วันอังคารที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ปรมณูธาตุ- หลวงปู่สาวกโลกอุดร




ปรมาณูเป็นหน่วยที่เล็กที่สุด ที่สอนกันในพระพุทธศาสนา ในพระพุทธศาสนาอธิบายด้วยการแยกจากเม็ดข้าวเปลือกให้เล็กลงๆ ไปเรื่อยๆ จนถึงปรมาณู ซึ่งปรมาณูในทางพระพุทธศาสนามีองค์ประกอบ ๒ อย่างคือ วิชชุรูป ที่หมุนรอบ มูลรูปด้วยกำลังแห่งอวิชชา




๓๖ ปรมาณู เป็น ๑ อณู
๓๖ อณูเหล่านั้น เป็น ๑ ตัชชารี
๓๖ ตัชชารีเหล่านั้น เป็น ๑ รถเรณู
๓๖ รถเรณูเหล่านั้น เป็น ๑ ลิกขา
๗ ลิกขา เป็น ๑ อูกา
๗ อูกาเหล่านั้น เรียกว่า ธัญญามาส


คาถาจาปลินิคัณฑุ (อภิธานนัปปทีปิกา) คาถาที่ ๑๙๔ และคาถาที่ ๑๙๕ ในภูมิกัณฑ์ว่า

ฉตฺตึส ปรมาณูน เมโก ณุจ ฉตึ เต ตชฺชรี ตาปี ฉตฺตึส รถเรณูจฺ ฉตึส เต ลิกฺขา ตา สตฺต อูกา ตา ธญฺญมาโสติ สตฺเต ข้อความบางตอนจากอรรถกถาวิภังคปกรณ์มีกล่าวถึงเรื่องนี้ดังนี้

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 377

ในเถรวาทแห่งอันเตวาสิกของท่าน กล่าวว่า การเปิดเผยโดยการ

ออกด้วยสติ ชื่อว่า การรื้อถอนออก เพราะความเป็นผู้ต้องอาบัติ. สำหรับใน

ที่นี้ ภิกษุเห็นปานนี้ ชื่อว่า ย่อมเห็นโทษทั้งหลายมีประมาณน้อย โดยความ

เป็นโทษ โดยความเป็นภัย. เพื่อแสดงซึ่งโทษมีประมาณน้อย โดยความเป็น

โทษ โดยความเป็นภัยนั้น ท่านกล่าวมาตรา (ประมาณ) ดังนี้.


บรรดาชื่อเหล่านั้น ชื่อว่า ปรมาณู เป็นส่วนแห่งอากาศ

(อนุภาคที่เล็กที่สุดซึ่งเห็นด้วยตาเนื้อไม่ได้ เห็นได้ด้วยทิพยจักษุ) ไม่มาสู่คลอง

แห่งตาเนื้อ ย่อมมาสู่คลองแห่งทิพยจักษุเท่านั้น. ชื่อว่า อณู คือรัศมีแห่ง

พระอาทิตย์ที่ส่องเข้าไปตามช่องฝา ช่องลูกดาล เป็นวงกลม ๆ ด้วยดี ปรากฏ

หมุนไปอยู่. ชื่อว่า ตัชชารี (สิ่งที่เกิดจากอณูนั้น) เพราะเจาะที่ทางโค ทาง

มนุษย์ และทางล้อแล้วปรากฏพุ่งไปเกาะที่ข้างทั้งสอง. ชื่อว่า รถเรณู (ละออง

รถ) ย่อมติดอยู่ที่รถนั้น ๆ นั่นแหละ. ชื่อว่า ลิกขา (ไข่เหา) เป็นต้น

ปรากฏชัดแล้วทั้งนั้น.

ก็ในคำเหล่านั้น พึงทราบประมาณดังนี้

๓๖ ปรมาณู ประมาณ ๑ อณู

๓๖ อณู " ๑ ตัชชารี (สิ่งที่เกิดจากอณูนั้น)

๓๖ ตัชชารี " ๑ รถเรณู (ละอองรถ)

๓๖ รถเรณู " ๑ ลิกขา (ไข่เหา)

๗ ลิกขา " ๑ โอกา (ตัวเหา)

๗ โอกา " ๑ ธัญญมาส (เมล็ดข้าวเปลือก)

๗ ธัญญมาส " ๑ อังคุละ (นิ้ว)

๑๒ อังคุละ " ๑ วิทัตถิ (คืบ)

๑๒ วิทัตถิ " ๑ รัตนะ (ศอก)

๗ รตนะ " ๑ ยัฏฐิ (หลักเสา)

๒๐ ยัฏฐิ " ๑ อุสภะ (ชื่อโคจ่าฝูง)

๘๐ อุสภะ " ๑ คาวุต

๔ คาวุต " ๑ โยชน์

๑๐,๐๖๘ โยชน์ " ๑ ภูเขาสิเนรุราช.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น