วันอังคารที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565

ความเชื่อเรื่องพระอรหันต์กึ่งพุทธกาล

ความเชื่อเรื่องพระอรหันต์กึ่งพุทธกาล ไม่มีในพระไตรปิฎก แต่มีที่มาจาก 2 แหล่งคือ จากตำนานอุรังคธาตุ ประเทศลาว ที่ได้กล่าวถึงเรื่อง พระยาธรรมมิกราช ผู้ซึ่งจะมาค้ำชูพระพุทธศาสนาในยุคกึ่งพุทธกาล และอีกแหล่งที่มาก็คือ ไปตรงกับข้อมูลที่คณะสงฆ์ธรรมฑูตไทยที่ได้เดินทางไปประเทศอินเดียในปี พ.ศ.(2484-2485)และได้คัดลอกจารึกจากป่าอิสิปตนฯ มายังประเทศไทย ซึ่งข้อมูลเหล่านี้นักวิชาการบางคนเขาไม่เชื่อ แต่เมื่อหลวงปู่เคยนำเรื่องนี้มาเทศน์บอกไว้ว่าดังนี้ 'เมื่อพระพุทธศาสนาผ่านพ้นไปจากกึ่งพุทธกาลอีกประมาณสามสิบกว่าปี จะมีดอกบัวอุบัติขึ้นมา ทางทิศตะวันออก'ของประเทศอินเดีย ที่เหลือก็เป็นวิจารณญาณของแต่ละท่านว่าจะเชื่อหลวงปู่หรือข้อมูลจากนักวิชาการ

 

วันพฤหัสบดีที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2565

เรื่อง พระโปฏฐิลเถระ จากหนังสือ ธรรมบท เผด็จ เล่มเจ็ด พ.ศ. ๒๔๗๑ จอมปลวก มี ๗ รู





ปริศนาธรรม ที่พุทธสถานภูปอ

 

ปริศนาธรรม ที่พระอรหันต์ในสมัยก่อน ประมาณ(พ.ศ. 8-พ.ศ. 236) ที่ได้มาสร้างพุทธสถานภูปอ และสลักข้อความเป็นปริศนาไว้ และหลวงปู่ได้มาตีความหมายให้ลูกศิษย์ฟังไว้ดังนี้
1. ในลุ่มดินแดนของจังหวัดกาฬสินธฺ์จะมีพระอรหันต์บังเกิดขึ้น
2.ทิศทางและสถานที่ในการเผยแผ่ธรรม
3.ศาสนาพุทธในดินแดนประเทศไทยจะแยกเป็นสองนิกาย(ผู้ที่ทำการแยกสงฆ์ถือว่าได้กระทำกรรมอันหนักต่อพระพุทธศาสนา)
ปริศนาธรรมที่พระอริยะบุคคลได้จารึกไว้ที่พุทธสถานภูปอ
"พระหลงหมู่อยู่ถ้ำภูบก แสงตาตกมีเงินหกแสน ไผหาได้จินทานหาแหน่ นอกจากหั่นกินเสี้ยงบ่เหลือ” หลวงปู่สาวกโลกอุดรท่านได้ตีปริศนาออกว่า จุดที่แสงตาตก คือ อายตนะทั้ง 6 ตกมารวมกันที่จุดหทัยทวาร เพียงจุดเดียว "ตรงดั้งจมูกหัก"
และเมื่อเราลากเส้นตามทิศทางการหันของพระเศียรพระปางไสยาสน์ในพุทธสถานภูปอ ผ่านอำเภอโนนสังข์ จะไปตรงกับสถานที่ ที่หลวงปู่บรรลุธรรม คือวัดป่านาเบี้ยพอดี และเส้นที่ลากยังผ่านหินหอยภูเก้าภูพานคำ
เพราะฉะนั้นพุทธสถานภูปอจึงเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ในทางพระพุทธศาสนาอีกแห่งหนึ่งในประเทศไทย ที่หลายท่านอาจจะยังไม่รู้จัก
*ความหมายของเส้นที่ลากคือ จะมีพระอรหันต์บังเกิดขึ้นที่ลุ่มดินแดนจังหวัดกาฬสินธุ์ สถานที่บรรลุธรรมคือ วัดป่านาเบี้ย จังหวัดเลย สถานที่ประกาศตนเป็นพระอรหันต์ คือ วัดป่าศรีสมพร และสถานที่เผยแผ่ธรรม พร้อมวัตถุมงคลคู่บารมี ที่วัดเขาทองนพคุณภูเก้า อำเภอโนนสัง จังหวัดหนองบัวลำภู*



พระปางสัพพัญญูเสวยวิมุตติสุขหอยหินภูเก้า