วันพุธที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

โอวาทปาติโมกข์






โอวาทปาติโมกข์ เป็นหลักคำสอนสำคัญของพระพุทธศาสนา เป็น "ปาติโมกข์" ที่พระพุทธองค์ทรงแสดงตลอดปฐมโพธิกาล คือ 20 พรรษาแรก เฉพาะครั้งแรกในวันเพ็ญเดือนมาฆะ (เดือน 3) หลังจากตรัสรู้แล้ว 9 เดือน เป็นการแสดงปาติโมกข์ที่ประกอบด้วยองค์ 4 เรียกว่า จาตุรงคสันนิบาต ซึ่งมีเพียงครั้งเดียวในพระศาสนาของพระพุทธเจ้าองค์หนึ่งๆ (อรรถกถาแสดงไว้ว่า พระพุทธเจ้าทรงแสดง "โอวาทปาติโมกข์" นี้ ด้วยพระองค์เอง ท่ามกลางที่ประชุมสงฆ์ตลอด 20 พรรษาแรก หลังจากนั้นทรงบัญญัติให้พระสงฆ์แสดง "อาณาปาติโมกข์" แทน)

โอวาทปาติโมกข์มักถูกกล่าวถึงในแง่หลักธรรม 3 อย่างเดียวว่าเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา อย่างไรก็ตามพระพุทธพจน์ 3 คาถากึ่ง อาจสรุปใจความได้เป็นสามส่วน[1] คือ หลักการ 3 อุดมการณ์ 4 และวิธีการ 6 ดังนี้

[แก้] พระพุทธพจน์คาถาแรกทรงกล่าวถึงอุดมการณ์อันสูงสุดของพระภิกษุและบรรพชิตในพระพุทธศาสนานี้ อันมีลักษณะที่แตกต่างจากศาสนาอื่น อันอาจเรียกได้ว่า อุดมการณ์ 4 ของพระพุทธศาสนา ได้แก่
1.ความอดทนอดกลั้นเป็นสิ่งที่นักบวชในศาสนานี้พึงยึดถือและเป็นสิ่งที่ต้องใช้เมื่อประสบกับสิ่งที่ไม่ชอบใจทุกอย่างที่ต้องเจอในชีวิตนักบวช เช่น ประสงค์ร้อนได้เย็น ประสงค์เย็นได้ร้อน
2.การมุ่งให้ถึงพระนิพพานเป็นเป้าหมายหลักของผู้ออกบวช มิใช่สิ่งอื่นนอกจากพระนิพพาน
3.พระภิกษุและบรรพชิตในพระธรรมวินัยนี้(เช่นภิกษุณี สามเณร สามเณรี สิกขมานา)ไม่พึงทำผู้อื่นให้ลำบากด้วยการทำความทุกข์กายหรือทุกข์ทางใจไม่ว่าจะในกรณีใดๆ
4.พระภิกษุตลอดจนบรรพชิตในพระธรรมวินัยนี้ต้องขอแก่ทายกด้วยอาการที่ไม่เบียดเบียน( คือการไม่เอ่ยปากเซ้าซี้ขอและไม่ใช้ปัจจัยสี่อย่างฟุ่มเฟือยจนเดือดร้อนทายก)
[แก้] พระพุทธพจน์คาถาที่สองทรงกล่าวถึง "หลักการอันเป็นหัวใจสำคัญเพื่อเข้าถึงจุดมุ่งหมายของพระพุทธศาสนาแก่พุทธบริษัททั้งปวงโดยย่อ" หรือ หลักการ 3 กล่าวกันเป็นเป็นการสรุปรวบยอดหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาอันเป็นแนวทางที่พุทธบริษัทพึงปฏิบัติ ได้แก่
1.การไม่ทำบาปทั้งปวง
2.การทำกุศลให้ถึงพร้อม
3.การทำจิตใจให้บริสุทธิ์
มีผู้อธิบายว่าทั้งสามข้อนี้อาจอนุมานเข้ากับ ศีล สมาธิ และปัญญา [2]
[แก้] พระพุทธพจน์คาถาที่สามหมายถึงวิธีการที่ธรรมทูตผู้เผยแผ่พระพุทธศาสนาถือเป็นกลยุทธ พระภิกษุที่ออกเผยแผ่พระพุทธศาสนาซึ่งมีเป็นจำนวนมากให้ใช้วิธีการเหมือนกันเพื่อจะได้เป็นไปในแนวทางเดียวกันและถูกต้องเป็นธรรม ได้แก่ วิธีการทั้ง 6

1.การไม่กล่าวร้าย (เผยแผ่ศาสนาด้วยการไม่กล่าวร้ายโจมตีดูถูกความเชื่อผู้อื่น)
2.การไม่ทำร้าย (เผยแผ่ศาสนาด้วยการไม่ใช้กำลังบังคับข่มขู่ด้วยวิธีการต่างๆ)
3.ความสำรวมในปาติโมกข์ (รักษาความประพฤติให้น่าเลื่อมใส)
4.ความเป็นผู้รู้จักประมาณในอาหาร (เสพปัจจัยสี่อย่างรู้ประมาณพอเพียง)
5.ที่นั่งนอนอันสงัด (สันโดษไม่คลุกคลีด้วยหมู่คณะ)
6.ความเพียรในอธิจิต (พัฒนาจิตใจเสมอมิใช่ว่าเอาแต่สอนแต่ตนเองไม่กระทำตามที่สอน)






โอวาทปาติโมกข์

ความหมายของคำว่า ปาติโมกข์

คำว่า ปาตี ได้แก่ การตกไป เช่น การตกไปในสังสารวัฏ การตกไปในกิเลส การตกไปในห้วงความทุกข์ และอบายทั้งหลาย ดังนั้น ปาตี จึงเป็นชื่อของปุถุชน ทั้งหลายผู้ตกไปในสังสารวัฏ กิเลส ความทุกข์ และอบายทั้งหลาย
คำว่า โมกฺข ได้แก่ การหลุดพ้น เครื่องหลุดพ้น ซึ่งหมายถึง นิพพาน

เพราะฉะนั้น คำว่า ปาติโมกข์ จึงแปลว่า ความหลุดพ้นจากกิเลส และความทุกข์ทั้งหลาย รวมความว่า โอวาทปาติโมกข์ จึงได้แก่ คำสอน เพื่อความหลุดพ้นจากกิเลสและความทุกข์

ประเภทของปาติโมกข์
ปาติโมกข์ แบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ
๑. อาณาปาติโมกข์ คือ สิกขาบททั้งหลายที่ทรงบัญญัติ เพื่อเป็นขอบเขตแก่ภิกษุ และภิกษุณีทั้งหลาย หลักธรรมที่ว่า สำรวมในพระปาติโมกข์ หมายถึง อาณาปาติโมกข์ นี้
๒. โอวาทปาติโมกข์ คือ โอวาททั้งหลายที่ทรงแสดงในวันเพ็ญเดือน ๓ มีโอวาทว่า สพฺพปาปสฺส อกรณํ เป็นต้น
อาณาปาติโมกข์นั้น พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติ และพระสาวกทั้งหลายย่อมสวดแสดงทุกกึ่งเดือน ส่วนโอวาท ปาติโมกข์นั้น พระพุทธเจ้าเท่านั้นทรงแสดง


โอวาทปาฏิโมกข์ หลักคำสอนสำคัญของพระพุทธศาสนา หรือคำสอนอันเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา ได้แก่
พระพุทธพจน์ ๓ คาถากึ่ง ที่พระพุทธเจ้าตรัสแก่พระอรหันต์ ๑,๒๕๐ รูป ผู้ไปประชุมกันโดยมิได้นัดหมาย ณ พระเวฬุ
วนาราม ในวันเพ็ญเดือน ๓ ที่เราเรียกกันว่าวันมาฆบูชา (ถรรถกถากล่าวว่า พระพุทธเจ้าทรงแสดงโอวาทปาฏิโมกข์
นี้ แก่ที่ประชุมสงฆ์ตลอดมา เป็นเวลา ๒๐ พรรษา ก่อนที่จะโปรดให้สวดปาฏิโมกข์อย่างปัจจุบันนี้แทนต่อมา),

คาถา โอวาทปาฏิโมกข์ มีดังนี้ (โอวาทปาติโมกข์ ก็เขียน)
สพฺพปาปสฺส อกรณํกุสลสฺสูปสมฺปทา
สจิตฺตปริโยทปนํเอตํ พุทธาน สาสนํฯ
ขนฺตี ปรมํ ตโป ตีติกฺขา
นิพฺพานํ ปรมํ วทนฺติ พุทฺธา
น หิ ปพฺพชิโต ปรูปฆาตี
สมโณ โหติ ปรํ วิเหฐยนฺโตฯ
อนูปวาโท อนูปฆาโต ปาติโมกฺเข จ สํวโร
มตฺตญฺญุตา จ ภตฺตสฺมึ ปนฺตญฺจ สยนาสนํ
อธิจิตฺเต จ อาโยโค เอตํ พุทฺธาน สาสนํฯ

แปล : การไม่ทำความชั่วทั้งปวง ๑ การบำเพ็ญแต่ความดี ๑ การทำจิตของตนให้ผ่องใส ๑ นี้เป็นคำสอนของ
พระพุทธเจ้าทั้งหลาย

ขันติ คือความอดกลั้น เป็นตบะอย่างยิ่ง, พระพุทธเจ้าทั้งหลายกล่าวว่านิพพาน เป็นบรมธรรม, ผู้ทำร้ายคนอื่น
ไม่ชื่อว่าเป็นบรรพชิต,ผู้เบียดเบียนคนอื่น ไม่ชื่อว่าเป็นสมณะ

การไม่กล่าวร้าย ๑ การไม่ทำร้าย ๑ ความสำรวมในปาฏิโมกข์ ๑ ความเป็นผู้รู้จักประมาณในอาหาร ๑ ที่นั่ง
นอนอันสงัด ๑ ความเพียรในอธิจิต ๑ นี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
ที่เข้าใจกันโดยทั่วไป และจำกันได้มาก ก็คือ ความในคาถาแรกที่ว่า ไม่ทำชั่ว ทำแต่ความดี ทำจิตใจให้ผ่องใส

โอวาทวรรค ตอนที่ว่าด้วยเรื่องให้โอวาทแก่นางภิกษุณี เป็นต้น, เป็นชื่อวรรคที่ ๓ แห่งปาจิตติยกัณฑ์ ในมหาวิภังค์
พระวินัยปิฎก

โอวาทานุสาสนี คำกล่าวสอนและพร่ำสอน, คำตักเตือนและแนะนำพร่ำสอน

โอษฐ์ ปาก, ริมฝีปาก

โอสารณา การเรียกเข้าหมู่, เป็นชื่อสังฆกรรมจำพวกหนึ่ง มีทั้งที่เป็นอปโลกนกรรม (เช่น การรับสามเณรผู้กล่าวตู่
พระผู้มีพระภาคเจ้าซึ่งถูกนาสนะไปแล้วและเธอกลับตัวได้) เป็นญัตติกรรม (เช่น เรียกอุปสัมปทาเปกขะที่สอนซ้อม
อันตรายิกธรรมแล้วเข้าไปในสงฆ์) เป็นญัตติทุติยกรรม (เช่น หงายบาตรแก่คฤหัสถ์ที่กลับตัวประพฤติดี) เป็นญัตติ
จตุตถกรรม (เช่นระงับนิคหกรรมที่ได้ทำแก่ภิกษุ)

กิจกรรมของชาวพุทธ

กิจกรรมของชาวพุทธในวันมาฆบูชา
๑. เว้นอบายมุขทุกประเภท
๒. ตักบาตร ทำบุญ ให้ทาน
๓. สมาทานศีล รักษาศีล ๕ ศีลอุโบสถ
๔. ฟังพระธรรมเทศนาโอวาทปาติโมกข์
๕. ปฏิบัติกรรมฐาน
๖. เวียนเทียนกระทำประทักษิณรอบสัญญลักษณ์พระรัตนตรัย เพื่อน้อมระลึกถึงจาตุรงคสันนิบาต และการแสดง โอวาทปาติโมกข์ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า


ชฎิล 3 พี่น้อง


ครั้นพระพุทธเจ้า ทรงส่งพระสาวกเหล่าภัททวัคคีย์ ไปประกาศพระศาสนาแล้ว ก็เสด็จตรงไปยังอุรุเวลาเสนานิคม ซึ่งตั้งอยู่ในเขตกรุงราชคฤห์ ซึ่งเป็นที่อยู่ของอุรุเวลกัสสปะ อาจารย์ใหญ่ของชฎิล 500 คน

กรุงราชคฤห์นั้น เป็นเมืองหลวงแห่งแคว้นมคธ ซึ่งเป็นมหาประเทศ พระเจ้าพิมพิสารมหาราช เป็นพระมหากษัตริย์ปกครองโดยสิทธิขาด เป็นเมืองที่คับคั่งด้วยผู้คน เจริญวิทยาความรู้ ตลอดการค้าขาย เป็นที่รวมอยู่แห่งบรรดาคณาจารย์ เจ้าลัทธิมากมายในสมัยนั้น

ในบรรดาคณาจารย์ใหญ่ ๆ นั้น ท่านอุรุเวลกัสสปะ เป็นคณาจารย์ใหญ่ผู้หนึ่ง ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือของคนเป็นอันมาก ท่านอุรุเวลกัสสปะ เป็นนักบวชจำพวกชฎิล ท่านมีพี่น้องด้วยกัน 3 คน ออกบวชจากตระกูลกัสสปะโคตร

ท่านอุรุเวลกัสสปะ เป็นพี่ชายใหญ่ มีชฎิล 500 คนเป็นบริวาร ตั้งอาศรมสถานที่พนาสณฑ์ ตำบลอุรุเวลา ต้นแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลหนึ่ง จึงได้นามว่า อุรุเวลกัสสปะ น้องคนกลาง มีชฎิลบริวาร 300 คน ตั้งอาศรมอยู่ที่ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ถัดเข้าไปอีกตำบลหนึ่ง จึงได้นามว่า นทีกัสสปะ ส่วนน้องคนเล็ก มีชฎิลบริวาร 200 ตั้งอาศรมอยู่คุ้งใต้แม่น้ำเนรัญชรานั้น ตำบลหนึ่ง ซึ่งมีนามว่า ตำบลคยาสีสะประเทศ จึงได้นามว่า คยากัสสปะ ชฎิลคณะนี้ทั้งหมด มีทิฏฐิหนักในการบูชาไฟ

พระพุทธเจ้าเสด็จไปถึงอาศรมของ ท่านอุรุเวลกัสสปะ ในเวลาเย็น จึงเสด็จตรงไปพบอุรุเวลกัสสปะทันที ทรงรับสั่งขอพักแรมด้วยสักหนึ่งคืน อุรุเวลสสปะรังเกียจทำอิดเอื้อน ไม่พอใจให้พัก เพราะเห็นพระพุทธเจ้า เป็นนักบวชต่างจากลัทธิของตน พูดบ่ายเบี่ยงว่า ไม่มีที่ให้พัก

ครั้นพระพุทธเจ้าตรัสขอพักที่โรงไฟ ซึ่งเป็นสถานที่บูชาไฟของชฎิล ด้วยเป็นที่ว่าง ไม่มีชฏิลอยู่อาศัย ทั้งเป็นที่อยู่ของนาคราชดุร้ายด้วย อุรุเวลกัสสปะได้ทูล ว่า พระองค์อย่าพอใจพักที่โรงไฟเลย เพราะเป็นที่อยู่ของพระยานาค ที่มีพิษร้ายแรง ทั้งดุร้ายที่สุด อาศัยอยู่ จะได้รับอันตรายจากนาคราชนั้น ให้ถึงอันตรายแก่ชีวิต

เมื่อพระพุทธเจ้ารับสั่งยืนยันว่า นาคราชนั้นจะไม่เบียดเบียนพระองค์เลย ถ้าท่านอุรุเวลกัสสปะ อนุญาตให้เข้าอยู่ ท่านอุรุเวลกัสสปะ จึงได้อนุญาตให้เข้าไปพักแรม

หลังจากนั้น พระพุทธเจ้า ก็เสด็จเข้าไปยังโรงไฟนั้น ประทับนั่งดำรงพระสติ ต่อพระกัมมัฏฐานภาวนา ฝ่ายพระยานาค เห็นพระพุทธเจ้า เสด็จเข้ามาประทับในที่นั้น ก็มีจิตคิดขึ้งเคียด จึงพ่นพิษตลบไป

ในลำดับนั้น พระพุทธเจ้าก็ทรงดำริว่า ควรที่เราจะแสดงอิทธานุภาพ ให้เป็นควันไปสัมผัสเนื้อหนังมังสา และเอ็นกระดูกแห่งพระยานาคนี้ ระงับเดชพระยานาคให้เหือดหาย แล้วทรงแสดงอภินิหารดังพระดำรินั้น

พระยานาคไม่อาจอดกลั้นความโกรธได้ ก็บังหวนพ่นพิษเป็นเพลิงพลุ่งโพลงขึ้น พระพุทธเจ้าก็สำแดงเตโชกสิณ บันดาลเปลวเพลิงรุ่งโรจน์โชติช่วง และเพลิงทั้ง 2 ฝ่ายก็บังเกิดขึ้นแสง แดงสว่าง ดุจเผาผลาญซึ่งโรงไฟให้เป็นเถ้าธุลี

ส่วนชฎิลทั้งหลาย ก็แวดล้อมรอบโรงไฟนั้น ต่างเจรจากันว่า พระสมณะนี้ มีสิริรูปงามยิ่งนัก เสียดายที่ท่านมาวอดวายเสีย ด้วยพิษแห่งพระยานาคในที่นั้น

ครั้นรุ่งเช้า พระพุทธเจ้า ก็กำจัดฤทธิ์เดชพระยานาคให้หมดไป บันดาลให้พระยานาคนั้น ขดกายลงในบาตร แล้วทรงสำแดงแก่อุรุเวลกัสสปะ ตรัสบอกว่า พระยานาคนี้สิ้นฤทธิ์เดชแล้ว

อุรุเวลกัสสปะเห็นดังนั้น ก็ดำริว่า พระสมณะนี้มี อานุภาพมาก ทำให้พระยานาคพ่ายแพ้ไปได้ แต่ว่าก็ไม่เป็นพระอรหันต์เหมือนเราเลย มีจิตเลื่อมใสในอิทธิปาฏิหาริย์ จึงกล่าวว่า ข้าแต่สมณะ นิมนต์พระผู้เป็นเจ้าอยู่ ณ อาศรมของข้าพเจ้าเถิด ข้าพเจ้าจะถวายภัตตาหาร ให้ฉันทุกวันเป็นนิตย์

พระพุทธเจ้า ก็เสด็จประทับยังพนาสณฑ์ตำบลหนึ่ง ใกล้อาศรมแห่งอุรุเวลกัสสปะนั้น ครั้นตกกลางคืน ท้าวจาตุมหาราชทั้ง 4 ก็เสด็จลงมาหาพระพุทธเจ้า ถวายอภิวาท และประดิษฐานยืนอยู่ใน 4 ทิศ มีแสงสว่างดุจกองเพลิงก่อไว้ทั้ง 4 ทิศ

ครั้นเวลาเช้า อุรุเวลกัสสปะ จึงเข้าไปหาพระพุทธเจ้าทูลว่า นิมนต์พระสมณะ ไปฉันภัตตาหารเถิด ข้าพเจ้าตกแต่งไว้ถวายเสร็จแล้ว แต่เมื่อคืนนี้ เห็นมีแสงสว่างไปทั่ว ใครมาสู่สำนักพระองค์ จึงปรากฏรุ่งเรืองในทิศทั้ง 4

พระพุทธเจ้าจึงตรัส บอกว่า ดูก่อน กัสสปะ นั้นคือ ท้าวจาตุมหาราชทั้ง 4 ลงมาสู่สำนักตถาคตเพื่อฟังธรรม

อุรุเวลกัสสปะได้สดับดังนั้น ก็ดำริว่า พระมหาสมณะองค์นี้ มีอานุภาพมาก ท้าวจาตุมหาราชยังลงมาสู่สำนัก ถึงกระนั้น ก็ยังมิได้เป็นพระอรหันต์เหมือนเรา

พระพุทธเจ้า เสด็จมากระทำภัตตกิจ เสวยภัตตาหารเสร็จแล้ว ก็เสด็จกลับมาสู่ที่พักในตอนกลางวัน

ตกกลางคืน ท้าวสหัสสนัย ก็ลงมาสู่สำนักพระพุทธเจ้า ถวายนมัสการ แล้วยืนอยู่ที่ควรข้างหนึ่ง เปล่งรัศมีสว่าง ดุจกองไฟใหญ่ สว่างยิ่งกว่าคืนก่อน

ครั้นเพลารุ่งเช้า อุรุเวลกัสสปะ ก็ไปหาพระพุทธเจ้า ทูลอาราธนาให้ฉันภัตตาหาร แล้วทูลถามว่า เมื่อคืนนี้ มีผู้ใดมาสู่สำนักพระองค์ จึงมีรัศมีสว่างยิ่งกว่าราตรีก่อน ตรัสบอกว่า ดูก่อน กัสสปะ เมื่อคืนนี้ท้าวสักกะ ลงมาสู่สำนักตถาคต เพื่อจะฟังธรรม

อุรุเวลกัสสปะได้ฟังดังนั้น ก็คิดเห็นเป็นอัศจรรย์ เหมือนครั้งก่อน

พระพุทธเจ้าเสด็จไปเสวยภัตตาหาร แล้วกลับมาอยู่ที่พักในเวลากลางวัน

ตกกลางคืน ท้าวสหัมบดีพรหม ก็ส่งมาสู่สำนักพระบรมศาสดา เปล่งแสงสว่างยิ่งขึ้นไปกว่า 2 คืนก่อนอีก

ครั้นรุ่งเช้าอุรุเวลกัสสปะ ก็ไปทูลอาราธนาฉันภัตตาหาร แล้วทูลถามอีก ตรัสตอบว่า คืนนี้ท้าวสหัมบดีพรหม ลงมาสู่สำนักตถาคต อุรุเวลกัสสปะ ก็ดำริดุจนัยก่อน พระพุทธเจ้าเสด็จไปเสวยภัตตาหาร แล้วก็กลับมาสู่สำนัก

ในวันรุ่งขึ้น มหายัญญลาภ บังเกิดขึ้นแก่อุรุเวลกัสสปะ คือชนชาวอังครัฐทั้งหลาย จะนำเอาข้าวปลาอาหารเป็นอันมาก มาถวายแก่อุรุเวลกัสสปะ จึงดำริแต่ในราตรีว่า รุ่งขึ้นพรุ่งนี้ มหาชนจะนำเอาข้าวปลาอาหารมาให้เรา หากพระสมณะรูปนี้ สำแดงอิทธิปาฏิหาริย์ ลาภสักการะ ก็จะบังเกิดแก่ท่านเป็นอันมาก เราจักเสื่อมสูญจากการสักการะบูชา ทำอย่างไร วันพรุ่งนี้ท่านจะไม่มาที่นี้ได้

พระพุทธเจ้าทรงทราบความคิดของ อุรุเวลกัสสปะ ด้วยเจโตปริยญาณ ครั้นรุ่งเช้า พระพุทธเจ้าก็เสด็จไปสู่อุตตรกุรุทวีป ทรงบิณฑบาตรได้ภัตตาหารแล้ว ก็เสด็จมากระทำภัตตกิจยังฝั่งอโนดาต แล้วทรงไปพักในที่นั้น

ตกเย็น พระพุทธเจ้าจึงเสด็จมาที่พักเดิม ครั้นรุ่งเช้า อุรุเวลกัสสปะ ไปทูลอาราธนาเสวยภัตตาหาร และทูลถามว่า

“เมื่อวานนี้ ท่านไปแสวงหาอาหารในที่ใด ไฉนไม่ไปสู่สำนักข้าพเจ้า ข้าพเจ้าระลึกถึงพระองค์อยู่”

พระพุทธเจ้าจึงตรัสถึง ความวิตกของอุรุเวลกัสสปะ นั้นให้แจ้งทุกประการ อุรุเวลกัสสปะได้ฟัง ตกใจคิดว่า พระมหาสมณะนี้ มีอานุภาพมากแท้ ท่านล่วงรู้จิตเราได้ขนาดนี้ แต่ยังไงเสีย ท่านก็ยังไม่เป็น พระอรหันต์ เหมือนเราอยู่ดี

ในกาลนั้น ผ้าบังสุกุลจีวรบังเกิดแก่พระพุทธเจ้า พระองค์เสด็จไปซักผ้าบังสุกุล ซึ่งห่อศพนางปุณณทาสี ที่ทอดทิ้งอยู่ในอามกสุสานะป่าช้าผีดิบ เมื่อพระพุทธเจ้า เป็นกษัตริย์ชาติตระกูลสูง ทรงตรัสรู้อนุตตรสัมโพธิญาณ เป็นพระสัมพุทธเจ้า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ เป็นโมลีของโลกเห็นปานนี้แล้ว ยังทรงลดพระองค์ลงมาซักผ้าขาว ที่ห่อศพนางปุณณทาสี ที่ทอดทิ้งอยู่ในป่าช้า เพื่อทรงใช้เป็นผ้าจีวรทรงเช่นนี้ เป็นกรณีที่สุดวิสัย ของเทวดาและมนุษย์ ซึ่งอยู่ในสถานะเช่นนั้นจะทำได้ ก็เกิดเหตุแผ่นดินไหวขึ้น เป็นเหตุอัศจรรย์ถึง 3 ครั้ง

ตลอดระยะทาง พระพุทธเจ้าทรงดำริว่า เราจะซักผ้าบังสุกุลนี้ในที่ใด? ขณะนั้น ท้าวสหัสสนัย ทรงทราบในพุทธปริวิตก จึงเสด็จลงมาขุดสระโบกขรณี ด้วยพระหัตถ์ในพื้นศิลา สำเร็จด้วยฤทธิ์ให้เต็มไปด้วยน้ำ แล้วกราบทูลพระพุทธเจ้า ให้ทรงซักผ้าบังสุกุลในที่นั้น

ขณะที่พระพุทธเจ้าทรงซัก ก็ทรงดำริว่า จะทรงขยำในที่ใดดี ท้าวสหัสสนัย ก็นำเอาแผ่นศิลาใหญ่ เข้าไปถวาย ทรงขยำด้วยพระหัตถ์ จนหายกลิ่น 4 อสุภะ แล้วก็ทรงพระดำริว่า จะตากผ้าบังสุกุลจีวรในที่ใดดี ลำดับนั้นรุกขเทวดา ซึ่งสิงสถิตอยู่ ณ ไม้กุ่มบก ก็น้อมกิ่งไม้นั้นลงมา ถวายให้ทรงห้อยตากจีวร ครั้นทรงตากแล้ว พระพุทธเจ้าก็ทรงดำริว่า จะแผ่พับผ้าในที่ใด ท้าวสหัสสนัยก็ยกแผ่นศิลาอันใหญ่ มาทูลถวายให้แผ่พับผ้ามหาบังสุกุลนั้น

เช้าวันต่อมา อุรุเวลกัสสปะไปเฝ้าพระพุทธเจ้า เห็นสระและแผ่นศิลาทั้งสอง ซึ่งมิได้มีในที่นั้นมาก่อน และกิ่งไม้กุ่มน้อมลงมาเช่นนั้น จึงทูลถามพระบรมศาสดา ตรัสบอกความทั้งปวงให้ทราบ เมื่ออุรุเวลกัสสปะได้ฟัง ก็สะดุ้งตกใจคิดว่า พระสมณะองค์นี้ มีเดชานุภาพมากยิ่งนัก แม้แต่ท้าวสหัสสนัย ยังลงมาทำการรับใช้ แต่ก็ไม่เป็นพระอรหันต์เหมือนเรา

พระพุทธเจ้า เสด็จไปเสวยภัตตาหารแล้ว ก็กลับมาพักที่อาศัย ครั้นรุ่งขึ้นในวันต่อมา อุรุเวลกัสสปะ ไปทูลนิมนต์ฉันภัตตกิจ จึงตรัสว่า

“ท่านจงไปก่อนเถิด เราจะตามไปภายหลัง”

เมื่อส่งอุรุเวลกัสสปะไปแล้ว จึงเหาะไปนำเอาผลหว้าใหญ่ประจำทวีป ในป่าหิมพานต์มาแล้ว ก็เสด็จมาถึงโรงไฟ ก่อนอุรุเวลกัสสปะ ครั้นอุรุเวลกัสสปะมาถึง จึงทูลถามว่า พระองค์มาทางใด จึงถึงก่อน พระศาสดาจึงตรัสบอกแล้ว ตรัสว่า

“ดูก่อน กัสสปะ ผลหว้าประจำทวีปนี้ มีวรรณสันฐานสุคันธรสเอมโอช ถ้าท่านปรารถนาจะบริโภคก็เชิญตามปรารถนา”

อุรุเวลกัสสปะ ก็คิดเห็นเป็นอัศจรรย์เหมือนครั้งก่อน ครั้นพระพุทธเจ้า ทรงทำภัตตกิจเสร็จแล้ว ก็เสด็จกลับไปยังที่พัก

ในวันต่อมา พระพุทธเจ้า ได้ทรงทำอิทธิปาฏิหาริย์เช่นนั้น อีก 4 ครั้ง คือ ทรงส่งอุรุเวลกัสสปะมาก่อนแล้ว เสด็จเหาะไปเก็บผลมะม่วงครั้งหนึ่ง เก็บผลมะขามป้อมครั้งหนึ่ง เก็บผลส้มในป่าหิมพานต์ครั้งหนึ่ง เสด็จขึ้นไปดาวดึงส์เทวโลก นำเอาผลไม้ปาริฉัตตกครั้งหนึ่ง เสด็จมาถึงก่อน คอยท่าอุรุเวลกัสสปะอยู่ที่โรงไฟ ให้ชฎิลเห็นเป็นอัศจรรย์ใจทุกครั้ง

วันหนึ่ง ชฎิลทั้งหลายปรารถนาจะก่อไฟ ก็มิอาจผ่าฟืนออกได้ จึงคิดว่าที่เป็นแบบนี้ เพราะฤทธิ์พระมหาสมณะทำโดยแท้ พระพุทธเจ้าจึงตรัสถาม ครั้นทราบความแล้วก็ตรัสว่า ท่านจงผ่าฟืนตามปรารถนาเถิด ในทันใดนั้น ชฎิลก็ผ่าฟืนออกได้ตามประสงค์

วันหนึ่ง ชฎิลทั้ง 500 คน ปรารถนาจะบูชาไฟ ก่อไฟก็ไม่ติด จึงคิดปริวิตกเหมือนหนหลัง พระพุทธเจ้าตรัสถามทราบความแล้ว ก็ทรงอนุญาตให้ก่อไฟได้ ไฟก็ติดขึ้นทั้ง 500 กอง พร้อมกันในขณะเดียว ชฎิลทั้งหลายบูชาไฟสำเร็จแล้ว จะดับไฟ ๆ ก็ไม่ดับ จึงดำริดุจหนหลัง พระพุทธเจ้าตรัสถามทราบความแล้ว ก็ทรงอนุญาตให้ดับไฟ ๆ ก็ดับพร้อมกันถึง 500 กอง

วันหนึ่ง ในฤดูหนาว ชฎิลทั้งหลาย ลงอาบน้ำดำผุดขึ้นลง ในแม่น้ำเนรัญชรา พระพุทธเจ้า ผู้ทรงพระกรุณาแก่ชฎิล ทรงดำริว่า เมื่อชฎิลขึ้นจากน้ำแล้วจะหนาวมาก จึงทรงนิรมิตเชิงกราณประมาณ 500 อัน มีไฟติดทั้งสิ้นไว้ในที่นั้น ครั้นชฎิลทั้งหลายขึ้นจากน้ำหนาวจัดก็ชวนกันเข้าผิงไฟที่เชิงกราณ แล้วก็คิดสันนิษฐานว่า พระมหาสมณะ คงทรงเนรมิตไว้ให้เป็นแน่ น่าอัศจรรย์ยิ่งนัก

วันหนึ่ง มหาเมฆตั้งขึ้นมิใช่ฤดูกาล บันดาล ให้ฝนตกลงมาเป็นอันมาก กระแสน้ำเป็นห้วงใหญ่ ไหลท่วมไปในที่ทั้งปวงโดยรอบบริเวณนั้น ธรรมดาว่า พระพุทธเจ้าเสด็จสถิตอยู่ ณ ประเทศใด แม้ที่นั้นน้ำท่วม ก็ทรงอธิษฐาน มิให้น้ำท่วมเข้าไปในที่นั้นได้ และในครั้งนั้นก็ทรงดำริว่า ตถาคตจะทำให้น้ำนั้นเป็นขอบสูงขึ้นไป ในทิศโดยรอบที่หว่างกลางนั้น จะมีพื้นภูมิภาคจะราบเรียบขึ้นปกติ ตถาคตจะจงกรมอยู่ในที่นั้น แล้วก็ทรงอธิษฐานบันดาล ให้เป็นดังพุทธดำรินั้น

ฝ่ายอุรุเวลกัสสปะนั้น คิดว่าพระมหาสมณะนี้ น้ำจะท่วมเธอหรือไม่ท่วมประการใด หรือจะหลีกไปสู่ที่อื่น จึงลงเรือพร้อมกับชฎิลทั้งหลาย รีบพายไปดูโดยด่วน ถึงที่ที่พระพุทธเจ้าทรงสถิต ก็เห็นน้ำสูงขึ้นเป็นกำแพงล้อมอยู่โดยรอบ แลเห็นพระพุทธเจ้าเสด็จจงกรมอยู่ในพื้นภูมิภาคปราศจากน้ำ จึงส่งเสียงร้องเรียก

พระพุทธเจ้าขานรับว่า “กัสสปะ ตถาคตอยู่ที่นี่” แล้วก็เสด็จเหาะขึ้นไปบนอากาศ เลื่อนลอยลงสู่เรือของอุรุเวลกัสสปะ ทำให้อุรุเวลกัสสปะคิดว่า พระมหาสมณะนี้ มีอิทธิฤทธิเป็นอันมาก แต่ถึงมีอานุภาพมากอย่างนั้น ก็ยังไม่เป็นพระอรหันต์เหมือนเรา

แท้จริง ตั้งแต่พระพุทธเจ้า เสด็จจากป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ในวันแรมค่ำหนึ่ง เดือน 12 มาประทับอยู่ที่อุรุเวลาเสนานิคม จนตราบเท่าถึงวันเพ็ญ เดือน 2 เป็นเวลาสองเดือน ทรงแสดงอิทธิปาฏิหารย์ ทรมานอุรุเวลกัสสปะ ด้วยประการต่าง ๆ อุรุเวลกัสสปะ ก็ยังมีสันดานกระด้าง ถือตนว่า เป็นพระอรหันต์ อยู่อย่างนั้น ด้วยทิฐิอันกล้ายิ่งนัก พระพุทธเจ้าจึงทรงดำริว่า เราจะทำให้ชฏิลสลดจิตคิดสังเวชตนเอง จึงมีพระวาจาตรัสแก่ อุรุเวลกัสสปะว่า

“กัสสปะ ท่านมิได้เป็นพระอรหันต์ อรหัตทั้งทางปฏิบัติของท่าน ก็ยังห่างไกล มิใช่ทางมรรคผลอันใด ไฉนเล่า ท่านจึงถือตนว่า เป็นพระอรหันต์ เท็จต่อตัวเอง ทั้ง ๆ ท่านเองก็รู้ตัวดีว่า ตัวยังมิได้บรรลุโมกขธรรมอันใด ยังลวงคนอื่นว่าเป็นพระอรหันต์อยู่อีก กัสสปะ ถึงเวลาอันควรแล้ว ที่ท่านจะสารภาพแก่ตัวเองว่า ท่านยังมิได้เป็นพระอรหันต์ ทั้งยังมิได้ปฏิบัติธรรม เพื่อเป็นพระอรหันต์ด้วย กัสสปะ แล้วท่านจะได้เป็นพระอรหันต์ เร็ว ๆ นี้แหละ”

เมื่ออุรุเวลกัสสปะ ได้ฟังพระโอวาทก็รู้สึกตัว ละอายแก่ใจ ซบเศียรลงแทบพระยุคลบาท แล้วกราบทูลว่า

“ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระองค์ขอบรรพชาอุปสมบท ในสำนักพระองค์ ขอถึงพระองค์และพระธรรม พระสงฆ์ เป็นที่พึ่ง”

พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า

“กัสสปะ ตัวท่านเป็นอาจารย์ยิ่งใหญ่ เป็นประธานแก่หมู่ชฎิล 500 คน ท่านจงชี้แจง ให้ชฎิลบริวารยินยอมพร้อมกันก่อน แล้วตถาคต จึงจะให้บรรพชาอุปสมบท”

อุรุเวลกัสสปะ ก็กราบถวายบังคม ลามายังอาศรม แล้วก็บอกชฎิลอันเป็นศิษย์ ซึ่งชฏิลทั้งหลาย ก็ยินยอมพร้อมกันจะบรรพชา ในสำนักพระพุทธเจ้าทั้งสิ้น แล้วชฎิลทั้งหลาย ก็ชวนกันลอยดาบสบริขาร และเครื่องตกแต่งผม ชฏา สาแหรก คาน เครื่องบูชาไฟ ทั้งน้ำเต้า หนังสือ ไม้สามง่าม ในแม่น้ำทั้งสิ้น แล้วก็พากันมาเฝ้าพระพุทธเจ้า ถวายอภิวาทแทบพระยุคลบาท ทูลขอบรรพชาอุปสทบท พระพุทธเจ้า ก็กรุณาโปรดประทานอุปสมบท ด้วยเอหิภิกขุอุปสัมปทาเสมอกัน

ครั้งนั้น ท่านนทีกัสสปะ ผู้เป็นน้องกลาง เห็นเครื่องบริขารทั้งปวงลอยน้ำมา ก็คิดว่า สงสัยอันตรายจะมีแก่ดาบสผู้พี่ชาย จึงใช้ให้ชฎิลสองสามคน อันเป็นศิษย์ไปสืบดู รู้เหตุแล้ว นทีกัสสปะ ก็พาดาบสทั้ง 300 อันเป็นศิษย์ มาสู่สำนักของท่านอุรุเวลกัสสปะ ถามเหตุนั้น

ครั้นทราบความแล้ว นทีกัสสปะและบริวาร ก็เลื่อมใสชวนกัน ลอยเครื่องดาบสบริขาร ลงในแม่น้ำนั้น พากันเข้าถวายอัญชลีทูลขอบรรพชา พระพุทธเจ้าก็โปรดประทานอุปสมบท ด้วยเอหิภิกขุอุปสัมปทาด้วยกันทั้งสิ้น ดุจชฎิลพวกก่อนนั้น

ฝ่ายคยากัสสปะ ผู้เป็นน้องน้อย เห็นเครื่องดาบสบริขารของพี่ชาย ลอยน้ำลงมาจำได้ ก็คิดดุจนทีกัสสปะ ผู้เป็นพี่นั้น แล้วพาดาบสทั้ง 200 อันเป็นศิษย์ไปสู่สำนักพระอุรุเวลกัสสปะ ไต่ถามทราบความแล้วเลื่อมใส ชวนกันลอยเครื่องบริขาร ลงในแม่น้ำ แล้วก็เข้าทูลขอบรรพชาต่อพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้า ก็โปรดประทานอุปสมบท ด้วยเอหิภิกขุอุปสัมปทาดังกล่าวแล้ว

พระพุทธเจ้า ทรงทรมานชฎิลทั้ง 3 พี่น้อง มีอุรุเวลกัสสปะ เป็นต้น กับทั้งชฎิลบริวาร 1,000 คน ให้สละเสียซึ่งทิฐิแห่งตน แล้วประทานเอหิภิกขุอุปสัมปทาทั้งสิ้น เสร็จแล้วก็ทรงพาพระภิกษุสงฆ์พวกนั้น ไปสู่คยาสีสะ ตรัสพระธรรมเทศนา อาทิตตปริยายสูตร โปรดภิกษุ 1,000 นั้น ให้บรรลุพระอรหันต์ด้วยกันทั้งสิ้น


แท็คของหน้านี้จ๊ะ : กรุงราชคฤห์, การบูชาไฟ, คยากัสสปะ, ชฎิล, ชฎิล 3 พี่น้อง, ท้าวสหัมบดีพรหม, ท้าวสหัสสนัย, ท้าวสักกะ, นทีกัสสปะ, พญานาค, พระยานาค, พระเจ้าพิมพิสารมหาราช, พุทธปริวิตก, อาทิตตปริยายสูตร, อุรุเวลกัสสปะ, อุรุเวลาเสนานิคม, เอหิภิกขุอุปสัมปทา, แคว้นมคธ, แม่น้ำเนรัญชรา, โรงไฟ.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น