัย พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงมีความเคารพรักในสมเด็จพระเจ้า ตากสินมหาราช เมื่อเหตุการณ์บ้านเมืองสงบเรียบร้อยแล้วทรงโปรดให้ขุดพระศพของสมเด็จพระ เจ้าตากสินมหาราชขึ้นมาถวายพระเพลิงที่วัดบางยี่เรือ พระองค์พร้อมสมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาททรงฉลองพระองค์พระภูษาขาว อันเป็นการถวายความเคารพและถวายพระเกียรติแด่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช อย่างยิ่ง ในส่วนของพระโอรสและพระธิดาแห่งองค์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ก็ทรงให้ความเมตตาชุบเลี้ยงและให้รับราชการในตำแหน่งต่างๆ ทรงโปรดให้สมเด็จเจ้าฟ้าทัศพงศ์ และสมเด็จเจ้าฟ้าชายทัศไภยเป็นที่ "พระพงษ์นรินทร์" และ "พระอินทร์อภัย" ที่หม่อมราชนิกุลรับราชการในราชสำนักเนื่องด้วยพระโอรสทั้งสองมีความรู้ทาง การแพทย์ และมีตำแหน่งเข้าเฝ้าต่อจากเสนาบดี และด้วยหน้าที่ทางการแพทย์ที่มีความสนิทคุ้นเคยและเข้านอกออกในได้ ทำให้พระอินทร์อภัยมีสัมพันธ์สวาทกับเจ้าจอมในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า นภาลัย ความทราบถึงพระกรรณทรงโปรดให้ไตร่สวนได้ความเป็นสัตย์ จึงโปรดให้ประหารชีวิตเสียทั้งพระอินทร์อภัยและเจ้าจอม เหตุเกิดเดือน ๑๐ ปีวอก พ.ศ. ๒๓๕๕ เจ้าจอมมารดาน้อย ธิดาคนที่สองของพระอินทร์อภัยคือ คุณหญิงน้อย หรือเจ้าจอมมารดาน้อย ได้เป็นหม่อมของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะดำรงพระยศเป็นสมเด็จเจ้าฟ้ามงกุฎ ประสูติพระราชโอรส ๒ พระองค์ คือ พระองค์เจ้านพวงศ์ กรมหมื่นมเหศวรศิววิลาส องค์ต้นราชสกุลนพวงศ์ ณ อยุธยา และพระองค์เจ้าสุประดิษฐ์ กรมหมื่นวิษณุนาถนิภาธร องค์ต้นราชสกุลสุประดิษฐ์ ณ อยุธยา ปีวอก พ.ศ. ๒๓๖๗ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงโปรดให้สมเด็จเจ้าฟ้ามงกุฎเสด็จทรง ผนวช ซึ่งขณะนั้นพระองค์เจ้านพวงศ์และพระองค์เจ้าสุประดิษฐ์มีพระชันษาได้ ๒ ปีและ ๒ เดือนตามลำดับ ระหว่างที่ทรงผนวชอยู่พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย สมเด็จพระบรมชนกนาถเสด็จสวรรคตโดยมิได้ทรงมอบราชสมบัติแก่เจ้านายพระองค์ใด ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่และพระบรมวงศานุวงศ์ได้ถวายสิริราชสมบัติแด่พระเจ้าลูก ยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์เป็นรัชกาลที่ ๓ แห่งพระราชวงศ์จักรี สมเด็จเจ้าฟ้ามงกุฎจึงครองสมณเพศต่อมาตลอด ๒๗ ปี ช่วงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เจ้าจอมมารดาน้อยได้อาศัยอยู่กับพระพงษ์นรินทร์ผู้เป็นลุงและเลี้ยงดู พระองค์เจ้านพวงศ์ ส่วนพระองค์เจ้าสุประดิษฐ์นั้น สมเด็จเจ้าฟ้าจุฑามณี พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวซึ่งประทับอยู่ ณ พระราชวังเดิมธนบุรีทรงเป็นผู้ชุบเลี้ยงให้การอุปถัมภ์ เจ้าจอมมารดาน้อยเป็นสตรีผู้น่าสงสาร เนื่องด้วยสมเด็จพระอัยกาคือพระเจ้าตากสินมหาราชก็ถูกสำเร็จโทษ พระบิดาคือสมเด็จเจ้าฟ้าชายทัศไภยหรือพระอินทร์อภัยก็ถูกประหารชีวิต ชีวิตส่วนตัวก็ตกระกำลำบาก เพราะพระสวามีเสด็จทรงผนวชอยู่ถึง ๒๗ พรรษา เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จครองราชแล้วก็ไม่โปรด และไม่ยกย่องเจ้าจอมมารดาน้อยเป็นพิเศษแต่ประการใด เจ้าจอมมารดาจึงมีพฤติกรรมการแสดงออกแปลกๆ ซึ่งอาจจะเป็นการเรียกร้องความสนใจก็ได้ ครั้งหนึ่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จด้วยกระบวนเรือจากตำหนัก น้ำถึงวัดเขมาตลาดแก้วมีเรือเก๋งลำหนึ่งพายตามขึ้นมาแข่งกับเรือพระที่นั่ง เจ้าหมื่นสรรเพธภักดี (เจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธำรง เพ็ง) ร้องถามก็ไม่บอก บ่าวผู้หญิงในเรือเก๋งนั้นพากันหัวเราะเยาะ ปรากฏว่าเรือเก๋งลำนั้นเป็นของเจ้าจอมมารดาน้อยซึ่ง "มาทำหน้าที่เป็นเล่นตัว ล้อข้าต่อหน้าทาสกำนัลน่าชังหนักหนา" เมื่อเจ้าจอมมารดาน้อยถึงแก่อนิจกรรม พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดให้พระราชทานเพลิงศพที่สวนท้าย วังของพระเจ้าลูกเธอกรมหมื่นวิษณุนารถนิภาธร เมื่อเสร็จงานศพเจ้าจอมมารดาน้อยแล้ว กรมหมื่นวิษณุนารถนิภาธรจึงทรงกะการสร้างวัดขึ้นบริเวณสวนท้ายวังที่เป็นที่ ปลงศพเจ้าจอมมารดาน้อย วิธีการที่พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นวิษณุนารถนิภาธรทรงกะการสร้างวัด คือทรงโปรยเงินไปทั่วบริเวณพื้นที่ที่ทรงกำหนดว่าเป็นที่สร้างวัดแล้วโปรด ให้บ่าวไพร่ในพระองค์พากันแผ้วถางต้นไม้ใบหญ้าเพื่อเก็บเอาเงินนั้น ซึ่งก็คือวิธีการจ่ายค่าแรงของพระองค์นั่นเอง การสร้างวัดยังไม่แล้วเสร็จพระเจ้าลูกเธอกรมหมื่นวิษณุนารถนิภาธรสิ้นพระ ชนม์ลงเมื่อปีจอ พ.ศ. ๒๔๐๕ พระชันษาเพียง ๓๘ ปี พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดให้พระเจ้าลูกเธอกรมหมื่นมเหศวร ศิววิลาศทรงสร้างวัดต่อ แต่กรมหมื่นมเหศวรศิววิลาศก็สิ้นพระชนม์ลงไปอีกเมื่อปีเถาะ พ.ศ. ๒๔๑๐ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงรับเอาการสร้างวัดนั้นมาดำเนินการ ต่อ โดยทรงโปรดให้พระยาราชสงครามเป็นแม่กองก่อสร้างต่อจนแล้วเสร็จจึงพระราชทาน นามวัดว่า "วัดตรีทศเทพ" ซึ่งมีความหมายว่า "เทวดาสามนายสร้าง" แล้วโปรดให้แห่พระครูจุลานุนายก (คง) พระครูปลัดซ้ายฐานานุกรมของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์จากวัดบวรนิเวศวิหารมาครองวัดตรีทศเทพเป็นเจ้า อาวาสองค์แรก กรมหมื่นมเหศวรศิววิลาส กรมหมื่นวิษณุนาถนิภาธร พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นมเหศวรศิววิลาส เมื่อแรกประสูติมีพระยศเป็นหม่อมเจ้า พระนามว่าหม่อมเจ้านพวงศ์ หรือนภวงศ์ เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นครองราชย์แล้วโปรดให้ เลื่อนพระยศเป็นพระองค์เจ้ามีพระนามตามพระสุพรรณบัฏว่า "พระองค์เจ้านพวงศ์ วรองค์เอกอรรคมหามกุฎ ปรมุตมราโชรส" และได้รับสถาปนาเป็นพระองค์เจ้าต่างกรม มีพระนามว่า "พระเจ้าลูกเธอ กรมหมื่นมเหศวรศิววิลาส" ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวมิได้รับราชการใดๆ แต่มาถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบรมชนกนาถได้ทรงเป็นผู้กำกับกองทหารล้อมวัง และเช่นเดียวกัน พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นวิษณุนาถนิภาธร เมื่อแรกประสูติมีพระยศเป็นหม่อมเจ้าสุประดิษฐ์ เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จครองราชย์แล้วทรงโปรดให้ เลื่อนพระยศเป็น "พระองค์เจ้าสุประดิษฐ์ วรฤทธิราชมหามกุฎ บุรุษยรัตนราชวโรรส" และเป็นพระองค์เจ้าต่างกรมทรงพระนามว่า พระเจ้าลูกเธอกรมหมื่นวิษณุนาถนิภาธร ซึ่งได้ทรงกำกับราชการกรมพระคลังสมบัติ และได้ทรงเสด็จไปศึกษาดูงานการปกครองและการพัฒนาบ้านเมืองยังสิงคโปร์ โดยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาให้เสด็จไปดูงานพร้อม สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ซึ่งในขณะนั้นท่านมีบรรดาศักดิ์เป็นเจ้าพระยา พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นวิษณุนารถนิภาธรจึงเป็นเจ้านายชั้นพระราชโอรสพระองค์แรกที่เสด็จไป ศึกษาดูงานยังต่างประเทศ พระนัดดาในสมเด็จพระเจ้าตากสิน พระนัดดาของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชที่รับราชการเป็นเจ้าจอมมารดาในพระบาท สมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว คือธิดาของเจ้าพระยานคร (น้อย) ซึ่งท่านถวายธิดาเกือบทุกคนเป็นบาทบริจาริกาในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทั้งสอง พระองค์ ธิดาคนโต คือ เจ้าจอมมารดาน้อยใหญ่ เป็นเจ้าจอมมารดาในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติพระราชโอรส คือ พระองค์เจ้าเฉลิมวงศ์ ธิดาคนที่ ๑๓ คือ เจ้าจอมมารดาบัวในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติพระราชโอรส พระราชธิดา ประกอบด้วย ๑. พระองค์เจ้าเฉลิมลักษณเลิศ สิ้นพระชนม์แต่ยังทรงพระเยาว์ ๒. กรมขุนสิริธัชสังกาศ ต้นราชสกุลศรีธวัช ณ อยุธยา ๓. พระองค์เจ้าหญิงอรไทยเทพกัญญา ๔. กรมขุนมรุพงศ์สิริพัฒน์ ต้นราชสกุลวัฒนวงศ์ ณ อยุธยา ๕. พระองค์เจ้าดำรงฤทธิ์ สิ้นพระชนม์แต่ยังทรงพระเยาว์ กุลสตรีซึ่งเป็นพระนัดดาของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชหลายท่านได้เป็นชายา และหม่อมของเจ้านายฝ่ายหน้าแห่งพระราชวงศ์จักรี ๑. คุณหญิงแสง ธิดาคนโตของพระองค์เจ้าอัมพวัน พระราชโอรสพระองค์ที่ ๓ ของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ได้เป็นชายาของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ ชั้น ๒ กรมพระพิทักษ์เทเวศร์ ต้นราชสกุลกุญชร ณ อยุธยา กรมพระพิทักษ์เทเวศร์ทรงเป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ ๒๒ ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงรับราชการกำกับกรมม้าและได้รับทรงกรมเป็นกรมหมื่นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ครั้นถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดให้เลื่อนพระยศ เป็นกรมพระและได้กำกับกรมพระคชบาลอีกตำแหน่งหนึ่ง กรมพระพิทักษ์เทเวศร์เป็นผู้สร้างวังบ้านหม้อขึ้นที่บริเวณคูเมืองด้านตะวัน ออก ซึ่งที่ตั้งในปัจจุบันคือถนนอัษฎางค์ตรงข้ามกรมการรักษาดินแดน วังบ้าน หม้อเป็นสถาปัตยกรรมที่สร้างขึ้นในกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น เป็นรูปแบบสถาปัตยกรรมที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งนอกเหนือจากพระบรมมหาราชวัง และพระราชวังบวรสถานมงคล ส่วนที่ยังปรากฏที่เป็นเอกลักษณ์คือ ท้องพระโรงซึ่งถือเป็นแบบฉบับท้องพระโรงของวังเจ้านายระดับพระองค์เจ้า คุณหญิงแสงประสูติโอรสและธิดาคือ หม่อมเจ้าหญิงลมุน กุญชร และหม่อมเจ้าสิงหนาท กุญชร ซึ่งเป็นพระโอรสองค์ใหญ่ของกรมพระพิทักษ์เทเวศร์ หม่อมเจ้าสิงหนาทได้รับราชการในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่ หัว ได้ทรงบัญชาการกรมพระอัศวราช กรมมหรสพ และได้รับสถาปนาขึ้นเป็นพระองค์เจ้ามีพระนามว่าพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสิงหนาทราชดุรงคฤทธิ์ พระองค์เป็นพระบิดาของเจ้าพระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์ (หม่อมราชวงศ์หลาน กุญชร) ผู้บัญชาการกรมม้า และกรมมหรสพ ท่านเป็นเสนาบดีกระทรวงโยธาธิการและกระทรวงเกษตราธิการตามลำดับ ท่านถึงแก่อสัญกรรมเมื่อปีจอ พ.ศ. ๒๔๖๕ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ๒. คุณหญิงพึ่ง ธิดาคนที่ ๔ ของพระองค์เจ้าอัมพวันได้เป็นชายาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนราชสีหวิกรม พระราชโอรสพระองค์ที่ ๒๑ ในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระยศเดิมคือ พระองค์เจ้าชุมสาย ทรงประทับทรงงานที่วังท่าพระ ทรงเป็นเจ้านายที่มีพระนิสัยดุ เอาจริงเอาจังกับหน้าที่ราชการได้ทรงรับราชการสนองพระเดชพระคุณสมเด็จพระบรม ชนกนาถ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อมาจนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระอัธยาศัยเช่นเดียวกับพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว คือ โปรดงานก่อสร้างขนาดใหญ่ที่ไม่เน้นรายละเอียดวิจิตรตระการตามากนัก ทรงมีความสามารถในการคำนวณตามแบบสถาปัตยกรรมไทยได้ทรงกำกับราชการกรมช่าง ศิลาและกรมช่างสิบหมู่ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนราชสิงหวิกรมทรงเป็นต้นราชสกุลชุมสาย ณ อยุธยา สิ้นพระชนม์เมื่อปีมะโรง พ.ศ. ๒๔๑๑ ๓. คุณหญิงพลับ ธิดาของสมเด็จเจ้าฟ้าทัศพงษ์ หรือพระพงษ์นรินทร์ได้เป็นหม่อมห้ามของพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหมื่นภูมินทร ภักดี พระราชโอรสพระองค์ที่ ๑๕ ในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงรับราชการกรมช่างสิบหมู่ คุณหญิงพลับมีโอรส ๓ พระองค์ คือ หม่อมเจ้าสารภี ลดาวัลย์ หม่อมเจ้าชาย ลดาวัลย์ และหม่อมเจ้าเผือก ลดาวัลย์ เมื่อทรงพระชราภาพพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหมื่นภูมินทร์ภักดี ทรงประชวร ดวงพระเนตรเป็นต้อ ทอดพระเนตรไม่เห็น และในครั้งนั้นเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ มหาโกษาธิบดี (ขำ บุนนาค) ก็ป่วยเป็นโรคตา เช่นเดียวกันพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดให้ติดต่อแพทย์ตะวันตกเข้ามาผ่าตัดตาของเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ มหาโกษาธิบดี และโปรดให้ผ่าตัดพระเนตรของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นภูมินทรภักดี จนสายพระเนตรหายเป็นปกติ และได้ฉายพระรูปมอบให้แพทย์ฝรั่งเป็นที่ระลึกด้วย พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นภูมินทรภักดีสิ้นพระชนม์เมื่อปีจอ พ.ศ. ๒๔๑๗ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ๔. คุณหญิงทับ ธิดาของสมเด็จเจ้าฟ้าศิลา พระราชโอรสพระองค์ที่ ๘ ของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้เป็นหม่อมของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระรามอิศเรศ พระราชโอรสพระองค์ที่ ๒๒ ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ซึ่งได้รับราชการศาลรับสั่งและความฎีกา ทรงเป็นต้นราชสกุลสุริยกุล ณ อยุธยา นอกจากการรับราชการฝ่ายในเป็นเจ้าจอมมารดาหรือบาทบริจาริกาในพระบาทสมเด็จ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือเป็นหม่อมในเจ้านายฝ่ายหน้าแห่งพระราชวงศ์จักรีแล้ว กุลสตรีแห่งสกุลวงศ์พระเจ้ากรุงธนบุรีหลายท่านได้รับราชการใกล้ชิดพระราช สำนัก เช่น คุณหญิงจั่น และคุณหญิงขาว ธิดาของสมเด็จเจ้าฟ้าชายทัศนพงศ์ คุณหญิงจั่นเป็นพระนมของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เรียกกันทั่วไปว่า "พระนมจั่น" ซึ่งเป็นพระนมที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงให้ความเคารพรัก ส่วนคุณหญิงขาวเป็นพระนมของสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระจักรพรรดิพงศ์ สมเด็จพระอนุชาร่วมพระครรภ์กับพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น